คุณอาจจะทราบดีแล้วว่าปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวอาจจะโดนละเมิดได้ทุกเมื่อ แต่คุณจะทำอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ ลองตอบแบบสอบถามของเราแล้วให้คะแนนตัวคุณเองว่าอยู่ในระดับใด
1.(a)คุณมีปัญหาบัญชีต่างๆ ที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต(สำหรับอีเมล์ ห้องแซท บริการธนาคารและอื่นๆ ที่ต้องใช้รหัสผ่านทั้งหมดกี่ชุด
2.คุณเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยแค่ไหน (เลือกเพียงคำตอบเดียว)
A.เปลี่ยนเกือบทุกเดือน
B.เปลี่ยนเดือนละครั้ง
C.เปลี่ยนปีละสี่ครั้ง
D.เปลี่ยนปีละสองครั้ง
E.เปลี่ยนปีละครั้ง หรือมากกว่าปีหนึ่งปีจึงเปลี่ยน
F.ไม่เคยเปลี่ยนเลย
3.ข้อใดต่อไปนี้ที่บ่งบอกลักษณะการตั้งรหัสผ่านของคุณ (เลือกได้มากกว่าหนึ่งข้อ)
A.วันที่สำคัญๆหรือวันเกิด
B.ชื่อของคนหรือสัตว์เลี้ยง
C.บางส่วนของชื่อพ่อแม่หรือพี่น้อง
D.ความสนใจส่วนตัวหรือกิจกรรมยามว่าง(รายการ โทรทัศน์,ชื่อหนัง,อาหาร,เครื่องดื่ม)
E.สุ่มคำศัพท์จากดิกชันนารี
F.เป็นตัวอักษรและตัวเลขผสมกัน
G.อื่นๆ
4.คุณเก็บรหัสผ่านอย่างไร (เลือกได้มากกว่าหนึ่ง ข้อ)
A.จดเอาไว้ในกระดาษหรือสมุดบันทึก
B.เขียนเอาไว้บนกระดาษแล้วแปะไว้ตามที่ต่างๆ
C.ใช้โปรแกรมจัดการเก็บรหัสผ่านในเครื่องพีชี
D.เก็บเอาไว้ในโปรแกรมจัดการรหัสผ่านในเครื่องพีดีเอ
E.เก็บเอาไว้ในไฟล์สเปรตซีตหรือเท็กซ์ไฟล์ในเครื่องพีชี
F.เก็บเอาไว้ใน USB แฟลซไดร์ฟ
G.จำเอาไว้
H.ไม่มีการจดบันทึกรหัสผ่าน
j.ปล่อยให้บราวเซอร์เก็บหรือจำรหัสผ่านเอาไว้
5.คุณใช้เครื่องพีชีทำอะไรบ้างในช่วงปีที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่าหนึ่งข้อ)
A.ส่งข้อความไปในกระดานข่าว
B.แชทกับเพื่อนในห้องแชท
C.รับ-ส่งอีเมล์
D.ซื้อของ หรือวางแผนการท่องเที่ยวบนเว็บ
E.ทำธุรกรรมธนาคารออนไลน์
F.ค้นหาข้อมูลบนเว็บ
G.ใช้โปรแกรมส่งข้อความ IM
H.สมัครบัตรเครดิต หรือขอสินเชื่ออออนไลน์
I.ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ
J.แก้ไขปัญหาเรื่องสแปมหรือยกเลิกสมาชิกต่างๆ
K.ซื้อสินค้าหรือบริการที่ได้รับมาจากสแปมเมล์
L.ชำระภาษีผ่านออนไลน์
M.ส่งใบสมัครงานผ่านออนไลน์
N.เล่นเกมส์ออน์ไลน์
O.แชร์ไฟล์ผ่านระบบแชร์ไฟล์ต่างๆ
P.อื่นๆ
6.ตามปกติแล้วคุณอ่านเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของบริการต่างๆก่อนที่จะสมัครหรือไม่(เลือกเพียงคำตอบเดียว)
A.อ่านทุกครั้ง
B.ส่วนมากจะอ่าน
C.อ่านเพียงบางครั้ง
D.อ่านบ้างไม่อ่านบ้าง
E.ไม่เคยอ่านเลย
7.คุณทำอย่างไรถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขของเว็บ (เลือกเพียงคำตอบ)
A.ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง
B.ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงและจะร้องเรียนไปยังบริษัทนั้นๆด้วย
C.ให้ข้อมูลหลอก
D.ให้ข้อมูลหลอก และจะร้องเรียนไปยังบริษัทนั้นๆด้วย
E.ไม่สมัครสมาชิก
F.ไม่สมัครสมาชิกและจะร้องเรียนไปยังบริษัทนั้นๆด้วย
8.คุณทำอะไรต่อไปนี้บ้างสำหรับเครื่องพีชีที่บ้านหรือออฟฟิศ (ตอบได้มากกว่าหนึ่งข้อ)
A.ติดตั้งโปรแกรมแก้ไขหรือปรับปรุง
B.ติดตั้งโปรแกรมแก้ไขเรื่องความปลอดภัยของระบบปฏิบัติ
C.ลบไฟล์คุกกี้ที่อยู่ในเครื่องทิ้ง
D.ลบไฟล์บันทึกเว็บที่เคยเยี่ยมชมบราวเซอร์ทิ้ง
E.ลบไฟล์ชั่วคราวของเว็บบราวเซอร์ทิ้ง
F.ปรับปรุงข้อมูลของโปรแกรมป้องกันไวรัส
G.ใช้โปรแกรมจำพวก Ad-ware หรือ SpyBot ลบโปรแกรมที่จะโฆษณาสินค้าออกไป
H.เรียกใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
I.ใช้ไฟร์วอลล์
J.เข้ารหัสไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดิสก์
K.เข้ารหัสอีเมล์
L.แจ้งปัญหาเรื่องความปลอดภัยกับ ISP
คำนวณระดับความเป็นส่วนตัวของคุณ
คำถามที่ 1 : หารจำนวนของรหัสผ่าน(a)ด้วยจำนวนของบัญชี(b)แล้วคูณด้วย 20 ถ้าได้ผลลัพธ์มากกว่า 100 ให้จัดอยู่ในกลุ่มของคะแนน 100
ให้คะแนนข้อต่างๆดังนี้
ข้อ2: A:10; B:8; C:5; D:3; E:1; F:-5;
ข้อ3: A:-1; B:-1; C:-3; D,E:-2; F:10; G:1;
ข้อ4: A:-5; B,H:-10; C,D,G:8; E:-2; F:2; I:0; J:-1;
ข้อ5: A,H:-5; B,D,J:-2; C,I,L,P:0; E:-3;
ข้อ6: A:10; B:7; C:5; D:4; E:0;
ข้อ7: A:-5 B:-1; C:0; D,E:2; F:5;
ข้อ8: A,B,F,L:5; C,D,E:2; G:7; H,I,J,K:10
รวมคะแนนทั้งหมดแล้วบวกด้วย 75 หารด้วย 2 จะได้คะแนนระดับความเป็นส่วนตัวของคุณ
1-25:คุณอยู่ในระดับเสี่ยง ข้อมูลส่วนตัวของคุณอาจจะมีการส่งไปยังบริษัทต่างๆ แฮกเกอร์ หรืออื่นๆคุณควรจะให้ความสำคัญยิ่งขึ้นในการดูแลรหัสผ่านของคุณ และเพิ่มการป้องกันเครื่องพีชีของคุณด้วย
26-50:ความเป็นส่วนตัวของคุณอยู่ในระดับปานกลางซึ่งคุณได้มีการป้องกันตัวเองในระดับหนึ่งแต่ยังไม่เพียงพอที่จะอุดรูรั่วต่างๆ
51-75:คุณให้ความระมัดระวังมากพอสมควร เนื่องจากว่า ได้ศึกษาถึงสิ่งที่สำคัญต่างๆ ที่จะช่วยในการปกป้องตัวคุณเองจากภัยร้ายต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต แต่ก็ยังมีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงอยู่บ้าง
76-100:คุณอยู่ในกลุ่มผู้ใช้งานชั้นยอดเลยทีเดียว คุณใส่ใจกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดเล็กๆ ในการออนไลน์ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่ดีมาก
คะแนนเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ที่ 56
วันพุธ, กันยายน 20, 2549
Is this your phone number?
1) เลขเบอร์โทร 3 ตัวแรก
2) คูณด้วย 80
3) บวก 1
4) คูณด้วย 250
5) บวกเบอร์โทร 4 ตัวหลัง
6) บวกเบอร์โทร 4 ตัวหลังอีกที
7) ลบ 250
8) หารด้วย 2
เบอร์โทรศัพท์ของคุณใช่ไหม???
2) คูณด้วย 80
3) บวก 1
4) คูณด้วย 250
5) บวกเบอร์โทร 4 ตัวหลัง
6) บวกเบอร์โทร 4 ตัวหลังอีกที
7) ลบ 250
8) หารด้วย 2
เบอร์โทรศัพท์ของคุณใช่ไหม???
วันพฤหัสบดี, กันยายน 14, 2549
Internet คืออะไร
ประวัติความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้นค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ข้อมูลจาก http://www.computerhistory.org/exhibits/internet_history/ และ http://www.sri.com/about/timeline/arpanet.html
Arpanet : The Internet as you know it today, and through which you are accessing this information, had its beginnings in the late 1960s as the "ARPANET". Started by the U.S. Department of Defense Advanced Research Projects Agency (now DARPA), the entire network consisted of just four computers linked together from different sites to conduct research in wide-area networking. SRI, then known as the Stanford Research Institute, hosted one of the original four network nodes, along with the University of California, Los Angeles (UCLA), the University of California, Santa Barbara (UCSB), and the University of Utah. The very first transmission on the ARPANET, on 29th October 1969, was from UCLA to SRI.
บริการที่อินเทอร์เน็ตมีให้
1. Telnet หรือ SSH
เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง
ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมาก
แต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัยเช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่
สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้
2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail)
บริการ E-Mail ฟรี เป็นบริการที่มีผู้ใช้กันมาก เพราะใช้สำหรับส่ง และอ่านข้อความ กับผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย และใช้แทนจดหมายได้อย่างดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และผู้รับจะได้รับในเวลาเกือบทันทีที่ส่งไป ผู้ใหับริการ E-Mail ฟรีในปัจจุบัน เช่นของ hotmail.com หรือ yahoo.com หรือ ตามแต่ละประเทศ ที่คนในประเทศจะทำ Server ให้บริการ สำหรับกลุ่มที่มีความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น thaimail.com หรือ chaiyo.com ซึ่งเป็นของคนไทย และ mail ฟรีเหล่านี้จะให้บริการไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหมดอายุ แต่จะหมดอายุถ้าผู้ใช้เกิดเลิกใช้เป็นเวลานานเกินไป สำหรับ E-Mail ของสถาบัน จะหมดอายุแน่นอน หลักจากที่สำเร็จการศึกษา จึงเป็นจุดบกพร่องข้อใหญ่ ที่ทำให้นักศึกษา หันไปใช้ E-Mail ฟรี มากกว่าที่สถาบัน จัดไว้ให้
การใช้ E-Mail กับผู้ให้บริการฟรี เช่น thaimail.com, lampang.net, thaiall.com หรือ chaiyo.com นั้น ผู้ใช้จะต้องไป download โปรแกรม browser เช่น netscape หรือ Internet Explorer หรือ Opera หรือ NeoPlanet มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อ Internet แล้วเปิดหน้าเว็บของแหล่งบริการ เพื่อใช้บริการ E-Mail ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้จะต้องขอใช้บริการ และจะได้รับ userid และ password ประจำตัว เพื่อ login เข้าใช้บริการ E-Mail ทุกครั้ง
ปัจจุบันการขอใช้บริการ E-Mail สามารถเลือกได้ที่จะใช้ web-based หรือ POP เพราะแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกัน โดย web-based จะเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ ส่วน pop จะเหมาะกับผู้มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
+ http://www.thaiall.com/article/mail.htm
3. USENET News หรือ News Group
ในยุคแรกของ Internet บริการ USENET ได้มีผู้ใช้บริการ อย่างแพร่หลายอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งที่ผู้ใช้ จะส่งคำถามเข้าไป และผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ จะช่วยตอบ ทำให้เกิดสังคม ของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร นอกจากการส่งข้อความเข้าไปใน USENET แล้ว ผู้ใช้ยังส่งแฟ้มในรูปแบบใด ๆ เข้าไปก็ได้ ซึ่งเรียกว่า Attach file หากแฟ้มที่ส่งเข้าไปเป็นภาพ gif หรือ jpg หรือแฟ้มที่มีการรองรับในระบบ internet ก็จะเปิดได้ทันทีด้วย browser หรือแล้วแต่โปรแกรมที่ใช้เปิด USENET นั้น
แต่สำหรับประเทศไทย ผมสังเกตุว่า มีการเข้าไปใช้บริการในส่วนนี้ไม่มาก เพราะกลุ่มข่าว(News Group) ที่ชื่อ soc.culture.thai ซึ่งเป็น 1 ในหลายหมื่นกลุ่มข่าว และมีชื่อที่เป็นไทยอย่างชัดเจน กลับมีคนต่างชาติ เข้าไปฝากข้อความไว้กว่าครึ่ง และมีคนไทยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเข้าใจว่าผู้ใช้ Internet ในประเทศไทยมักเน้นการใช้บริการ Internet 3 อย่างนี้ คือ Browser และ PIRC และ ICQ
อีกเหตุผลหนึ่ง ที่คนไทยไม่ได้เข้าไปใช้บริการ USENET เท่าที่ควรก็เพราะ ในเว็บของคนไทยหลาย ๆ เว็บจะให้บริการที่ชื่อว่า wwwboard ผ่าน browser อยู่แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ USENET อย่างมาก ทำให้คนไทยหันมาใช้ wwwboard แทน USENET ซึ่งต้องติดตั้งข้อกำหนดเพิ่มเติมให้กับ browser ซึ่งอาจรู้สึกยุ่งยาก ไม่รู้ หรือไม่คุ้นเคยก็เป็นได้ และปัจจุบันบริการต่าง ๆ มักจะรวมมาไว้ใน browser อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้มากมาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องไปใช้โปรแกรมอื่น เพราะทุกวันนี้ก็ใช้บริการที่อยู่ใน browser ไม่หมดแล้ว เช่น web, mail, chat, wwwboard, game, quiz, pager, news, postcard, shopping, download เป็นต้น
ถ้าเครื่องท่านถูก setup ให้อ่าน news ได้ ท่านสามารถเข้าไปที่ soc.culture.thai เพื่ออ่าน หรือส่งข่าวสารต่าง ๆ ได้
4. FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล)
บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว
+ ipswitch.com (WS_FTP Client)
+ http://filezilla.sourceforge.net แนะนำโดย thaiopensource.org
+ http://www.thaiall.com/learn/useftp.htm
5. WWW (World Wide Web)
บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)
บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น
+ http://class.yonok.ac.th
+ http://mail.thaiall.com
6. Net2Phone
บริการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ที่บ้าน (PC2Phone) และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ถูกกว่า และยังมีบริการ PC2Fax สำหรับส่ง Fax จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเครื่องรับ Fax ที่สำนักงาน โดยชำระค่าบริการแบบ Pre-Paid และใช้บริการจนกว่าเงินที่จ่ายไว้จะหมด แต่ถ้าโทรจากคอมพิวเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ฟรี เพราะมีโปรแกรมอีกหลายตัวที่มีความสามารถนี้ และฟรีเช่นกัน
+ net2phone.com
7. Netmeeting
ในอดีต .. เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยภาพ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ คล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่มีค่าโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
ผู้ใช้ต้อง download โปรแกรมมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารแบบนี้ คือ ต้องการสื่อที่รองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูง เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรือขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อไม่เร็วพอ และเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้การเชื่อมต่อเว็บแคม (WebCam) แบบเห็นภาพร่วมด้วย ถ้ายังใช้ Modem 56 Kbps อยู่ แต่ถ้าใช้ ADSL ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วอีกต่อไป
8. ICQ (I Seek You)
ในอดีต .. บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยมจนไม่คิดว่าจะมีใครมาล้มได้ ผู้ใดที่มีโปรแกรม ICQ ไว้ในคอมพิวเตอร์ จะติดต่อกับเพื่อนที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเพื่อนใน List ทันทีว่ามาแล้ว และพร้อมจะสนทนาด้วยหรือไม่ เปรียบเสมือนมี Pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว บริการนี้ ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งฟรี เบอร์ที่ผมเคยใช้คือ 20449588
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger
โปรแกรมนี้เคยเป็นสุดยอด แล้วทำไมเปลี่ยนไป
+ icq.com
9. IRC (Internet Relay Chat)
ในอดีต .. บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทำผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป หญิงอาจบอกว่าตนเป็นชาย นักเรียนมัธยมอาจบอกว่าตนเป็นนางงาม เด็กตจว. อาจบอกว่ากำลังเรียนต่อแอลเอ เป็นต้น
ใน IRC มักแบ่งเป็นห้อง โดยมีชื่อห้องเป็นตัวระบุหัวข้อสนทนา หรือสื่อให้รู้กันในกลุ่ม เช่น "ห้องวิธีแก้เหงา" หากใครต้องการสนทนาถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือเข้าหลายห้องพร้อมกัน สามารถเลือกสนทนากับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม เมื่อสนทนากันถูกคอก็สามารถ ที่นัด Meeting ตามร้านอาหาร เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือนัดสนทนากันใหม่ในเวลาที่สะดวกสำหรับวันต่อไป จึงทำให้ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ยังไม่มีคู่ชีวิต
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ Messenger หรือ Web Chat
โปรแกรมนี้เคยเป็นสุดยอด แล้วทำไมเปลี่ยนไป
10. Game Online
เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจำลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง เพราะไม่เหมือนการสู้กับคนที่คิดเป็น และพูดคุยโต้ตอบได้ จึงมีการสร้างเกมส์ และบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้ต่อสู้กัน หรือร่วมกันสู้ โดยจ่ายค่าลงทะเบียน เพื่อขอรหัสผู้ใช้เข้าเครื่องบริการ เพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือทำภารกิจกับเพื่อนร่วมรบ ที่มีจุดมุ่งหมาย หรือชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วในโลกอินเทอร์เน็ต
และในอนาคต ผู้ที่เคยติดเกมจะได้เรียนรู้ว่า เขาน่าจะทำกิจกรรมอื่นมากกว่าติดเกม
+ asiasoft.co.th
+ siamcomic.com
+ barbie.com
+ ferryhalim.com
+ thaiall.com/games
11. Software Updating
มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทำงานเองจนการ update สมบูรณ์
+ clamwin.com แนะนำโดย thaiopensource.org
+ antivir.com
+ bitdefender.com
12. Palm หรือ PocketPC
Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เมื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ (palm.com)
PocketPC คืออะไร
ผลจากปี 1998 เมื่อ Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPC คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้
13. WAP (Wireless Application Protocal)
WAP เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บเพจที่พัฒนาเพื่อโทรศัพท์มือถือตามมาตรฐาน WAP โดยเฉพาะ เช่น wopwap.com, siam2you.com, a-roi.com, mweb.co.th รุ่นของโทรศัพท์ในยุคแรกที่ให้บริการ WAP เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น
ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเข้า Wap Website แต่เข้าเว็บไซต์โดยตรงผ่านบริการ GPRS (General Packet Radio Service) ใน GSM Mobile Phone [wikipedia.org]
อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้นค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ข้อมูลจาก http://www.computerhistory.org/exhibits/internet_history/ และ http://www.sri.com/about/timeline/arpanet.html
Arpanet : The Internet as you know it today, and through which you are accessing this information, had its beginnings in the late 1960s as the "ARPANET". Started by the U.S. Department of Defense Advanced Research Projects Agency (now DARPA), the entire network consisted of just four computers linked together from different sites to conduct research in wide-area networking. SRI, then known as the Stanford Research Institute, hosted one of the original four network nodes, along with the University of California, Los Angeles (UCLA), the University of California, Santa Barbara (UCSB), and the University of Utah. The very first transmission on the ARPANET, on 29th October 1969, was from UCLA to SRI.
บริการที่อินเทอร์เน็ตมีให้
1. Telnet หรือ SSH
เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง
ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมาก
แต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัยเช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่
สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้
2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail)
บริการ E-Mail ฟรี เป็นบริการที่มีผู้ใช้กันมาก เพราะใช้สำหรับส่ง และอ่านข้อความ กับผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย และใช้แทนจดหมายได้อย่างดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และผู้รับจะได้รับในเวลาเกือบทันทีที่ส่งไป ผู้ใหับริการ E-Mail ฟรีในปัจจุบัน เช่นของ hotmail.com หรือ yahoo.com หรือ ตามแต่ละประเทศ ที่คนในประเทศจะทำ Server ให้บริการ สำหรับกลุ่มที่มีความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น thaimail.com หรือ chaiyo.com ซึ่งเป็นของคนไทย และ mail ฟรีเหล่านี้จะให้บริการไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหมดอายุ แต่จะหมดอายุถ้าผู้ใช้เกิดเลิกใช้เป็นเวลานานเกินไป สำหรับ E-Mail ของสถาบัน จะหมดอายุแน่นอน หลักจากที่สำเร็จการศึกษา จึงเป็นจุดบกพร่องข้อใหญ่ ที่ทำให้นักศึกษา หันไปใช้ E-Mail ฟรี มากกว่าที่สถาบัน จัดไว้ให้
การใช้ E-Mail กับผู้ให้บริการฟรี เช่น thaimail.com, lampang.net, thaiall.com หรือ chaiyo.com นั้น ผู้ใช้จะต้องไป download โปรแกรม browser เช่น netscape หรือ Internet Explorer หรือ Opera หรือ NeoPlanet มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อ Internet แล้วเปิดหน้าเว็บของแหล่งบริการ เพื่อใช้บริการ E-Mail ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้จะต้องขอใช้บริการ และจะได้รับ userid และ password ประจำตัว เพื่อ login เข้าใช้บริการ E-Mail ทุกครั้ง
ปัจจุบันการขอใช้บริการ E-Mail สามารถเลือกได้ที่จะใช้ web-based หรือ POP เพราะแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกัน โดย web-based จะเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ ส่วน pop จะเหมาะกับผู้มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
+ http://www.thaiall.com/article/mail.htm
3. USENET News หรือ News Group
ในยุคแรกของ Internet บริการ USENET ได้มีผู้ใช้บริการ อย่างแพร่หลายอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งที่ผู้ใช้ จะส่งคำถามเข้าไป และผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ จะช่วยตอบ ทำให้เกิดสังคม ของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร นอกจากการส่งข้อความเข้าไปใน USENET แล้ว ผู้ใช้ยังส่งแฟ้มในรูปแบบใด ๆ เข้าไปก็ได้ ซึ่งเรียกว่า Attach file หากแฟ้มที่ส่งเข้าไปเป็นภาพ gif หรือ jpg หรือแฟ้มที่มีการรองรับในระบบ internet ก็จะเปิดได้ทันทีด้วย browser หรือแล้วแต่โปรแกรมที่ใช้เปิด USENET นั้น
แต่สำหรับประเทศไทย ผมสังเกตุว่า มีการเข้าไปใช้บริการในส่วนนี้ไม่มาก เพราะกลุ่มข่าว(News Group) ที่ชื่อ soc.culture.thai ซึ่งเป็น 1 ในหลายหมื่นกลุ่มข่าว และมีชื่อที่เป็นไทยอย่างชัดเจน กลับมีคนต่างชาติ เข้าไปฝากข้อความไว้กว่าครึ่ง และมีคนไทยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเข้าใจว่าผู้ใช้ Internet ในประเทศไทยมักเน้นการใช้บริการ Internet 3 อย่างนี้ คือ Browser และ PIRC และ ICQ
อีกเหตุผลหนึ่ง ที่คนไทยไม่ได้เข้าไปใช้บริการ USENET เท่าที่ควรก็เพราะ ในเว็บของคนไทยหลาย ๆ เว็บจะให้บริการที่ชื่อว่า wwwboard ผ่าน browser อยู่แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ USENET อย่างมาก ทำให้คนไทยหันมาใช้ wwwboard แทน USENET ซึ่งต้องติดตั้งข้อกำหนดเพิ่มเติมให้กับ browser ซึ่งอาจรู้สึกยุ่งยาก ไม่รู้ หรือไม่คุ้นเคยก็เป็นได้ และปัจจุบันบริการต่าง ๆ มักจะรวมมาไว้ใน browser อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้มากมาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องไปใช้โปรแกรมอื่น เพราะทุกวันนี้ก็ใช้บริการที่อยู่ใน browser ไม่หมดแล้ว เช่น web, mail, chat, wwwboard, game, quiz, pager, news, postcard, shopping, download เป็นต้น
ถ้าเครื่องท่านถูก setup ให้อ่าน news ได้ ท่านสามารถเข้าไปที่ soc.culture.thai เพื่ออ่าน หรือส่งข่าวสารต่าง ๆ ได้
4. FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล)
บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว
+ ipswitch.com (WS_FTP Client)
+ http://filezilla.sourceforge.net แนะนำโดย thaiopensource.org
+ http://www.thaiall.com/learn/useftp.htm
5. WWW (World Wide Web)
บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)
บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น
+ http://class.yonok.ac.th
+ http://mail.thaiall.com
6. Net2Phone
บริการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ที่บ้าน (PC2Phone) และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ถูกกว่า และยังมีบริการ PC2Fax สำหรับส่ง Fax จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเครื่องรับ Fax ที่สำนักงาน โดยชำระค่าบริการแบบ Pre-Paid และใช้บริการจนกว่าเงินที่จ่ายไว้จะหมด แต่ถ้าโทรจากคอมพิวเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ฟรี เพราะมีโปรแกรมอีกหลายตัวที่มีความสามารถนี้ และฟรีเช่นกัน
+ net2phone.com
7. Netmeeting
ในอดีต .. เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยภาพ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ คล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่มีค่าโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
ผู้ใช้ต้อง download โปรแกรมมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารแบบนี้ คือ ต้องการสื่อที่รองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูง เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรือขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อไม่เร็วพอ และเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้การเชื่อมต่อเว็บแคม (WebCam) แบบเห็นภาพร่วมด้วย ถ้ายังใช้ Modem 56 Kbps อยู่ แต่ถ้าใช้ ADSL ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วอีกต่อไป
8. ICQ (I Seek You)
ในอดีต .. บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยมจนไม่คิดว่าจะมีใครมาล้มได้ ผู้ใดที่มีโปรแกรม ICQ ไว้ในคอมพิวเตอร์ จะติดต่อกับเพื่อนที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเพื่อนใน List ทันทีว่ามาแล้ว และพร้อมจะสนทนาด้วยหรือไม่ เปรียบเสมือนมี Pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว บริการนี้ ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งฟรี เบอร์ที่ผมเคยใช้คือ 20449588
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger
โปรแกรมนี้เคยเป็นสุดยอด แล้วทำไมเปลี่ยนไป
+ icq.com
9. IRC (Internet Relay Chat)
ในอดีต .. บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทำผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป หญิงอาจบอกว่าตนเป็นชาย นักเรียนมัธยมอาจบอกว่าตนเป็นนางงาม เด็กตจว. อาจบอกว่ากำลังเรียนต่อแอลเอ เป็นต้น
ใน IRC มักแบ่งเป็นห้อง โดยมีชื่อห้องเป็นตัวระบุหัวข้อสนทนา หรือสื่อให้รู้กันในกลุ่ม เช่น "ห้องวิธีแก้เหงา" หากใครต้องการสนทนาถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือเข้าหลายห้องพร้อมกัน สามารถเลือกสนทนากับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม เมื่อสนทนากันถูกคอก็สามารถ ที่นัด Meeting ตามร้านอาหาร เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือนัดสนทนากันใหม่ในเวลาที่สะดวกสำหรับวันต่อไป จึงทำให้ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ยังไม่มีคู่ชีวิต
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ Messenger หรือ Web Chat
โปรแกรมนี้เคยเป็นสุดยอด แล้วทำไมเปลี่ยนไป
10. Game Online
เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจำลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง เพราะไม่เหมือนการสู้กับคนที่คิดเป็น และพูดคุยโต้ตอบได้ จึงมีการสร้างเกมส์ และบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้ต่อสู้กัน หรือร่วมกันสู้ โดยจ่ายค่าลงทะเบียน เพื่อขอรหัสผู้ใช้เข้าเครื่องบริการ เพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือทำภารกิจกับเพื่อนร่วมรบ ที่มีจุดมุ่งหมาย หรือชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วในโลกอินเทอร์เน็ต
และในอนาคต ผู้ที่เคยติดเกมจะได้เรียนรู้ว่า เขาน่าจะทำกิจกรรมอื่นมากกว่าติดเกม
+ asiasoft.co.th
+ siamcomic.com
+ barbie.com
+ ferryhalim.com
+ thaiall.com/games
11. Software Updating
มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทำงานเองจนการ update สมบูรณ์
+ clamwin.com แนะนำโดย thaiopensource.org
+ antivir.com
+ bitdefender.com
12. Palm หรือ PocketPC
Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เมื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ (palm.com)
PocketPC คืออะไร
ผลจากปี 1998 เมื่อ Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPC คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้
13. WAP (Wireless Application Protocal)
WAP เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บเพจที่พัฒนาเพื่อโทรศัพท์มือถือตามมาตรฐาน WAP โดยเฉพาะ เช่น wopwap.com, siam2you.com, a-roi.com, mweb.co.th รุ่นของโทรศัพท์ในยุคแรกที่ให้บริการ WAP เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น
ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเข้า Wap Website แต่เข้าเว็บไซต์โดยตรงผ่านบริการ GPRS (General Packet Radio Service) ใน GSM Mobile Phone [wikipedia.org]
วันพุธ, กันยายน 13, 2549
หน้าที่และส่วนประกอบภายใน
หน้าที่และส่วนประกอบภายใน
อุปกรณ์ Input/ Output
เป็นส่วนที่เป็น Hardwre ที่สำคัญที่ทุกระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีเพื่อรับข้อมูลเข้าสู่ระบบและแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้มองเห็น
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่า “Input device” อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ของระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่า “Output device”
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Inptut/Output device กับ CPU คือ “I/O Module”
เมื่อคอมพิวเตอร์จะแก้ปัญหาใดๆ ได้จำเป็นต้องมีโปรแกรมและข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และหลังจากที่คอมพิวเตอร์ทำงานจนกระทั้งได้คำตอบแล้ว คอมพิวเตอร์จะส่งผลลัพธ์ให้ผู้ใช้โปรแกรมนั้นๆ รับหรือส่งข้อมูลผ่านหน่วยอินพุต/เอาต์พุต(Input/Output Unit) หรือเรียกสั้นว่า I/O
เมื่อ CPU จะมีการ รับ-ส่ง ข้อมูลให้กับอุปกรณ์ (I/O device) ต่างๆนั้น CPU จะต้องอ้าง Address ของอุปกรณต่างๆเหล่านั้น และการนี้ CPU จะต้องคอบควบอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้เสียเวลา ซึ่ง CPU เองก็จะต้องทำงานอย่างอื่นอีกมากมาย ดังนั้นเมื่อ CPU ต้องการใช้อุปกรณ์ (I/O device) มันจะ Load โปรแกรมลงใน I/O Module ซึ่ง I/O Module นี้จะคอยควบคุมอุปกรณ์ต่างๆแทน CPU อุปกรณ์ต่างๆ (external Device) จะถูกควบคุมโดย I/O Module อีกทีหนึ่ง การอ้าง Address ของอุปกรณ์ I/O จะอ้างผ่านทางเส้นทาง Address Bus การรับส่งข้อมูลจะกระทำผ่านทาง Data Bus และการส่งสัญญาณการควบคุม การอ่าน-เขียน ข้อมูลจะกระทำผ่านทาง Control Bus
External device อุปกรณ์ต่าง (External device) จะควบคุมและแจ้งสถานะให้กับ I/O Module ผ่านเส้นทางสัญญาณควบคุมและสถานะ ส่วน Transducer จะเป็นตัวแปลงข้อมูลให้กับอุปกรณ์เนื่องจาก ข้อมูลจากภายนอก (External Environment) จะต้องแปลงเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จัก ส่วน Buffer จะเป็นที่พักข้อมูลในระหว่างการรับ-ส่ง ข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ (External Device)
ภายใน I/O Module ภายใน I/O Module จะมี Register อยู่ 2 ประเภทคือ Data Register และ Status /Control Register ซึ่ง Status/Control Register จะเป็นที่ไว้เก็บโปรแกรมที่ส่งมาจาก CPU และส่งไปให้วงจร I/O logic เพื่อควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล ลงในอุปกรณ์ I/O (I/O Device)
การอ่าน-เขียน ข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์ I/O กับหน่วยความจำจึงสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1.Programmed I/O
2. Interrupt-Driven I/O
3. DMA (Direct Memory Access)
Programmed I/O
Programmed I/O
- เป็นการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้อุปกรณ์ I/O อ่านหรือเขียนข้อมูล
- CPU จะต้องคอยตรวจสอบสถานะของ I/O Module เป็นช่วงเวลา ว่าพร้อมหรือไม่
- การตรวจสอบสถานะของ I/O Module จะกระทำทุกๆ Word ที่จะอ่านหรือเขียน
- CPU จะไปทำงานอย่างอื่นไม่ได้จนกว่าการอ่านหรือเขียนจะกระทำเสร็จสิ้น
- CPU จะทำงานช้าตามอุปกรณ์รอบข้าง
Programmed I/O: เป็นการอ่าน-เขียน ข้อมูล ระหว่าง I/O กับหน่วยความจำ ในวิธีการนี้เป็นการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้อุปกรณ์ I/O อ่านหรือเขียนข้อมูล ซึ่งจะทำให้ Module ได้รับคำสั่งมาจาก CPU กล่าวคือ CPU จะควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์ I/O โดยตรง ซึ่ง CPU จะคอยตรวจสอบการทำงานของ I/O จนกระทั่งเสร็จ จึงจะสามารถทำงานอื่นให้ได้โดยที่เมื่อ อุปกรณ์ I/O ทำงานเสร็จ Status bit ของ I/O Module จึงจะเปลี่ยนการทำงานแบบ Programmed I/O นี้ CPU จะต้องคอยตรวจสอบ Status bit ของ I/O Module เป็นช่วงๆเวลาเนื่องจากความเร็วของการทำงานระหว่าง CPU กับ I/O แตกต่างกัน กล่าวคือ I/O จะทำงานช้ากว่า CPU ดังนั้นการทำงานแบบ Programmed I/O CPU จะต้องเสียเวลาในการรอคอย I/O มาก ทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจาก CPU จะทำงานช้าตามอุปกรณ์รอบข้าง (Phipheral) แต่ก็มีข้อดีคือ การทำงาน แบบ Programmed I/O นั้น ใช้งานง่าย โดยการเขียนโปรแกรมส่งงานให้ Hardware ทำงานโดยตรง
การทำงานแบบ Programmed I/O ในการอ่านข้อมูล (Read) จาก I/O มาให้หน่วยความจำหลักมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 CPU จะจ่ายคำสั่ง Read ให้กับ I/O Module เพื่ออ่านข้อมูลจาก I/O Device
ขั้นที่ 2 CPU จะคอยอ่านสถานะจาก I/O Module ว่าพร้อมหรือยังที่จะส่งข้อมูลให้กับ CPU ซึ่ง CPU จะคอยอยู่อย่างนั้นจนกระทั่ง I/O Module พร้อม นั่นก็หมายความว่า I/O Deviceจะต้องพร้อมมาก่อน หากว่า I/O device ไม่พร้อมอยู่นานเกินไป หรือมีข้อผิดพลาด ก็จะส่งสัญญาณบอกผู้ใช้ว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
ขั้นที่ 3 เมื่อ I/O Module พร้อม ข้อมูลจะส่งจาก I/O Module มาให้กับ CPU 1 ครั้งคือ 1 Word
ขั้นที่ 4 CPU จะเขียนข้อมูล word นั้นไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
ขั้นที่ 5 จากนั้นโปรแกรมจะตรวจสอบดูว่าได้ อ่านข้อมูลมาครบทุก word หรือไม่ หากยังไม่ครบให้กลับไปทำขั้นที่ 1 ใหม่ จนครบทุก word เมื่ออ่านมาครบแล้ว CPU ก็จะทำงานคำสั่งถัดไป ของงานอื่นที่จากมาได้
Interrupt driven I/O
Interrupt driven I/O
- อินเตอร์รัพท์ คือ การขัดจังหวะการทำงาน CPU
- ช่วยลดเวลาของ CPU ที่จะต้องสูญเสียไปในการตรวจสอบอุปกรณ์ I/O
- การ Interrupt จะมีวงจรควบคุมระดับของการอินเตอร์รัพท์ ที่เรียกว่า Interrupt Controller
โดยทั่วไปแล้ว ระดับ 0 จะมีระดับความสำคัญสูงสุด
การใช้งาน Interrupt Controller อินเตอร์รัพท์ คือ การขัดจังหวะการทำงานของ CPU โดยที่อุปกรณ์ที่ร้องขอการขัดจังหวะมานั้น จะขอให้ CPU บริการงานให้ การอินเตอร์รัพท์ถือ ได้ว่าเป็นลักษณะการทำงานแบบหนึ่ง ที่มีความสำคัญมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากช่วยลดเวลาของ CPU ที่จะต้องสูญเสียไปในการตรวจสอบอุปกรณ์ I/O ว่ามีอุปกรณ์ใดบ้างที่ต้องการให้ CPU ทำงานให้บ้าง ซึ่งในระหว่างการตรวจสอบนี้ CPU สามารถไปทำงานอื่นได้ตามปกติ ดังนั้นการนำเอาวิธี การอินเตอร์รัพท์เข้ามาใช้ในระบบซึ่งเป็นการทำให้ CPU มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นมากขึ้นด้วย โดยปกติการ Interrupt จะมีวงจรควบคุมที่เรียกว่า Interrupt Controller ตัว Interrupt Controller จะเป็นตัวจำลำดับความสำคัญสูงสุด และระดับ 7 จะมีความสำคัญต่ำสุด หากต้องการให้มีอินเตอร์รัพท์เกิดขึ้นกับ I/O หลายระดับ อาจจะใช้ Interrupt Controller ต่อพ่วงกัน
Interrupt driven I/O สมมติเป็นอ่านข้อมูลจาก I/O และ write ข้อมูลลงหน่วยความจำจะมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นที่ 1 CPU จะออกคำสั่ง Read ให้กับ I/O Module เสร็จแล้ว CPU ก็จะไปทำงานอย่างอื่น
ขั้นที่ 2 เมื่อ I/O พร้อมก็จะส่งสัญญาณ Interrupt มาให้กับ CPU CPU จะอ่านสถานะจาก I/O Module ว่าพร้อมหรือยัง
ขั้นที่ 3 CPU ตรวจสอบสถานะของ I/O Module ว่าพร้อมหรือยังไม่พร้อม หากไม่พร้อม ก็แจ้งสถานะ Error หากพร้อมก็จะทำงาน ขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 4 CPU จะอ่าน Word จาก I/O Module
ขั้นที่ 5 จากนั้น CPU จะเขียน word ไปที่หน่วยความจำ
ขั้นที่ 6 ตรวจสอบว่าอ่านครบทุก Word แล้วหรือยัง หากยังให้กลับมาทำใน ขั้นตอนที่ 1 ใหม่ หากอ่านได้ครบทุก word แล้ว CPU ก็ไปอ่านคำสั่งถัดไปของงานที่จากมา
การตรวจสอบสนองของ CPU ที่มีต่อการ Interrupt
- Interrupt controller à CPU
- CPU à Interrupt คำสั่งปัจจุบันให้เสร็จ
- CPU à PSW
- Load Address ของ Program Interrupt
- เก็บ Process state ไว้ใน Stack
- CPU Execute Program Interrupt จนเสร็จ
- นำ Process state จาก Stack กลับมาที่ CPU
- นำ PSW และ PC Address จาก Stack กลับ มาที่ CPU แล้วจึงไปทำงานคำสั่งถัดไป
การตอบสนองของ CPU ที่มีต่อการ Interrupt: การตอบสนองของ CPU ต่อการ Interrupt ในการขอ Interrupt จากอุปกรณ์ I/O โดยการร้องขอให้ CPU ทำงานให้นั้น ในมุมมองของ CPU ที่ตอบสนองต่อการ Interrupt สามารถกำหนดได้เป็นขั้นตอนโดยขั้นตอนที่ 1 ถึง 5 เป็นส่วนของ Hardware และขั้นตอนที่ 6 ถึง 9 เป็นส่วนของ Software ดังนี้
ในส่วนของ Hardware
ขั้นที่ 1 อุปกรณ์ Controller จะจ่ายสัญญาณ Interrupt ไปให้กับ CPU
ขั้นที่ 2 CPU จะ Execute คำสั่งปัจจุบันให้เสร็จ
ขั้นที่ 3 CPU จะส่งสัญญาณ Interrupt Acknowledge ตอบรับไปยัง Interrupt Controller
ขั้นที่ 4 CPU จะเก็บค่า PSW (Program Status Word) และ PC ไว้ในControl Stack
ขั้นที่ 5 จากนั้น CPU จะ Load ค่าใหม่ให้กับ PC ซึ่งเป็น Address ของ Program Interrupt จากนั้นจะเป็นการทำงานทาง Software
ในส่วนของ Software
ขั้นที่ 6 จากนั้นก็จะเก็บค่า Process state ต่างๆ ที่เหลือไว้ใน Stack
ขั้นที่ 7 CPU ก็จะทำงานหรือ Execute Program Interrupt จนกระทั่งเสร็จสิ้น
ขั้นที่ 8 จะนำค่า Process state กลับมาที่ CPU
ขั้นที่ 9 จะนำค่า PSW และ PC เดิมกลับมาที่ CPU เป็นการสิ้นการให้บริการ Interrupt และ CPU ก็จะไปทำงานต่อจากงานเดิม
การเปลี่ยแปลงค่าต่างๆ ใน Memory และ Register ต่อการ Interrupt การเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆใน Memory และ Register ต่อการ Interrupt ขณะที่ CPU รันโปรแกรมไปถึง Address ที่ N และเกิดมีการ Interrupt เกิดขึ้น ค่าของ PC จะเป็น Address ที์ N+1 เมื่อ CPU execute คำสั่งปัจจุบันเสร็จ ก็จะเก็บค่าสถานะต่างๆใน Register ไปเก็บไว้ที่ Control Stack พร้อมทั้งเก็บค่าที่ PC ปัจจุบันคือค่า Address N+1ไว้ใน Stack ด้วยจากนั้น PC จะ load ค่า Address ของโปรแกรม Interrupt เข้ามา พร้อมทั้ง execute program Interrupt จนกระทั่งเสร็จสิ้น Program Interrupt นั้น นั่นก็คือ คำสั่งสุดท้ายของโปรแกรมคือ Return เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรม Interrupt PC จะ load ค่า Address N+1 ที่เก็บไว้ใน Stack แต่เดิม ซึ่งก็คือ Address ของคำสั่งถัดไป ก่อนที่จะถูกและ load ค่าสถานะข้อมูล ที่เก็บไว้ใน Stack กลับมาที่ CPU จากนั้น CPU ก็จะ execute คำสั่งต่อไป
การทำงาน Interrupt controller
- Multiple Interrupt at the same time
- กำหนด priority ให้กับ device ที่ขอ Interrupt มา
- Device Interrupt à IRR
- Interrupt Controller à INT
- CPU à INTA
- Interrupt controller à ISR Reset IRR Vector table
- CPU à PC Status ไว้ใน Stack
- Execute Program Interrupt จนจบ
- CPU execute งานเดิมต่อจากการถูก Interrupt
การทำงานของ interrupt controller : หากมีการขอ interrupt มาที่ CPU หลายๆ Interrupt พร้อมๆ กันCPU จะมีวิธีการอย่างไร ให้บริการ device หรืออุปกรณ์ใดก่อน ในทางปฏิบัติแล้ว จะให้ตัวควบคุมการ interrupt คือ interrupt controller ซึ่งเป็นตัวจัดการระดับความสำคัญ ของแต่ละ device ซึ่ง device
ต่างๆ จะขอ Interrupt มาทาง IRR0-IRR (interrupt Request Channel 0-7) เมื่อ interrupt
Controller ได้รับสัญญาณ จาก device แล้วก็จะset bit IRR (interrupt request register) สัมพันธ์กับ device ที่ขอมา หากมีการขอ interrupt มากกว่า 2 channel พร้อมๆกัน วงจร Priority Resolver
ก็จะเปรียบเทียบว่า Channel ใดมีลำดับความสำคัญสูงกว่า ก็จะให้ channel นั้นส่งสัญญาณ INT ไปให้
CPU ได้รับสัญญาณ INT ไปให้ CPU หลังจาก CPU ได้รับสัญญาณ INT แล้ว CPU จะตอบสนองโดยส่งสัญญาณ INTA (Interrupt Acknowledge) กลับมาให้ interrupt controller เพื่อมา set bit ให้
ISR (Interrupt Service Register) ตรงกับ Channel ที่ได้รับการตอบสนองเป็น high เพื่อบอกว่า
Channel ใดได้รับการตอบสนองอยู่ และ reset bit IRR ที่ตรงกับ Channel นั้นให้เป็น Low หลังจากนั้น
Interrupt Controller ส่ง Vecter Table (เก็บ Address ของ Program Interrupt ) ออกมาบนdata bus เพื่อให้ CPU เปิดตาราง vecter เพื่อหาตำแหน่ง address เริ่มต้นของโปรแกรม Interrupt ซึ่ง Interrupt Vecter ของแต่ละ device ที่ขอ interrupt มา หลังจาก CPU คำนวณค่า Address เริ่มต้นของโปรแกรม Interrupt เรียบร้อยแล้ว CPU ก็จะเก็บค่า ใน PC และ สถานะต่างๆ ไว้ในหน่วยความจำที่เรียกว่า
Stack จากนั้น CPU Execute Program Interrupt จนกระทั้งเสร็จสิ้น
Direct Memory Access I/O
DMA Function
- I/O Module à Controller
- DMA Controller à ควบคุมการเขียนและอ่านข้อมูล
- การเขียนและอ่านข้อมูลกระทำทีละ Block
- Cycle Stealing
DMA function : ถึงแม้ว่า interrupt driven i/o จะมีประสิทธิภาพมากกว่า Programmed I/O แต่ก็ยังพึ่งพาการทำงานของCPU ในการ transfer data ระหว่างหน่วยความจำและ i/o module ซึ่งการ transfer data ข้อมูลของ i/o จะถูกจำกัดด้วยความเร็วของ CPU ที่จะให้บริการกับ Device นั้นๆ และในขณะที่ CPU ยังอยู่กับการจัดการ I/O เพื่อ transfer ข้อมูล CPU จะต้องคอยตรวจสอบ i/o แต่ละครั้งที่ transfer data ว่า I/O พร้อมหรือยัง นั่นหมายความว่าทุกๆ word
ที่จะมีการ transfer หากมีการtransfer ข้อมูลจำนวนมาก ( block of data ) จะให้เสียเวลาหากใช้Programmed I/O หรือ interrupt driven I/O ดังนั้นหากมีการtransfer data จำนวนมาก จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า DMA ( direct memory access ) โดยให้ i/o module ซึ่งก็คือ DMA Controller ทำหน้าที่ควบคุม การเขียนและอ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ i/o และ main memoryซึ่งการเขียนและอ่านข้อมูลจะกระทำทีละ block
DMAflowchart เมื่อ CPU ต้องการจะอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ i/o cpu จะจ่ายคำสั่งRead ไปให้ I/O mudule ซึ่งในที่นี้คือ DMA controller แล้ว CPU ก็ไปทำงานอื่น ปล่อยให้ DMA ทำอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ และเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำ จนกระทั่งครบ Word DMA controller ก็จะแจ้ง CPU ว่า transfers data เรียบร้อยแล้ว CPU จะไปทำงานในคำสั่งถัดไปจากรูป DMA ระหว่าง instruction cycle ใน OS . แบบ multiprogramming ขณะที่ CPU ทำงานไป fetch คำสั่งมาจากหน่วยความจำ DMA controller จะร้องขอ CPU เพื่อทำ DMA ก่อนเมื่อ DMA controller ควบคุมการ transfer data ได้ 1 word หรือ 1 block ก็จะคืนอำนาจควบคุมให้กับ CPU แล้ว CPU ก็จะทำงานต่อไปและเมื่อ CPU และเมื่อ CPU จะ fetch operand มาจากหน่วยความจำอีก DMA controller จะร้องขอ CPU เพื่อขอทำ DMAก่อนอีก และเมื่อ DMA controllerควบคุมการ transfer ข้อมูลได้ 1 word หรือ 1 block ก็จะคืนอำนาจการควบคุม ให้กับ CPU แล้ว CPU ก็จะทำงานต่อไป สรุปก็คือเมื่อ CPU จะอ้าง address หน่วยความจำเมื่อใด DMA controller จะแย่ง cycle การทำงานของ CPUทันที ลักษณะการแย่ง cycle ของ CPU เรียกว่า cycle stealing
DMA Module
- DMA Module DMA Controller
- DMA Controller à ควบคุม bus แทน CPU เมื่อทำงาน
- Information CPU DMA Controller
- ด้วยการ read หรือ write
- Address ของ i/o device
- Address ของหน่วยความจำเริ่มต้นจะอ่านหรือเขียน
DMA Module : DMA เป็น module ที่เกี่ยวข้องกับ system bus โดยที่ DMA module มีความสามารถ ในการจำลองการทำงานของ CPU ซึ่งสามารถควบคุม bus แทน CPU ได้ เมื่อ CPU ต้องการจะ read หรือ write data เป็นจำนวนมาก CPU จะส่งข่าวสารไปให้ DMA module ดังนี้
ข่าวสารที่ 1 ต้องการ read หรือ write
ข่าวสารที่ 2 ต้องการ address หรือ i/o device
ข่าวสารที่ 3 ต้องการ address ของหน่วยความจำที่จะทำการอ่านหรือเขียน
ข่าวสารที่ 4 จำนวนword ที่จะทำการอ่านหรือเขียน
DMA module เมื่อใดที่ CPU ต้องการจะให้ DMA ทำการ transfer ข้อมูลเป็น block ระหว่าง i/o กับหน่วยความจำ CPU จะต้องส่ง command word มาให้ DMA controller
( ซึ่งก็คือ DMA module นั่นเอง ) ว่าจะเป็นการread หรือ write ข้อมูลลงหน่วยความจำ
สัญญาณ write ที่ส่งมาให้ DMA controller หมายความว่าให้ DMA controller รับ command word ที่ส่งมาจาก CPU มาเก็บไว้ที่ data register และหาก CPU ต้องการดูสถานะจาก DMA Controller ที่จะส่งสัญญาณ read มาให้ DMA controller เพื่อให้ DMA controller บอกสถานะให้ CPU รู้ว่า DMA controller อยู่ในสถานะใด เช่น พร้อมหรือไม่ เช่นส่ง command word และอ่านสถานะของ DMA controller เมื่อ DMA controller พร้อมก็จะขอ DMA Request เพื่อขอทำ DMA มาที่ CPU เมื่อ CPU ทราบและอนุญาตให้ทำ DMA ได้ก็จะตอบรับ โดยส่งสัญญาณตอบรับเป็น DMA ACK มาที่ DMA controller และมอบอำนาจการควบคุม bus ต่างๆ ให้กับ DMA controller
การทำงานของ DMA controller หลังจากCPU ส่งโปรแกรม ให้กับ DMA controller สมมติเป็นการอ่านข้อมูลจาก i/o device แล้วเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำ device จะร้องขอทำ DMA โดยส่งสัญญาณ DREQ ( DMA request ) มาที่ DMA controller จะทราบว่าเป็นอุปกรณ์ใดที่ขอมา หากตรงกับที่ CPU สั่งมา ก็จะส่งสัญญาณ ขอทำ DMA โดยส่งสัญญาณ HRQ (Hold Request ) ไปให้ CPU เพื่อขอควบคุม bus แทน CPU พร้อมที่จะให้ DMA controller ควบคุม Bus แทนก็จะส่งสัญญาณตอบรับไปที่ DMA controller คือ H.I.D.A (Hold Aeknowlege) จากนั้น CPU ก็จะตัดขาดการควบคุม bus สวิตซ์ ก็ตกลงมาด้าน bus ส่วนต่างๆ ขณะควบคุม โดย DMA Controller จากนั้น DMA Controller รอส่งสัญญาณ DACK
(DMA Acknowledges) เพื่อบอกให้ device ทราบจากระบบ DMA Controller จะส่งสัญญาณ IOR ไปให้ device ส่งข้อมูลมาวางไว้บน data bus จากนั้น DMA Controller จะส่ง Address ไปชี้ตำแน่งของหน่วยความจำ แล้วส่งสัญญาณ MEMW ไปที่หน่วยความจำ เพื่อให้หน่วยความจำนำข้อมูลที่วางอยู่บน Data bus ไปเก็บ จนกระทั่ง DMA Controller ทำการ Transfer ข้อมูลจนครบจำนวน word ที่จะทำการ Transfer ซึ่งในการ Transfer ข้อมูลที่ DMA Controller จะไม่นำข้อมูลมาเก็บไว้ที่ตัว DMA Controller เอง เพียงแต่นับจำนวน word ที่ได้ transfer ข้อมูลไปแล้วจนกระทั่งครบ จึงส่งสัญญาณ Terminal Count ให้กับ CPU เพื่อบอกการคืนอำนาจการควบคุม Bus ต่างๆ ให้กับ CPU สวิตซ์ก็จะกลับไปต่อด้านอย่างเดิม
รูปแบบการใช้ DMA
- Single-Bus Detached DMA
- Sing-Bus Integrated DMA-I/O
- I/O
รูปแบบการใช้ DMA
-Single Bus Detached DMA รูปแบบนี้จะใช้ Bus ชุดเดียวใช้ร่วมกันทั้ง I/O device DMA Controller หรือ DMA Module CPU และหน่วยความจำ ซึ่ง DMA Controller จะแยกออกเป็นอิสระจาก I/O device เลย
-Single Bus Integrate DMA I/O รูปแบบนี้จะใช้ Bus เพียงชุดเดียวเหมือนกันแต่จะมี I/O device หลาย device ต่อรวมอยู่ที่ DMA Controller
-I/O Bus รูปแบบนี้จะใช้ Bus 2 ชุด ชุดแรกคือ system Bus ในขณะที่ system Bus นั้นใช้เชื่อมต่อกันระหว่าง CPU DMA Controller และ Memory ส่วน I/O จะเชื่อมต่อ I/O device หลายๆ device โดยผ่านทาง I/O Bus จากนั้นก็จะเชื่อม I/O Bus เข้ากับ DMA Controller เพื่อควบคุม I/O device เหล่านั้น
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก (External Interface)
I/O Interface Adapters
-Parallel VS serial data transfer
-Data format conversions
Transfer rates
ตัวอย่าง เช่น RS-232 serial ports Game ports High speed I/O busses ซึ่งจะสนับสนุนหน่วยความจำขนาดใหญ่และอุปกรณ์ Multimedia
I/O transfer Adapter: เครื่องมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะสนับสนุน I/O ชนิดทั้งแบบขนานและแบบลำดับ อุปกรณ์ I/O ที่ส่งข้อมูลครั้งละ 1 byte หรือมากกว่าเรียกว่า parallel I/O เช่น disk และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น อุปกรณ์ I/O ที่ใช้การส่งข้อมูลแบบ serial I/O จะส่งข้อมูลครั้งละ 1 bit ทางสายข้อมูลเพียงสายเดียว ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อกันทางไกลโดยสายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลแบบลำดับหรืออนุกรมโดยใช้ Modem การเชื่อมต่อภายนอกกับ I/O Module (External Interface) จะต้องเป็นไปตามธรรมชาติการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งการเชื่อมต่อจะต้องเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะดังต่อไปนี้
-จะขนถ่ายข้อมูลแบบขนานหรืออนุกรม (Parallel or Serial data transfer)
-การแปลงรูปแบบข้อมูล (Data format conversion)
-อัตราการถ่ายข้อมูล (Transfer rates)
-จำนวนของอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงได้ (Number of device supported)
ตัวอย่างเช่น
-RS-232 serial ports
-Game ports
-High speed I/O ที่ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ โดยแต่ละ I/O Interface จะมีวงจรถอดรหัส Address เฉพาะเพื่อกำหนด I/O port Address ของตนเอง
Programmable Interface Adapters
-รับส่งข้อมูลได้ครั้งละมากกว่า 1 bit
-การติดต่อสื่อสารแบบ Handshaking
Output protocol for PPI
-เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบขนานไปให้ Output device
-INT = False หมายถึง PPI ไม่ได้ร้องขอการขัดจังหวะ
-OBF = False หมายถึง Output buffer ยังไม่เต็ม
-ACK = False หมายถึง การตอบรับว่ายังไม่ได้รับข้อมูล
Programmable Interface Adapters ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการทำงานของ 8255 PPI (8255 Programmable Parallel Interface) จากรูป Block Diagram 8255A PPI ซึ่งแสดงการทำงานครบทั้งระบบ I/O ภายใน 8255 PPI มีรีจีสเตอร์ 4 ตัว ดังนี้ รีจีสเตอร์ควบคุม 1 ตัว อีก 3 ตัวเป็นรีจีสเตอร์ข้อมูลสำหรับแต่ละ port ซึ่งมี 3 port รีจีสเตอร์ข้อมูลจะเก็บพักข้อมูลเพื่อส่งไปให้ I/O device หาก CPU ถูกโปรแกรมให้ส่งข้อมูลไปให้ Output device หรือพักข้อมูลที่มาจาก I/O device หาก CPU ถูกโปรแกรมให้รับข้อมูล ส่วน Control Register จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการทำงานระบบ 8522A โดยการเขียนค่าต่างๆ เข้าไปใน Control register เมื่อ CPU Execute คำสั่ง IN หรือ OUT ชึ่งเลือก PPI และเลิก register ใด ที่จะ Access
การติดต่อสื่อสารแบบขนานที่ใช้รูปแบบ Handshaking การจับมือเขย่าเป็นรูปแบบการควบคุมการไหลของข่าวสารระหว่าง Processor เมื่ออุปกรณ์หนึ่งต้องการที่จะส่งข้อมูลไปให้อีกอุปกรณ์หนี่ง ซึ่งจะต้องขออนุญาตก่อน เมื่ออุปกรณ์ให้อนุญาต จึงจะส่งข้อมูงนั้นไปให้ได้ และเมื่ออุปกรณ์ที่รับข้อมูลได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็จะแจ้งให้ทราบว่าได้รับแล้ว (Acknowledge) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้เช่นเดียวดังที่ใช้ในผู้คนทั่วๆ ไปและ 8255A PPI ในรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน
Output Protocol for PPI (จากรูป Output protocol for PPI) เราจะมาดูการทำงานของ CPU โดยมีความหมายของสัญญาณเริ่มต้นดังต่อไปนี้ INT = false หมายถึง PPI ไม่ได้ร้องขอการขัดจังหวะ OBF = false หมายถึง Output buffer ยังไม่เต็ม และ ACK = false หมายถึงการตอบรับว่ายังไม่ได้รับข้อมูลเมื่อ CPU execute คำสั่ง Out มันจะส่งข้อมูลที่อยู่ใน AL รีจีสเตอร์ไปให้ PPI PPI จะอ่านข้อมูลโดยอัตโนมัติ แล้วส่งข้อมูลนั้นไปให้ I/O device โดยที่ PPI จะส่งสัญญาณ OBF = true ไปบอกให้ I/O device ทราบว่าข้อมูลที่ส่งมานี้ถูกต้อง (valid) และ I/O device ก็จะอ่านข้อมูลเข้ามาที่ตัวเอง และ set ให้สัญญาณ ACK เป็น true บอกให้ PPI ทราบว่าได้รับข้อมู,นั้นแล้ว ต่อจากนั้น PPI อาจจะเปลี่ยนค่าต่างๆ ใน register และ PPI จะแจ้งให้ CPU ทราบว่า มันพร้อมที่จะส่งข้อมู,ไปได้อีกโดยส่งสัญญาณ INT = true อีกครั้ง สามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. CPU execute คำสั่ง OUT และส่งค่าข้อมูล AL ไปให้ PPI
2. PPI อ่านข้อมูลนั้น
3. PPI ส่งข้อมูลนั้นไปให้ I/O device
4. PPI Set OBF เป็น true เพื่อบอกให้ I/O device ทราบว่ามีข้อมูลและถูกต้อง(valid)
5. I/O device อ่านข้อมูลเมื่อ OBF เปลี่ยนสถานะจาก false เป็น true
6. I/O device Set ACK เป็น true เพื่อบอกให้ PPI ทราบว่าได้รับข้อมูลแล้ว
PPI ส่งสัญญาณ INT เป็น true เพื่อบอกให้ CPU ว่าพร้อมการส่งข้อมูลต่อไป
Input protocol for PPI
- เป็นรูปแบบการอ่านส่งข้อมูลแบบขนานจาก device มาที่ CPU
- IBF = False หมายถึง Input buffer ยังไม่เต็ม
- STB = False หมายถึง สัญญาณ Strobe ที่เปลี่ยนจาก true เป็น false ซึ่งกำหนดจุกเริ่มต้นการรับส่งข้อมูล
- INT = False หมายถึง การตอบรับว่ายังไม่ได้รับข้อมูล
Input protocol for PPI: เมื่อ CPU ต้องการอ่านข้อมูลจาก device โดย CPU execute คำสั่ง IN จะทำให้ PPI Clear buffer และ Set INT ให้ IBF เป็น False โดยปกติแล้ว CPU จะส่งโปรแกรมมาให้ PPI ว่าจะอ่านข้อมูลจาก I/O device จากนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการที่ PPI จะส่งสัญญาณ IBF = False ซึ่งหมายถึง Input buffer ยังไม่เต็ม และ I/O device ก็จะส่งสัญญาณ STB = true (Strobe Input) หมายถึงเมื่อ STB เปลี่ยนจาก true เป้ฯ false PPI จะเริ่มต้นอ่านข้อมูลเข้ามา ทันทีที่ I/O device ได้รับข้อมูลมันจะส่งสัญญาณนั้นมาให้ PPI ทางOutput port ของมัน จากนั้นมันจะส่งสัญญาณ STB = false เพื่อบอกให้ PPI อ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ PPI จะอ่านข้อมูลเก็บทันที
และ Set สัญญาณ IBF=True เพื่อบอกให้ I/O device ทราบว่าตอนนี้ยังไม่พร้อมที่จะรับข้อมูลและ I/O device จะต้องไม่ส่งข้อมูลมาให้อีกจนกระทั่ง PPI ส่งสัญญาณ IBF=false จากนั้น PPI จะแจ้งให้ CPU ทราบว่ามีข้อมูล จะส่งมาให้โดยส่งสัญญาณ INT (Set INT=True) CPU จึงอ่านข้อมูลเข้าไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL โดยสามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. I/O device ส่งข้อมูลมาให้ PPI
2. I/O device Set สัญญาณ STB=false เพื่อบอกให้ PPI อ่านข้อมูลเข้าไปเก็บไว้
3. PPI อ่านข้อมูลเข้ามาและ Set สัญญาณ IBF=true
4. PPI จะแจ้ง CPU ว่ามีข้อมูลที่จะส่งให้ โดยส่งสัญญาณ INT
5. CPU อ่านข้อมูลเข้า มาที่รีจิสเตอร์ AL ในCPU
เทคนิคการรับส่งข้อมูลแบบลำดับของ Serial I/O
- เป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบลำดับ
- Baud rate
- Mark bit
- Data bit
- Parity bit
- Stop bit
เทคนิคการรับส่งข้อมูลแบบลำดับของ Serial I/O :อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องส่งข้อมูลลำดับ อย่างเช่น Modem หรืออุปกรณ์อื่น ๆ จำเป็นต้องมีวงจรเชื่อมต่อที่แปลงจากรูปแบบการส่งข้อมูลแบบขนานเป็นการส่งแบบลำดับ หรือในทางกลับกันโดยปกติแล้วอุปกรณ์ส่งที่ส่งสัญญาณ True จะหมายถึงแรงดันสูงไปบนสายส่ง ขณะที่ไม่ส่งสัญญาณอะไรจะหมายถึง Idle สัญญาณที่ส่งไปจะเป็นบิต โดยมีช่วงเวลาที่แน่นอนที่เรียกว่า “Bit time” สัญญาณ False จะหมายถึงการส่งแรงดันที่เป็นศูนย์ หรือเรียกว่า “Zero bit” อัตราการส่งข้อมูล จะหมายถึงจำนวนการเปลี่ยนแปลงของแรงดันใน 1 วินาที หรือเรียกว่า “Baud rate” หรือเทียบเท่าได้เท่ากับจำนวนบิตที่อุปกรณ์ส่งข้อมูลส่งค่าใน 1 วินาที บิตแรกที่อุปกรณ์ส่งไปจะเรียกว่า “Mark bit” ซึ่งเป็นบิตที่บอกให้เครื่องรับ (อุปกรณ์ที่รับ) รู้ว่าจะเริ่มการรับส่งข้อมูลมาแล้ว หลังจากนั้นอุปกรณ์ส่ง จะส่งข้อมูลซึ่งเป็นบิตข้อมูล เช่น จำนวนที่แน่นอน ตามรูป Serial data Transmission นั้น Data bit มีจำนวนเท่ากับ 7 bit หลังจากนั้นจะส่งอีก 1 bit เรียกว่า “Parity bit” ซึ่งอุปกรณ์รับนั้นจะใช้ parity bit เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการส่งข้อมูล หลังจากนั้นอุปกรณ์ส่งจะส่งบิตสิ้นสุด (Stop bit) จำนวนหนึ่งเพื่อบอกให้อุปกรณ์รับ ทราบว่าสิ้นสุดการส่งข้อมูล 1 ชุด
8250 Universal Asynehronouse Receiver- Transmitter (UART)
-RTS(Request permission to send)
-CTS(Clear to send)
-DTR(Data terminal ready)
-DSR(Data set ready)
-Sin(Serial data input)
-Sout(Serial data output)
-RI(Ring indieator)
-RLSD(Received line signal detect)
8250 Universal Asynehronouse Receiver- Transmitter (UART) วงจร 8250 UART ออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ I/O device เช่น Modem หลังจากนั้น Modem จะแปลงสัญญาณดิจิตอลไปเป็นสัญญาณเสียง แล้วส่งออกไปตามสายโทรศัพท์และ ในทางกลับกัน 8250 UART มีสัญญาณควบคุม 8 เส้นที่ควบคุมการเชื่อมโยงไปยัง BUS สัญญาณที่อ่าน Input มี 4 สัญญาณ ซึ่งทำให้ 8250 UART รับ Input หรือส่ง Data ออกไป Output สัญญาณแรก คือสัญญาณควบคุมที่ให้ 8250 UART เลือก Address ของตัวมันเอง คือสัญญาณ Chip scleet สัญญาณ Oupput 2 เส้นจะแจ้งอุปกรณ์ภายนอก เมื่อ CPU เลือก 8250 UART และเมื่อ CPU อ่านข้อมูลของ 8250 UART 8250 UART จะใช้สัญญาณ Interrupt เป็น Outputเพื่อร้องขอการขัดจังหวะของ CPU
สาย 8 เส้นนี้จะใช้เพียง 6 เส้น เพื่อควบคุบการสื่อสารระหว่าง 8250 UART กับ Serial I/O device ซึ่งในที่นี้จะใช้ Modem มาอธิบายโดยสัญญาณทั้ง 6 มีดังนี้
RTS(Request permission to send) เป็นสัญญาณ Output บอกให้ Modem ทราบว่า 8250 UART มีข้อมูลพร้อมที่จะส่ง
CTS(Clear to send ) เป็นสัญญาณ Input มาจาก Modem เพื่อบอกให้ 8250 UART ทราบว่าให้ส่งข้อมูลมาได้
DTR(Data terminal ready ) (Data terminal คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับหรือส่งข้อมูล)
เป็นสัญญาณ Output ที่บอก Modem ว่า 8250 UART พร้อมที่จะรับข้อมูล
DSR(Data set Ready) (Data setคือโครงสร้างข้อมูลสำหรับไว้เก็บข้อมูลในหน่วยความจำ) เป็น Input ของ 8250 UART ที่มาจาก Modem ที่บอกว่า Modem มีข้อมูลพร้อมที่จะส่งมาให้
Sin เป็นสัญญารข้อมูลรับมาจาก Modem
Sout เป็นสัญญารข้อมูลที่จะส่งไปให้ Modem
RT(Ring Indicator) หมายความว่า Modem ได้ตรวจพบสัญญาณเรียกเข้า
RLSD(Received line signal deteet) หมายความว่าการติดต่อสื่อสารระหว่าง 8250 UART กับ Modem จะกระทำในลักษณะ Handshake
ในที่นี้ 8250 UART จะทำหน้าที่เป็น Data terminal ส่วน Modem ทำหน้าที่เป็น Data set สมมติว่า Modem มีข้อมูลจะส่งให้กับ 8250 UART มันจะทำการติดต่อกันทาง Analog และเมื่อ 8250 UART มีข้อมูลที่จะส่งให้ Modem มันจะต้องขออนุญาต Modem ก่อนโดย ส่งสัญญาน RTS=true โดยมีคำสั่งดังนี้ สัญญาณ RTS จะบอก Modem ว่า 8250 UART พร้อมที่ จะส่ง ข้อมูลและเมื่อ Modem พร้อมที่จะรับข้อมูลมันจะส่งสัญญาร DSR=true มาให้ 8250 UART เพื่อจะแจ้งให้ทราบว่าพร้อมที่จะรับข้อมูล หลังจากนั้น 8250 UART ก็จัดส่งข้อมูลไปบนสายส่งข้อมูลแบบลำดับ(Serial output port (SOUT)) โดยปกติแล้วข้อมูลส่งไปตามลำดับทีละ byte Frame ซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูล 1 Byte และมี Start Parity และ Stop bit เมื่อ 8250 UART ไม่มีข้อมูลที่จะส่งอีกต่อไป มันจะส่งสัญญาณ DTR= False และถ้าในระหว่างการส่งข้อมูลแล้ว Modemไม่สามารถรับข้อมูลได้ Modem ก็จะส่งสัญญาณ DSR=False เพื่อบอกให้ 8250 UART โดยการส่งข้อมูลมาให้ (ใช้คำสั่ง Out) กับ 8250 UART ไว้ในรีจิสเตอร์ควบคุม CPU จะกำหนดสถานะให้กับ8250 UART โดยการอ่านค่าสถานะ มาจาก รีจิสเตอร์สถานะของ 8250 UART รีจิสเตอร์ควบคุมตัวหนึ่งจะควบคุมสัญญาณนาฬิกาการส่งและการรับรีจิสเตอร์ควบคุมตัวที่สองจะควบคุม Parity จำนวนของ Stop bit และจำนวนของบิตข้อมูล รีจิสเตอร์สถานะ จะเก็บค่าสถานะของการส่ง(Full receive data register Empty transmit data register Framing error Parity error overrun error etc.) กล่าวได้ว่า รีจิเตอร์ควบคุมของ8250 UART จะควบคุมสถานะของสัญญาณ Output handshake ส่วนรีจิสเตอร์สถานะของ 8250 UART จะบอกสถานะของตนเอง เมื่อCPU ได้อ่านไป จะให้สถานะของสัญญาณ Input handshake
สรุปเนื้อหา
อุปกรณ์ Input/Output เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมหรือผู้ใช้โปรแกรมรับหรือส่งข้อมูลได้ แต่การที่อุปกรณ์ อุปกรณ์ Input/Outputจะรับหรือส่งข้อมูลได้นั้นจะต้องผ่านอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการควบคุมการรับส่งข้อมูลเหล่านั้น นั่นก็คือ I/O Module ดังนั้นเมื่อจะเขียนหรืออ่านข้อมูลนั้นจึงต้องผ่าน I/O Module นี้ และการเขียนและอ่านข้อมูลจะกระทำระหว่าง หน่วยความจำหลัก และอุปกรณ์ Input/ Output เนื่องจาก CPU มีหน่วยความจำอยู่อย่างจำกัด การเขียนและอ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยความจำหลัก และอุปกรณ์ Input/Output จะกระทำได้ 3 วิธีคือ
1. Programmed I/O
2. Interrupt driven I/O
3. DMA (Direct memory access)
Programmed I/O
จะเป็นการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้ CPU อ่านข้อมูล จากหน่วยความจำหลักหรืออุปกรณ์ I/O แล้วไปเขียนที่ อุปกรณ์ I/O หรือหน่วยความจำหลักCPU เมื่อจะมีการเขียนหรืออ่านข้อมูลทุก Word ไปที่อุปกรณื I/O CPU จะต้องคอยตรวจ สอบอุปกรณ์ I/O ทุกครั้ง และ CPU จะต้องทำงานนั้นจนเสร็จ ทำให้เสียเวลาการทำงานของ CPU ใช้หลักการรที่ว่า เมื่อMicroprocessor กับอุปกรณ์ภายนอก โดยผ่านทาง register พิเศษที่เรียกว่า I/O ports คุณสมบัติของ I/O เทคนิคนี้คือ อุปกรณ์ภายนอกสามารถกระทำ Funetion ตามที่ Program ซึ่งอยู่ภายในหน่วยความจำของ microprocessor สั่งงานหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ microprocessor จะควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดด้วยตนเอง
Interrupt driven I/O เพื่อแก้ปัญหา Programmed I/O
เมื่อ CPU จ่ายโปรแกรมที่เขียนหรื่ออ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ I/O และหน่วยความจำหลักแล้ว CPU ก็ไปทำงานอย่างอื่นได้ เมื่ออุปกรณ์ I/O พร้อมก็จะส่งสัญญาณ Interrupt มาบอก CPU อย่างไรก็ตามการเขียนและอ่านข้อมูลก็ยังต้องผ่าน CPU อยู่นั่นเอง มีหลักการว่าอุปกรณ์ภายนอกสามารถบังคับให้ Microprocessor หยุดการทำงานใน program ที่กำลังทำอยู่ชั่วคราว เพื่อที่จะให้มาทำงานในอีกโปรแกรมที่เรียกว่า Interrupt service routine ซึ่ง routine นี้เป็นชุดคำสั่งที่อุปกรณ์ภายนอกต้องการและหลังจากสิ้นสุดแล้ว microprocessor ก็จะกลับไปทำงานตามโปรแกรมเดิมก่อนที่มันจะถูกเรียก Interrupt
DMA (Direct memory access) เป็นการเขียนและอ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยความจำหลักและอุปกรณ์โดยไม่ผ่าน CPU ทำให้การเขียนและอ่านข้อมูลกระทำได้เร็วขึ้น มีหลักการที่ว่า การถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง memory กับอุปกรณ์ภายนอก โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับ Microprocessor เลย ส่วนใหญ่ DMA จะใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบเป็นกลุ่ม (block transfer) ระหว่าง memory กับอุปกรณ์ภายนอก Chip ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเรียก DMA Control chip
สุดท้ายได้กล่าวถึง การสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก (External Interface) โดยมีอยู่ 2 รูปแบบคือ แบบ Serial และแบบ Parallel ในลักษณะ Handshaking
อุปกรณ์ Input/ Output
เป็นส่วนที่เป็น Hardwre ที่สำคัญที่ทุกระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีเพื่อรับข้อมูลเข้าสู่ระบบและแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้มองเห็น
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่า “Input device” อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ของระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่า “Output device”
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Inptut/Output device กับ CPU คือ “I/O Module”
เมื่อคอมพิวเตอร์จะแก้ปัญหาใดๆ ได้จำเป็นต้องมีโปรแกรมและข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และหลังจากที่คอมพิวเตอร์ทำงานจนกระทั้งได้คำตอบแล้ว คอมพิวเตอร์จะส่งผลลัพธ์ให้ผู้ใช้โปรแกรมนั้นๆ รับหรือส่งข้อมูลผ่านหน่วยอินพุต/เอาต์พุต(Input/Output Unit) หรือเรียกสั้นว่า I/O
เมื่อ CPU จะมีการ รับ-ส่ง ข้อมูลให้กับอุปกรณ์ (I/O device) ต่างๆนั้น CPU จะต้องอ้าง Address ของอุปกรณต่างๆเหล่านั้น และการนี้ CPU จะต้องคอบควบอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้เสียเวลา ซึ่ง CPU เองก็จะต้องทำงานอย่างอื่นอีกมากมาย ดังนั้นเมื่อ CPU ต้องการใช้อุปกรณ์ (I/O device) มันจะ Load โปรแกรมลงใน I/O Module ซึ่ง I/O Module นี้จะคอยควบคุมอุปกรณ์ต่างๆแทน CPU อุปกรณ์ต่างๆ (external Device) จะถูกควบคุมโดย I/O Module อีกทีหนึ่ง การอ้าง Address ของอุปกรณ์ I/O จะอ้างผ่านทางเส้นทาง Address Bus การรับส่งข้อมูลจะกระทำผ่านทาง Data Bus และการส่งสัญญาณการควบคุม การอ่าน-เขียน ข้อมูลจะกระทำผ่านทาง Control Bus
External device อุปกรณ์ต่าง (External device) จะควบคุมและแจ้งสถานะให้กับ I/O Module ผ่านเส้นทางสัญญาณควบคุมและสถานะ ส่วน Transducer จะเป็นตัวแปลงข้อมูลให้กับอุปกรณ์เนื่องจาก ข้อมูลจากภายนอก (External Environment) จะต้องแปลงเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จัก ส่วน Buffer จะเป็นที่พักข้อมูลในระหว่างการรับ-ส่ง ข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ (External Device)
ภายใน I/O Module ภายใน I/O Module จะมี Register อยู่ 2 ประเภทคือ Data Register และ Status /Control Register ซึ่ง Status/Control Register จะเป็นที่ไว้เก็บโปรแกรมที่ส่งมาจาก CPU และส่งไปให้วงจร I/O logic เพื่อควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล ลงในอุปกรณ์ I/O (I/O Device)
การอ่าน-เขียน ข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์ I/O กับหน่วยความจำจึงสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1.Programmed I/O
2. Interrupt-Driven I/O
3. DMA (Direct Memory Access)
Programmed I/O
Programmed I/O
- เป็นการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้อุปกรณ์ I/O อ่านหรือเขียนข้อมูล
- CPU จะต้องคอยตรวจสอบสถานะของ I/O Module เป็นช่วงเวลา ว่าพร้อมหรือไม่
- การตรวจสอบสถานะของ I/O Module จะกระทำทุกๆ Word ที่จะอ่านหรือเขียน
- CPU จะไปทำงานอย่างอื่นไม่ได้จนกว่าการอ่านหรือเขียนจะกระทำเสร็จสิ้น
- CPU จะทำงานช้าตามอุปกรณ์รอบข้าง
Programmed I/O: เป็นการอ่าน-เขียน ข้อมูล ระหว่าง I/O กับหน่วยความจำ ในวิธีการนี้เป็นการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้อุปกรณ์ I/O อ่านหรือเขียนข้อมูล ซึ่งจะทำให้ Module ได้รับคำสั่งมาจาก CPU กล่าวคือ CPU จะควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์ I/O โดยตรง ซึ่ง CPU จะคอยตรวจสอบการทำงานของ I/O จนกระทั่งเสร็จ จึงจะสามารถทำงานอื่นให้ได้โดยที่เมื่อ อุปกรณ์ I/O ทำงานเสร็จ Status bit ของ I/O Module จึงจะเปลี่ยนการทำงานแบบ Programmed I/O นี้ CPU จะต้องคอยตรวจสอบ Status bit ของ I/O Module เป็นช่วงๆเวลาเนื่องจากความเร็วของการทำงานระหว่าง CPU กับ I/O แตกต่างกัน กล่าวคือ I/O จะทำงานช้ากว่า CPU ดังนั้นการทำงานแบบ Programmed I/O CPU จะต้องเสียเวลาในการรอคอย I/O มาก ทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจาก CPU จะทำงานช้าตามอุปกรณ์รอบข้าง (Phipheral) แต่ก็มีข้อดีคือ การทำงาน แบบ Programmed I/O นั้น ใช้งานง่าย โดยการเขียนโปรแกรมส่งงานให้ Hardware ทำงานโดยตรง
การทำงานแบบ Programmed I/O ในการอ่านข้อมูล (Read) จาก I/O มาให้หน่วยความจำหลักมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 CPU จะจ่ายคำสั่ง Read ให้กับ I/O Module เพื่ออ่านข้อมูลจาก I/O Device
ขั้นที่ 2 CPU จะคอยอ่านสถานะจาก I/O Module ว่าพร้อมหรือยังที่จะส่งข้อมูลให้กับ CPU ซึ่ง CPU จะคอยอยู่อย่างนั้นจนกระทั่ง I/O Module พร้อม นั่นก็หมายความว่า I/O Deviceจะต้องพร้อมมาก่อน หากว่า I/O device ไม่พร้อมอยู่นานเกินไป หรือมีข้อผิดพลาด ก็จะส่งสัญญาณบอกผู้ใช้ว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
ขั้นที่ 3 เมื่อ I/O Module พร้อม ข้อมูลจะส่งจาก I/O Module มาให้กับ CPU 1 ครั้งคือ 1 Word
ขั้นที่ 4 CPU จะเขียนข้อมูล word นั้นไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
ขั้นที่ 5 จากนั้นโปรแกรมจะตรวจสอบดูว่าได้ อ่านข้อมูลมาครบทุก word หรือไม่ หากยังไม่ครบให้กลับไปทำขั้นที่ 1 ใหม่ จนครบทุก word เมื่ออ่านมาครบแล้ว CPU ก็จะทำงานคำสั่งถัดไป ของงานอื่นที่จากมาได้
Interrupt driven I/O
Interrupt driven I/O
- อินเตอร์รัพท์ คือ การขัดจังหวะการทำงาน CPU
- ช่วยลดเวลาของ CPU ที่จะต้องสูญเสียไปในการตรวจสอบอุปกรณ์ I/O
- การ Interrupt จะมีวงจรควบคุมระดับของการอินเตอร์รัพท์ ที่เรียกว่า Interrupt Controller
โดยทั่วไปแล้ว ระดับ 0 จะมีระดับความสำคัญสูงสุด
การใช้งาน Interrupt Controller อินเตอร์รัพท์ คือ การขัดจังหวะการทำงานของ CPU โดยที่อุปกรณ์ที่ร้องขอการขัดจังหวะมานั้น จะขอให้ CPU บริการงานให้ การอินเตอร์รัพท์ถือ ได้ว่าเป็นลักษณะการทำงานแบบหนึ่ง ที่มีความสำคัญมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากช่วยลดเวลาของ CPU ที่จะต้องสูญเสียไปในการตรวจสอบอุปกรณ์ I/O ว่ามีอุปกรณ์ใดบ้างที่ต้องการให้ CPU ทำงานให้บ้าง ซึ่งในระหว่างการตรวจสอบนี้ CPU สามารถไปทำงานอื่นได้ตามปกติ ดังนั้นการนำเอาวิธี การอินเตอร์รัพท์เข้ามาใช้ในระบบซึ่งเป็นการทำให้ CPU มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นมากขึ้นด้วย โดยปกติการ Interrupt จะมีวงจรควบคุมที่เรียกว่า Interrupt Controller ตัว Interrupt Controller จะเป็นตัวจำลำดับความสำคัญสูงสุด และระดับ 7 จะมีความสำคัญต่ำสุด หากต้องการให้มีอินเตอร์รัพท์เกิดขึ้นกับ I/O หลายระดับ อาจจะใช้ Interrupt Controller ต่อพ่วงกัน
Interrupt driven I/O สมมติเป็นอ่านข้อมูลจาก I/O และ write ข้อมูลลงหน่วยความจำจะมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นที่ 1 CPU จะออกคำสั่ง Read ให้กับ I/O Module เสร็จแล้ว CPU ก็จะไปทำงานอย่างอื่น
ขั้นที่ 2 เมื่อ I/O พร้อมก็จะส่งสัญญาณ Interrupt มาให้กับ CPU CPU จะอ่านสถานะจาก I/O Module ว่าพร้อมหรือยัง
ขั้นที่ 3 CPU ตรวจสอบสถานะของ I/O Module ว่าพร้อมหรือยังไม่พร้อม หากไม่พร้อม ก็แจ้งสถานะ Error หากพร้อมก็จะทำงาน ขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 4 CPU จะอ่าน Word จาก I/O Module
ขั้นที่ 5 จากนั้น CPU จะเขียน word ไปที่หน่วยความจำ
ขั้นที่ 6 ตรวจสอบว่าอ่านครบทุก Word แล้วหรือยัง หากยังให้กลับมาทำใน ขั้นตอนที่ 1 ใหม่ หากอ่านได้ครบทุก word แล้ว CPU ก็ไปอ่านคำสั่งถัดไปของงานที่จากมา
การตรวจสอบสนองของ CPU ที่มีต่อการ Interrupt
- Interrupt controller à CPU
- CPU à Interrupt คำสั่งปัจจุบันให้เสร็จ
- CPU à PSW
- Load Address ของ Program Interrupt
- เก็บ Process state ไว้ใน Stack
- CPU Execute Program Interrupt จนเสร็จ
- นำ Process state จาก Stack กลับมาที่ CPU
- นำ PSW และ PC Address จาก Stack กลับ มาที่ CPU แล้วจึงไปทำงานคำสั่งถัดไป
การตอบสนองของ CPU ที่มีต่อการ Interrupt: การตอบสนองของ CPU ต่อการ Interrupt ในการขอ Interrupt จากอุปกรณ์ I/O โดยการร้องขอให้ CPU ทำงานให้นั้น ในมุมมองของ CPU ที่ตอบสนองต่อการ Interrupt สามารถกำหนดได้เป็นขั้นตอนโดยขั้นตอนที่ 1 ถึง 5 เป็นส่วนของ Hardware และขั้นตอนที่ 6 ถึง 9 เป็นส่วนของ Software ดังนี้
ในส่วนของ Hardware
ขั้นที่ 1 อุปกรณ์ Controller จะจ่ายสัญญาณ Interrupt ไปให้กับ CPU
ขั้นที่ 2 CPU จะ Execute คำสั่งปัจจุบันให้เสร็จ
ขั้นที่ 3 CPU จะส่งสัญญาณ Interrupt Acknowledge ตอบรับไปยัง Interrupt Controller
ขั้นที่ 4 CPU จะเก็บค่า PSW (Program Status Word) และ PC ไว้ในControl Stack
ขั้นที่ 5 จากนั้น CPU จะ Load ค่าใหม่ให้กับ PC ซึ่งเป็น Address ของ Program Interrupt จากนั้นจะเป็นการทำงานทาง Software
ในส่วนของ Software
ขั้นที่ 6 จากนั้นก็จะเก็บค่า Process state ต่างๆ ที่เหลือไว้ใน Stack
ขั้นที่ 7 CPU ก็จะทำงานหรือ Execute Program Interrupt จนกระทั่งเสร็จสิ้น
ขั้นที่ 8 จะนำค่า Process state กลับมาที่ CPU
ขั้นที่ 9 จะนำค่า PSW และ PC เดิมกลับมาที่ CPU เป็นการสิ้นการให้บริการ Interrupt และ CPU ก็จะไปทำงานต่อจากงานเดิม
การเปลี่ยแปลงค่าต่างๆ ใน Memory และ Register ต่อการ Interrupt การเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆใน Memory และ Register ต่อการ Interrupt ขณะที่ CPU รันโปรแกรมไปถึง Address ที่ N และเกิดมีการ Interrupt เกิดขึ้น ค่าของ PC จะเป็น Address ที์ N+1 เมื่อ CPU execute คำสั่งปัจจุบันเสร็จ ก็จะเก็บค่าสถานะต่างๆใน Register ไปเก็บไว้ที่ Control Stack พร้อมทั้งเก็บค่าที่ PC ปัจจุบันคือค่า Address N+1ไว้ใน Stack ด้วยจากนั้น PC จะ load ค่า Address ของโปรแกรม Interrupt เข้ามา พร้อมทั้ง execute program Interrupt จนกระทั่งเสร็จสิ้น Program Interrupt นั้น นั่นก็คือ คำสั่งสุดท้ายของโปรแกรมคือ Return เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรม Interrupt PC จะ load ค่า Address N+1 ที่เก็บไว้ใน Stack แต่เดิม ซึ่งก็คือ Address ของคำสั่งถัดไป ก่อนที่จะถูกและ load ค่าสถานะข้อมูล ที่เก็บไว้ใน Stack กลับมาที่ CPU จากนั้น CPU ก็จะ execute คำสั่งต่อไป
การทำงาน Interrupt controller
- Multiple Interrupt at the same time
- กำหนด priority ให้กับ device ที่ขอ Interrupt มา
- Device Interrupt à IRR
- Interrupt Controller à INT
- CPU à INTA
- Interrupt controller à ISR Reset IRR Vector table
- CPU à PC Status ไว้ใน Stack
- Execute Program Interrupt จนจบ
- CPU execute งานเดิมต่อจากการถูก Interrupt
การทำงานของ interrupt controller : หากมีการขอ interrupt มาที่ CPU หลายๆ Interrupt พร้อมๆ กันCPU จะมีวิธีการอย่างไร ให้บริการ device หรืออุปกรณ์ใดก่อน ในทางปฏิบัติแล้ว จะให้ตัวควบคุมการ interrupt คือ interrupt controller ซึ่งเป็นตัวจัดการระดับความสำคัญ ของแต่ละ device ซึ่ง device
ต่างๆ จะขอ Interrupt มาทาง IRR0-IRR (interrupt Request Channel 0-7) เมื่อ interrupt
Controller ได้รับสัญญาณ จาก device แล้วก็จะset bit IRR (interrupt request register) สัมพันธ์กับ device ที่ขอมา หากมีการขอ interrupt มากกว่า 2 channel พร้อมๆกัน วงจร Priority Resolver
ก็จะเปรียบเทียบว่า Channel ใดมีลำดับความสำคัญสูงกว่า ก็จะให้ channel นั้นส่งสัญญาณ INT ไปให้
CPU ได้รับสัญญาณ INT ไปให้ CPU หลังจาก CPU ได้รับสัญญาณ INT แล้ว CPU จะตอบสนองโดยส่งสัญญาณ INTA (Interrupt Acknowledge) กลับมาให้ interrupt controller เพื่อมา set bit ให้
ISR (Interrupt Service Register) ตรงกับ Channel ที่ได้รับการตอบสนองเป็น high เพื่อบอกว่า
Channel ใดได้รับการตอบสนองอยู่ และ reset bit IRR ที่ตรงกับ Channel นั้นให้เป็น Low หลังจากนั้น
Interrupt Controller ส่ง Vecter Table (เก็บ Address ของ Program Interrupt ) ออกมาบนdata bus เพื่อให้ CPU เปิดตาราง vecter เพื่อหาตำแหน่ง address เริ่มต้นของโปรแกรม Interrupt ซึ่ง Interrupt Vecter ของแต่ละ device ที่ขอ interrupt มา หลังจาก CPU คำนวณค่า Address เริ่มต้นของโปรแกรม Interrupt เรียบร้อยแล้ว CPU ก็จะเก็บค่า ใน PC และ สถานะต่างๆ ไว้ในหน่วยความจำที่เรียกว่า
Stack จากนั้น CPU Execute Program Interrupt จนกระทั้งเสร็จสิ้น
Direct Memory Access I/O
DMA Function
- I/O Module à Controller
- DMA Controller à ควบคุมการเขียนและอ่านข้อมูล
- การเขียนและอ่านข้อมูลกระทำทีละ Block
- Cycle Stealing
DMA function : ถึงแม้ว่า interrupt driven i/o จะมีประสิทธิภาพมากกว่า Programmed I/O แต่ก็ยังพึ่งพาการทำงานของCPU ในการ transfer data ระหว่างหน่วยความจำและ i/o module ซึ่งการ transfer data ข้อมูลของ i/o จะถูกจำกัดด้วยความเร็วของ CPU ที่จะให้บริการกับ Device นั้นๆ และในขณะที่ CPU ยังอยู่กับการจัดการ I/O เพื่อ transfer ข้อมูล CPU จะต้องคอยตรวจสอบ i/o แต่ละครั้งที่ transfer data ว่า I/O พร้อมหรือยัง นั่นหมายความว่าทุกๆ word
ที่จะมีการ transfer หากมีการtransfer ข้อมูลจำนวนมาก ( block of data ) จะให้เสียเวลาหากใช้Programmed I/O หรือ interrupt driven I/O ดังนั้นหากมีการtransfer data จำนวนมาก จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า DMA ( direct memory access ) โดยให้ i/o module ซึ่งก็คือ DMA Controller ทำหน้าที่ควบคุม การเขียนและอ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ i/o และ main memoryซึ่งการเขียนและอ่านข้อมูลจะกระทำทีละ block
DMAflowchart เมื่อ CPU ต้องการจะอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ i/o cpu จะจ่ายคำสั่งRead ไปให้ I/O mudule ซึ่งในที่นี้คือ DMA controller แล้ว CPU ก็ไปทำงานอื่น ปล่อยให้ DMA ทำอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ และเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำ จนกระทั่งครบ Word DMA controller ก็จะแจ้ง CPU ว่า transfers data เรียบร้อยแล้ว CPU จะไปทำงานในคำสั่งถัดไปจากรูป DMA ระหว่าง instruction cycle ใน OS . แบบ multiprogramming ขณะที่ CPU ทำงานไป fetch คำสั่งมาจากหน่วยความจำ DMA controller จะร้องขอ CPU เพื่อทำ DMA ก่อนเมื่อ DMA controller ควบคุมการ transfer data ได้ 1 word หรือ 1 block ก็จะคืนอำนาจควบคุมให้กับ CPU แล้ว CPU ก็จะทำงานต่อไปและเมื่อ CPU และเมื่อ CPU จะ fetch operand มาจากหน่วยความจำอีก DMA controller จะร้องขอ CPU เพื่อขอทำ DMAก่อนอีก และเมื่อ DMA controllerควบคุมการ transfer ข้อมูลได้ 1 word หรือ 1 block ก็จะคืนอำนาจการควบคุม ให้กับ CPU แล้ว CPU ก็จะทำงานต่อไป สรุปก็คือเมื่อ CPU จะอ้าง address หน่วยความจำเมื่อใด DMA controller จะแย่ง cycle การทำงานของ CPUทันที ลักษณะการแย่ง cycle ของ CPU เรียกว่า cycle stealing
DMA Module
- DMA Module DMA Controller
- DMA Controller à ควบคุม bus แทน CPU เมื่อทำงาน
- Information CPU DMA Controller
- ด้วยการ read หรือ write
- Address ของ i/o device
- Address ของหน่วยความจำเริ่มต้นจะอ่านหรือเขียน
DMA Module : DMA เป็น module ที่เกี่ยวข้องกับ system bus โดยที่ DMA module มีความสามารถ ในการจำลองการทำงานของ CPU ซึ่งสามารถควบคุม bus แทน CPU ได้ เมื่อ CPU ต้องการจะ read หรือ write data เป็นจำนวนมาก CPU จะส่งข่าวสารไปให้ DMA module ดังนี้
ข่าวสารที่ 1 ต้องการ read หรือ write
ข่าวสารที่ 2 ต้องการ address หรือ i/o device
ข่าวสารที่ 3 ต้องการ address ของหน่วยความจำที่จะทำการอ่านหรือเขียน
ข่าวสารที่ 4 จำนวนword ที่จะทำการอ่านหรือเขียน
DMA module เมื่อใดที่ CPU ต้องการจะให้ DMA ทำการ transfer ข้อมูลเป็น block ระหว่าง i/o กับหน่วยความจำ CPU จะต้องส่ง command word มาให้ DMA controller
( ซึ่งก็คือ DMA module นั่นเอง ) ว่าจะเป็นการread หรือ write ข้อมูลลงหน่วยความจำ
สัญญาณ write ที่ส่งมาให้ DMA controller หมายความว่าให้ DMA controller รับ command word ที่ส่งมาจาก CPU มาเก็บไว้ที่ data register และหาก CPU ต้องการดูสถานะจาก DMA Controller ที่จะส่งสัญญาณ read มาให้ DMA controller เพื่อให้ DMA controller บอกสถานะให้ CPU รู้ว่า DMA controller อยู่ในสถานะใด เช่น พร้อมหรือไม่ เช่นส่ง command word และอ่านสถานะของ DMA controller เมื่อ DMA controller พร้อมก็จะขอ DMA Request เพื่อขอทำ DMA มาที่ CPU เมื่อ CPU ทราบและอนุญาตให้ทำ DMA ได้ก็จะตอบรับ โดยส่งสัญญาณตอบรับเป็น DMA ACK มาที่ DMA controller และมอบอำนาจการควบคุม bus ต่างๆ ให้กับ DMA controller
การทำงานของ DMA controller หลังจากCPU ส่งโปรแกรม ให้กับ DMA controller สมมติเป็นการอ่านข้อมูลจาก i/o device แล้วเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำ device จะร้องขอทำ DMA โดยส่งสัญญาณ DREQ ( DMA request ) มาที่ DMA controller จะทราบว่าเป็นอุปกรณ์ใดที่ขอมา หากตรงกับที่ CPU สั่งมา ก็จะส่งสัญญาณ ขอทำ DMA โดยส่งสัญญาณ HRQ (Hold Request ) ไปให้ CPU เพื่อขอควบคุม bus แทน CPU พร้อมที่จะให้ DMA controller ควบคุม Bus แทนก็จะส่งสัญญาณตอบรับไปที่ DMA controller คือ H.I.D.A (Hold Aeknowlege) จากนั้น CPU ก็จะตัดขาดการควบคุม bus สวิตซ์ ก็ตกลงมาด้าน bus ส่วนต่างๆ ขณะควบคุม โดย DMA Controller จากนั้น DMA Controller รอส่งสัญญาณ DACK
(DMA Acknowledges) เพื่อบอกให้ device ทราบจากระบบ DMA Controller จะส่งสัญญาณ IOR ไปให้ device ส่งข้อมูลมาวางไว้บน data bus จากนั้น DMA Controller จะส่ง Address ไปชี้ตำแน่งของหน่วยความจำ แล้วส่งสัญญาณ MEMW ไปที่หน่วยความจำ เพื่อให้หน่วยความจำนำข้อมูลที่วางอยู่บน Data bus ไปเก็บ จนกระทั่ง DMA Controller ทำการ Transfer ข้อมูลจนครบจำนวน word ที่จะทำการ Transfer ซึ่งในการ Transfer ข้อมูลที่ DMA Controller จะไม่นำข้อมูลมาเก็บไว้ที่ตัว DMA Controller เอง เพียงแต่นับจำนวน word ที่ได้ transfer ข้อมูลไปแล้วจนกระทั่งครบ จึงส่งสัญญาณ Terminal Count ให้กับ CPU เพื่อบอกการคืนอำนาจการควบคุม Bus ต่างๆ ให้กับ CPU สวิตซ์ก็จะกลับไปต่อด้านอย่างเดิม
รูปแบบการใช้ DMA
- Single-Bus Detached DMA
- Sing-Bus Integrated DMA-I/O
- I/O
รูปแบบการใช้ DMA
-Single Bus Detached DMA รูปแบบนี้จะใช้ Bus ชุดเดียวใช้ร่วมกันทั้ง I/O device DMA Controller หรือ DMA Module CPU และหน่วยความจำ ซึ่ง DMA Controller จะแยกออกเป็นอิสระจาก I/O device เลย
-Single Bus Integrate DMA I/O รูปแบบนี้จะใช้ Bus เพียงชุดเดียวเหมือนกันแต่จะมี I/O device หลาย device ต่อรวมอยู่ที่ DMA Controller
-I/O Bus รูปแบบนี้จะใช้ Bus 2 ชุด ชุดแรกคือ system Bus ในขณะที่ system Bus นั้นใช้เชื่อมต่อกันระหว่าง CPU DMA Controller และ Memory ส่วน I/O จะเชื่อมต่อ I/O device หลายๆ device โดยผ่านทาง I/O Bus จากนั้นก็จะเชื่อม I/O Bus เข้ากับ DMA Controller เพื่อควบคุม I/O device เหล่านั้น
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก (External Interface)
I/O Interface Adapters
-Parallel VS serial data transfer
-Data format conversions
Transfer rates
ตัวอย่าง เช่น RS-232 serial ports Game ports High speed I/O busses ซึ่งจะสนับสนุนหน่วยความจำขนาดใหญ่และอุปกรณ์ Multimedia
I/O transfer Adapter: เครื่องมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะสนับสนุน I/O ชนิดทั้งแบบขนานและแบบลำดับ อุปกรณ์ I/O ที่ส่งข้อมูลครั้งละ 1 byte หรือมากกว่าเรียกว่า parallel I/O เช่น disk และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น อุปกรณ์ I/O ที่ใช้การส่งข้อมูลแบบ serial I/O จะส่งข้อมูลครั้งละ 1 bit ทางสายข้อมูลเพียงสายเดียว ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อกันทางไกลโดยสายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลแบบลำดับหรืออนุกรมโดยใช้ Modem การเชื่อมต่อภายนอกกับ I/O Module (External Interface) จะต้องเป็นไปตามธรรมชาติการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งการเชื่อมต่อจะต้องเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะดังต่อไปนี้
-จะขนถ่ายข้อมูลแบบขนานหรืออนุกรม (Parallel or Serial data transfer)
-การแปลงรูปแบบข้อมูล (Data format conversion)
-อัตราการถ่ายข้อมูล (Transfer rates)
-จำนวนของอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงได้ (Number of device supported)
ตัวอย่างเช่น
-RS-232 serial ports
-Game ports
-High speed I/O ที่ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ โดยแต่ละ I/O Interface จะมีวงจรถอดรหัส Address เฉพาะเพื่อกำหนด I/O port Address ของตนเอง
Programmable Interface Adapters
-รับส่งข้อมูลได้ครั้งละมากกว่า 1 bit
-การติดต่อสื่อสารแบบ Handshaking
Output protocol for PPI
-เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบขนานไปให้ Output device
-INT = False หมายถึง PPI ไม่ได้ร้องขอการขัดจังหวะ
-OBF = False หมายถึง Output buffer ยังไม่เต็ม
-ACK = False หมายถึง การตอบรับว่ายังไม่ได้รับข้อมูล
Programmable Interface Adapters ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการทำงานของ 8255 PPI (8255 Programmable Parallel Interface) จากรูป Block Diagram 8255A PPI ซึ่งแสดงการทำงานครบทั้งระบบ I/O ภายใน 8255 PPI มีรีจีสเตอร์ 4 ตัว ดังนี้ รีจีสเตอร์ควบคุม 1 ตัว อีก 3 ตัวเป็นรีจีสเตอร์ข้อมูลสำหรับแต่ละ port ซึ่งมี 3 port รีจีสเตอร์ข้อมูลจะเก็บพักข้อมูลเพื่อส่งไปให้ I/O device หาก CPU ถูกโปรแกรมให้ส่งข้อมูลไปให้ Output device หรือพักข้อมูลที่มาจาก I/O device หาก CPU ถูกโปรแกรมให้รับข้อมูล ส่วน Control Register จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการทำงานระบบ 8522A โดยการเขียนค่าต่างๆ เข้าไปใน Control register เมื่อ CPU Execute คำสั่ง IN หรือ OUT ชึ่งเลือก PPI และเลิก register ใด ที่จะ Access
การติดต่อสื่อสารแบบขนานที่ใช้รูปแบบ Handshaking การจับมือเขย่าเป็นรูปแบบการควบคุมการไหลของข่าวสารระหว่าง Processor เมื่ออุปกรณ์หนึ่งต้องการที่จะส่งข้อมูลไปให้อีกอุปกรณ์หนี่ง ซึ่งจะต้องขออนุญาตก่อน เมื่ออุปกรณ์ให้อนุญาต จึงจะส่งข้อมูงนั้นไปให้ได้ และเมื่ออุปกรณ์ที่รับข้อมูลได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็จะแจ้งให้ทราบว่าได้รับแล้ว (Acknowledge) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้เช่นเดียวดังที่ใช้ในผู้คนทั่วๆ ไปและ 8255A PPI ในรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน
Output Protocol for PPI (จากรูป Output protocol for PPI) เราจะมาดูการทำงานของ CPU โดยมีความหมายของสัญญาณเริ่มต้นดังต่อไปนี้ INT = false หมายถึง PPI ไม่ได้ร้องขอการขัดจังหวะ OBF = false หมายถึง Output buffer ยังไม่เต็ม และ ACK = false หมายถึงการตอบรับว่ายังไม่ได้รับข้อมูลเมื่อ CPU execute คำสั่ง Out มันจะส่งข้อมูลที่อยู่ใน AL รีจีสเตอร์ไปให้ PPI PPI จะอ่านข้อมูลโดยอัตโนมัติ แล้วส่งข้อมูลนั้นไปให้ I/O device โดยที่ PPI จะส่งสัญญาณ OBF = true ไปบอกให้ I/O device ทราบว่าข้อมูลที่ส่งมานี้ถูกต้อง (valid) และ I/O device ก็จะอ่านข้อมูลเข้ามาที่ตัวเอง และ set ให้สัญญาณ ACK เป็น true บอกให้ PPI ทราบว่าได้รับข้อมู,นั้นแล้ว ต่อจากนั้น PPI อาจจะเปลี่ยนค่าต่างๆ ใน register และ PPI จะแจ้งให้ CPU ทราบว่า มันพร้อมที่จะส่งข้อมู,ไปได้อีกโดยส่งสัญญาณ INT = true อีกครั้ง สามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. CPU execute คำสั่ง OUT และส่งค่าข้อมูล AL ไปให้ PPI
2. PPI อ่านข้อมูลนั้น
3. PPI ส่งข้อมูลนั้นไปให้ I/O device
4. PPI Set OBF เป็น true เพื่อบอกให้ I/O device ทราบว่ามีข้อมูลและถูกต้อง(valid)
5. I/O device อ่านข้อมูลเมื่อ OBF เปลี่ยนสถานะจาก false เป็น true
6. I/O device Set ACK เป็น true เพื่อบอกให้ PPI ทราบว่าได้รับข้อมูลแล้ว
PPI ส่งสัญญาณ INT เป็น true เพื่อบอกให้ CPU ว่าพร้อมการส่งข้อมูลต่อไป
Input protocol for PPI
- เป็นรูปแบบการอ่านส่งข้อมูลแบบขนานจาก device มาที่ CPU
- IBF = False หมายถึง Input buffer ยังไม่เต็ม
- STB = False หมายถึง สัญญาณ Strobe ที่เปลี่ยนจาก true เป็น false ซึ่งกำหนดจุกเริ่มต้นการรับส่งข้อมูล
- INT = False หมายถึง การตอบรับว่ายังไม่ได้รับข้อมูล
Input protocol for PPI: เมื่อ CPU ต้องการอ่านข้อมูลจาก device โดย CPU execute คำสั่ง IN จะทำให้ PPI Clear buffer และ Set INT ให้ IBF เป็น False โดยปกติแล้ว CPU จะส่งโปรแกรมมาให้ PPI ว่าจะอ่านข้อมูลจาก I/O device จากนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการที่ PPI จะส่งสัญญาณ IBF = False ซึ่งหมายถึง Input buffer ยังไม่เต็ม และ I/O device ก็จะส่งสัญญาณ STB = true (Strobe Input) หมายถึงเมื่อ STB เปลี่ยนจาก true เป้ฯ false PPI จะเริ่มต้นอ่านข้อมูลเข้ามา ทันทีที่ I/O device ได้รับข้อมูลมันจะส่งสัญญาณนั้นมาให้ PPI ทางOutput port ของมัน จากนั้นมันจะส่งสัญญาณ STB = false เพื่อบอกให้ PPI อ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ PPI จะอ่านข้อมูลเก็บทันที
และ Set สัญญาณ IBF=True เพื่อบอกให้ I/O device ทราบว่าตอนนี้ยังไม่พร้อมที่จะรับข้อมูลและ I/O device จะต้องไม่ส่งข้อมูลมาให้อีกจนกระทั่ง PPI ส่งสัญญาณ IBF=false จากนั้น PPI จะแจ้งให้ CPU ทราบว่ามีข้อมูล จะส่งมาให้โดยส่งสัญญาณ INT (Set INT=True) CPU จึงอ่านข้อมูลเข้าไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL โดยสามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. I/O device ส่งข้อมูลมาให้ PPI
2. I/O device Set สัญญาณ STB=false เพื่อบอกให้ PPI อ่านข้อมูลเข้าไปเก็บไว้
3. PPI อ่านข้อมูลเข้ามาและ Set สัญญาณ IBF=true
4. PPI จะแจ้ง CPU ว่ามีข้อมูลที่จะส่งให้ โดยส่งสัญญาณ INT
5. CPU อ่านข้อมูลเข้า มาที่รีจิสเตอร์ AL ในCPU
เทคนิคการรับส่งข้อมูลแบบลำดับของ Serial I/O
- เป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบลำดับ
- Baud rate
- Mark bit
- Data bit
- Parity bit
- Stop bit
เทคนิคการรับส่งข้อมูลแบบลำดับของ Serial I/O :อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องส่งข้อมูลลำดับ อย่างเช่น Modem หรืออุปกรณ์อื่น ๆ จำเป็นต้องมีวงจรเชื่อมต่อที่แปลงจากรูปแบบการส่งข้อมูลแบบขนานเป็นการส่งแบบลำดับ หรือในทางกลับกันโดยปกติแล้วอุปกรณ์ส่งที่ส่งสัญญาณ True จะหมายถึงแรงดันสูงไปบนสายส่ง ขณะที่ไม่ส่งสัญญาณอะไรจะหมายถึง Idle สัญญาณที่ส่งไปจะเป็นบิต โดยมีช่วงเวลาที่แน่นอนที่เรียกว่า “Bit time” สัญญาณ False จะหมายถึงการส่งแรงดันที่เป็นศูนย์ หรือเรียกว่า “Zero bit” อัตราการส่งข้อมูล จะหมายถึงจำนวนการเปลี่ยนแปลงของแรงดันใน 1 วินาที หรือเรียกว่า “Baud rate” หรือเทียบเท่าได้เท่ากับจำนวนบิตที่อุปกรณ์ส่งข้อมูลส่งค่าใน 1 วินาที บิตแรกที่อุปกรณ์ส่งไปจะเรียกว่า “Mark bit” ซึ่งเป็นบิตที่บอกให้เครื่องรับ (อุปกรณ์ที่รับ) รู้ว่าจะเริ่มการรับส่งข้อมูลมาแล้ว หลังจากนั้นอุปกรณ์ส่ง จะส่งข้อมูลซึ่งเป็นบิตข้อมูล เช่น จำนวนที่แน่นอน ตามรูป Serial data Transmission นั้น Data bit มีจำนวนเท่ากับ 7 bit หลังจากนั้นจะส่งอีก 1 bit เรียกว่า “Parity bit” ซึ่งอุปกรณ์รับนั้นจะใช้ parity bit เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการส่งข้อมูล หลังจากนั้นอุปกรณ์ส่งจะส่งบิตสิ้นสุด (Stop bit) จำนวนหนึ่งเพื่อบอกให้อุปกรณ์รับ ทราบว่าสิ้นสุดการส่งข้อมูล 1 ชุด
8250 Universal Asynehronouse Receiver- Transmitter (UART)
-RTS(Request permission to send)
-CTS(Clear to send)
-DTR(Data terminal ready)
-DSR(Data set ready)
-Sin(Serial data input)
-Sout(Serial data output)
-RI(Ring indieator)
-RLSD(Received line signal detect)
8250 Universal Asynehronouse Receiver- Transmitter (UART) วงจร 8250 UART ออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ I/O device เช่น Modem หลังจากนั้น Modem จะแปลงสัญญาณดิจิตอลไปเป็นสัญญาณเสียง แล้วส่งออกไปตามสายโทรศัพท์และ ในทางกลับกัน 8250 UART มีสัญญาณควบคุม 8 เส้นที่ควบคุมการเชื่อมโยงไปยัง BUS สัญญาณที่อ่าน Input มี 4 สัญญาณ ซึ่งทำให้ 8250 UART รับ Input หรือส่ง Data ออกไป Output สัญญาณแรก คือสัญญาณควบคุมที่ให้ 8250 UART เลือก Address ของตัวมันเอง คือสัญญาณ Chip scleet สัญญาณ Oupput 2 เส้นจะแจ้งอุปกรณ์ภายนอก เมื่อ CPU เลือก 8250 UART และเมื่อ CPU อ่านข้อมูลของ 8250 UART 8250 UART จะใช้สัญญาณ Interrupt เป็น Outputเพื่อร้องขอการขัดจังหวะของ CPU
สาย 8 เส้นนี้จะใช้เพียง 6 เส้น เพื่อควบคุบการสื่อสารระหว่าง 8250 UART กับ Serial I/O device ซึ่งในที่นี้จะใช้ Modem มาอธิบายโดยสัญญาณทั้ง 6 มีดังนี้
RTS(Request permission to send) เป็นสัญญาณ Output บอกให้ Modem ทราบว่า 8250 UART มีข้อมูลพร้อมที่จะส่ง
CTS(Clear to send ) เป็นสัญญาณ Input มาจาก Modem เพื่อบอกให้ 8250 UART ทราบว่าให้ส่งข้อมูลมาได้
DTR(Data terminal ready ) (Data terminal คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับหรือส่งข้อมูล)
เป็นสัญญาณ Output ที่บอก Modem ว่า 8250 UART พร้อมที่จะรับข้อมูล
DSR(Data set Ready) (Data setคือโครงสร้างข้อมูลสำหรับไว้เก็บข้อมูลในหน่วยความจำ) เป็น Input ของ 8250 UART ที่มาจาก Modem ที่บอกว่า Modem มีข้อมูลพร้อมที่จะส่งมาให้
Sin เป็นสัญญารข้อมูลรับมาจาก Modem
Sout เป็นสัญญารข้อมูลที่จะส่งไปให้ Modem
RT(Ring Indicator) หมายความว่า Modem ได้ตรวจพบสัญญาณเรียกเข้า
RLSD(Received line signal deteet) หมายความว่าการติดต่อสื่อสารระหว่าง 8250 UART กับ Modem จะกระทำในลักษณะ Handshake
ในที่นี้ 8250 UART จะทำหน้าที่เป็น Data terminal ส่วน Modem ทำหน้าที่เป็น Data set สมมติว่า Modem มีข้อมูลจะส่งให้กับ 8250 UART มันจะทำการติดต่อกันทาง Analog และเมื่อ 8250 UART มีข้อมูลที่จะส่งให้ Modem มันจะต้องขออนุญาต Modem ก่อนโดย ส่งสัญญาน RTS=true โดยมีคำสั่งดังนี้ สัญญาณ RTS จะบอก Modem ว่า 8250 UART พร้อมที่ จะส่ง ข้อมูลและเมื่อ Modem พร้อมที่จะรับข้อมูลมันจะส่งสัญญาร DSR=true มาให้ 8250 UART เพื่อจะแจ้งให้ทราบว่าพร้อมที่จะรับข้อมูล หลังจากนั้น 8250 UART ก็จัดส่งข้อมูลไปบนสายส่งข้อมูลแบบลำดับ(Serial output port (SOUT)) โดยปกติแล้วข้อมูลส่งไปตามลำดับทีละ byte Frame ซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูล 1 Byte และมี Start Parity และ Stop bit เมื่อ 8250 UART ไม่มีข้อมูลที่จะส่งอีกต่อไป มันจะส่งสัญญาณ DTR= False และถ้าในระหว่างการส่งข้อมูลแล้ว Modemไม่สามารถรับข้อมูลได้ Modem ก็จะส่งสัญญาณ DSR=False เพื่อบอกให้ 8250 UART โดยการส่งข้อมูลมาให้ (ใช้คำสั่ง Out) กับ 8250 UART ไว้ในรีจิสเตอร์ควบคุม CPU จะกำหนดสถานะให้กับ8250 UART โดยการอ่านค่าสถานะ มาจาก รีจิสเตอร์สถานะของ 8250 UART รีจิสเตอร์ควบคุมตัวหนึ่งจะควบคุมสัญญาณนาฬิกาการส่งและการรับรีจิสเตอร์ควบคุมตัวที่สองจะควบคุม Parity จำนวนของ Stop bit และจำนวนของบิตข้อมูล รีจิสเตอร์สถานะ จะเก็บค่าสถานะของการส่ง(Full receive data register Empty transmit data register Framing error Parity error overrun error etc.) กล่าวได้ว่า รีจิเตอร์ควบคุมของ8250 UART จะควบคุมสถานะของสัญญาณ Output handshake ส่วนรีจิสเตอร์สถานะของ 8250 UART จะบอกสถานะของตนเอง เมื่อCPU ได้อ่านไป จะให้สถานะของสัญญาณ Input handshake
สรุปเนื้อหา
อุปกรณ์ Input/Output เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมหรือผู้ใช้โปรแกรมรับหรือส่งข้อมูลได้ แต่การที่อุปกรณ์ อุปกรณ์ Input/Outputจะรับหรือส่งข้อมูลได้นั้นจะต้องผ่านอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการควบคุมการรับส่งข้อมูลเหล่านั้น นั่นก็คือ I/O Module ดังนั้นเมื่อจะเขียนหรืออ่านข้อมูลนั้นจึงต้องผ่าน I/O Module นี้ และการเขียนและอ่านข้อมูลจะกระทำระหว่าง หน่วยความจำหลัก และอุปกรณ์ Input/ Output เนื่องจาก CPU มีหน่วยความจำอยู่อย่างจำกัด การเขียนและอ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยความจำหลัก และอุปกรณ์ Input/Output จะกระทำได้ 3 วิธีคือ
1. Programmed I/O
2. Interrupt driven I/O
3. DMA (Direct memory access)
Programmed I/O
จะเป็นการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้ CPU อ่านข้อมูล จากหน่วยความจำหลักหรืออุปกรณ์ I/O แล้วไปเขียนที่ อุปกรณ์ I/O หรือหน่วยความจำหลักCPU เมื่อจะมีการเขียนหรืออ่านข้อมูลทุก Word ไปที่อุปกรณื I/O CPU จะต้องคอยตรวจ สอบอุปกรณ์ I/O ทุกครั้ง และ CPU จะต้องทำงานนั้นจนเสร็จ ทำให้เสียเวลาการทำงานของ CPU ใช้หลักการรที่ว่า เมื่อMicroprocessor กับอุปกรณ์ภายนอก โดยผ่านทาง register พิเศษที่เรียกว่า I/O ports คุณสมบัติของ I/O เทคนิคนี้คือ อุปกรณ์ภายนอกสามารถกระทำ Funetion ตามที่ Program ซึ่งอยู่ภายในหน่วยความจำของ microprocessor สั่งงานหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ microprocessor จะควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดด้วยตนเอง
Interrupt driven I/O เพื่อแก้ปัญหา Programmed I/O
เมื่อ CPU จ่ายโปรแกรมที่เขียนหรื่ออ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ I/O และหน่วยความจำหลักแล้ว CPU ก็ไปทำงานอย่างอื่นได้ เมื่ออุปกรณ์ I/O พร้อมก็จะส่งสัญญาณ Interrupt มาบอก CPU อย่างไรก็ตามการเขียนและอ่านข้อมูลก็ยังต้องผ่าน CPU อยู่นั่นเอง มีหลักการว่าอุปกรณ์ภายนอกสามารถบังคับให้ Microprocessor หยุดการทำงานใน program ที่กำลังทำอยู่ชั่วคราว เพื่อที่จะให้มาทำงานในอีกโปรแกรมที่เรียกว่า Interrupt service routine ซึ่ง routine นี้เป็นชุดคำสั่งที่อุปกรณ์ภายนอกต้องการและหลังจากสิ้นสุดแล้ว microprocessor ก็จะกลับไปทำงานตามโปรแกรมเดิมก่อนที่มันจะถูกเรียก Interrupt
DMA (Direct memory access) เป็นการเขียนและอ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยความจำหลักและอุปกรณ์โดยไม่ผ่าน CPU ทำให้การเขียนและอ่านข้อมูลกระทำได้เร็วขึ้น มีหลักการที่ว่า การถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง memory กับอุปกรณ์ภายนอก โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับ Microprocessor เลย ส่วนใหญ่ DMA จะใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบเป็นกลุ่ม (block transfer) ระหว่าง memory กับอุปกรณ์ภายนอก Chip ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเรียก DMA Control chip
สุดท้ายได้กล่าวถึง การสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก (External Interface) โดยมีอยู่ 2 รูปแบบคือ แบบ Serial และแบบ Parallel ในลักษณะ Handshaking
วันจันทร์, กันยายน 11, 2549
โครงสร้างของ Unix
ระบบปฏิบัติการ Unix สามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ได้ 4 ระดับ แต่ละระดับก็จะทำหน้าที่ต่างกัน
1.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอุปกรณ์หรือทุกชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถจับต้องได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เม้าส์ ดิกส์ไดรซ์ ซีดีรอม เป็นต้น
2.ยูนิกซ์ เคอร์เนล เคอร์เนล จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การจัดการข้อมูลบริการหน่วยความจำ ซึ่งเคอร์เนลนี้จะขึ้นกับฮาร์ดแวร์ เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ฮาร์ดแวร์ เคอร์เนลนี้ก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย เป็นต้น
3.เชลล์ คือ ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับตัวเคอร์เนล ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ แล้วนำไปแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ เราเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า command interpreter แต่ถ้ามีการนำ เชลล์หลาย ๆ ตัวมาเขียนรวมกัน (คล้าย ๆ กับ batch file ในระบบปฏิบัติการ DOS) เราจะเรียกว่า เชลล์สคริปต์ นอกจากนี้ เชลล์ (Shell) ยังมีอีกหลาย ๆ ประเภท แต่ที่นิยมกันได้แก่
Bourne shell (sh) เป็นเชลล์ต้นแบบของทุก ๆ เชลล์ มีความสามารถในการเขียน เชลล์สคริปต์ได้ด้วย
C shell (csh) เป็นเชลล์ที่สร้างหลัง Bourne shell ความสามารถพิเศษของ C shell คือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งที่เคยใช้
Korn shell (ksh) ซึ่งพัฒนาโดย AT&T โดยได้นำคุณสมบัติเด่น ๆ ของ Bourne shell และ C shell มารวมกัน
Bourne again shell (bash) มีคุณสมบัติและความสามารถคล้ายกับ Korn shell แต่ shell นี้ถูกสร้างขึ้นมาใช้สำหรับแจกฟรี ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทาง Linux นำมาใช้
คำสั่งที่ทำให้ทราบว่าเราใช้งาน เชลล์อะไรอยู่คือ echo $SHELL
4.โปรแกรมประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมการใช้งานเพิ่มเติมต่าง ๆ ที่ใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้แก่ pine เป็นต้น
1.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอุปกรณ์หรือทุกชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถจับต้องได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เม้าส์ ดิกส์ไดรซ์ ซีดีรอม เป็นต้น
2.ยูนิกซ์ เคอร์เนล เคอร์เนล จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การจัดการข้อมูลบริการหน่วยความจำ ซึ่งเคอร์เนลนี้จะขึ้นกับฮาร์ดแวร์ เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ฮาร์ดแวร์ เคอร์เนลนี้ก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย เป็นต้น
3.เชลล์ คือ ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับตัวเคอร์เนล ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ แล้วนำไปแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ เราเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า command interpreter แต่ถ้ามีการนำ เชลล์หลาย ๆ ตัวมาเขียนรวมกัน (คล้าย ๆ กับ batch file ในระบบปฏิบัติการ DOS) เราจะเรียกว่า เชลล์สคริปต์ นอกจากนี้ เชลล์ (Shell) ยังมีอีกหลาย ๆ ประเภท แต่ที่นิยมกันได้แก่
Bourne shell (sh) เป็นเชลล์ต้นแบบของทุก ๆ เชลล์ มีความสามารถในการเขียน เชลล์สคริปต์ได้ด้วย
C shell (csh) เป็นเชลล์ที่สร้างหลัง Bourne shell ความสามารถพิเศษของ C shell คือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งที่เคยใช้
Korn shell (ksh) ซึ่งพัฒนาโดย AT&T โดยได้นำคุณสมบัติเด่น ๆ ของ Bourne shell และ C shell มารวมกัน
Bourne again shell (bash) มีคุณสมบัติและความสามารถคล้ายกับ Korn shell แต่ shell นี้ถูกสร้างขึ้นมาใช้สำหรับแจกฟรี ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทาง Linux นำมาใช้
คำสั่งที่ทำให้ทราบว่าเราใช้งาน เชลล์อะไรอยู่คือ echo $SHELL
4.โปรแกรมประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมการใช้งานเพิ่มเติมต่าง ๆ ที่ใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้แก่ pine เป็นต้น
จุดอ่อนของ DNS server
เรามักจะใช้ DNS server กันอย่างไม่รู้คุณค่า บทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดการโจมตี DNS server และคุณสามารถทำอะไรเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น ซึ่งจะตอบคำถามต่อไปนี้คือ
* แคร็กเกอร์(crackers) ใช้ประโยชน์(exploit) จาก DNS เซิร์ฟเวอร์ของคุณได้อย่างไร ?* คุณสามารถทำให้การรักษาความปลอดภัยของ DNS server แข็งกร่งโดยการกำหนดค่า(configuration)ได้อย่างไร ?* คุณสามารถทำให้การบุกรุก DNS server ของคุณเป็นฝันร้ายสำหรับผู้ที่บุกรุกได้อย่างไร ?
ซึ่งอธิบายในลักษณะของการโจมตีและการป้องกัน การป้องกันดำเนินการใน DNS server ที่ใช้ BIND เวอร์ชัน 8 แต่แนวความคิดใช้ได้กับ DNS server ทุกชนิด บทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ดูแลระบบ
การโจมตี: ผู้โจมตีหาข้อมูลจาก DNS server ของคุณให้ได้มากที่สุดสมมติว่าโดเมนของเป้าหมายคือ dumb.target.jay เราต้องการรู้ว่า name server ของ dumb.tarbet.jay คืออะไรจึงใช้คำสั่ง nslookup ในยูนิกซ์ ดังต่อไปนี้:
[jay@max jay]$ nslookupDefault Server: ns.my.ispAddress: 10.0.0.1> set q=ns> dumb.target.jayServer: ns.my.ispAddress: 10.0.0.1Non-authoritative answer:dumb.target.jay nameserver = dumb.target.jaydumb.target.jay nameserver = ns2.dumb.target.jayAuthoritative answers can be found from:dumb.target.jay internet address = 192.168.1.85>
ต่อมาเมื่อรู้ว่าอะไรเป็น name server เพื่อใช้หาข้อมูล จึงถามเซิร์ฟเวอร์นี้ สำหรับรายการของโซน (zone)ใช้คำสั่ง dig เพื่อถามถึง zone transfer:
[jay@max zone]# dig @192.168.1.85 dumb.target.jay axfr; <<>> DiG 8.2 <<>> @192.168.1.85 dumb.target.jay axfr; (1 server found)$ORIGIN dumb.target.jay.@ 20H IN SOA ns1 hostmaster.dumb.target.jay (2000111001 ; serial5H ; refresh1H ; retry4d4h ; expire1D ) ; minimum1H IN NS dumb.target.jay.20H IN NS ns.dumb.target.jay.20H IN NS ns.dumbs.isp.20H IN A 192.168.1.851D IN HINFO "Pentium 133" "Red Hat 6.1"1D IN MX 10 mailmail 1D IN A 192.168.1.2really 1D IN A 192.168.1.201D IN TXT "Admin's Trusted Workstation"1D IN HINFO "Athlon 850" "Red Hat 6.1"rather 1D IN A 192.168.1.151D IN HINFO "Pentium 266" "Mandrake 7.1"serious 1D IN CNAME extraextra 1D IN A 192.168.1.80ns 1D IN A 192.168.1.30r_g 1D IN A 192.168.1.68roblimo 1D IN MX 10 r_g1D IN A 192.168.1.44tahara 1D IN A 192.168.1.27
ดูจากข้อมูลที่เราได้จากการใช้คำสั่งสองคำสั่ง จะเห็นว่ามีรายชื่อของเครื่องทั้งหมดที่อยู่ในโซนนี้ นอกจากนี้ถ้าคุณดูที่ HINFO คุณสามารถรู้ได้ว่าเครื่องเหล่านี้ใช้ลีนุกซ์อะไร ทำให้เรารู้อะไรบ้าง ถ้ามีรายการของ exploitที่ใช้ได้กับ Red Hat 6.1 ถ้าสามารถรู้ zone transfer และทำอย่างที่ทำข้างต้นและหา "Red Hat" จะพบเครื่องสองเครื่องที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีซึ่งรวมถึงเครื่อง workstation ของ sysadmin ด้วย จากนี้จึงมุ่งความสนใจไปที่สองเครื่องนี้ซึ่งมักจะมีความเชื่อถือกันเองระหว่างสองเครื่องนี้ด้วย เป็นขึ้นตอนแรกสำหรับcracker เมื่อต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเน็ตเวิร์คนั้น
กำหนดค่า DNS server อย่างมีความเข้าใจ
DNS ได้รับการออกแบบในตอนที่อินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่น่าเชื่อใจกว่านี้มาก ไซต์ใหญ่ ๆ มากมายหลายแห่งยังคงกำหนดค่า DNS server ของพวกเขาให้บอกข้อมูลออกไปจำนวนมากต่อใครก็ตามที่ร้องขอ ข้อมูลในส่วนของ HINFO และ TXT เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารไซต์นั้นที่จะต้องดูแลเครื่องจำนวนมากในไซต์ แต่เป็นประโยชน์มากกว่าสำหรับ cracker ผู้ซึ่งพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทคุณ
DNS ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ip/name mapping เท่านั้น เปรียบเทียบได้กับในบริษัทของคุณที่คุณจะให้ให้แผนกต้อนรับลูกค้าบอกถึงหมายเลขโทรศัพท์ภายในของบุคคลที่ต้องการเท่านั้น ไม่รวมถึงตำแหน่ง คุณสมบัติและโครงการของบริษัท คุณไม่ทำอย่างนั้นแน่นอนเพราะหมายถึงการเสี่ยงต่อการปล่อยให้ความลับของบริษัทรั่วใหล และอาจสูญเสียบุคคลากรของบริษัทคุณให้กับบริษัทอื่นคุณสามารถกำหนดค่าของ name server ของคุณได้อย่างง่าย ๆ ให้มันให้ข้อมูลจำเป็นจริง ๆ โดยการแก้ไขไฟล์ /etc/named.conf ไฟล์กำหนดค่าหลักของ BIND
options {directory "/var/named";};zone "dumb.target.jay" {type master;file "zone/db.dumb.target.jay";};zone "1.168.192.in-addr.arpa" {type master;file "zone/db.192.168.1";};
การกำหนดค่านี้แสดงให้เห็นเพียงส่วนของ options ซึ่งแสดงให้เห็น global setting, forward และreverse zone สำหรับโดเมนสมมติ dump.target.jay ตัวอย่างข้างบนได้ละส่วนของ root server และ localhost ไว้เพื่อความกระชับ ตัวอย่างนี้ใช้สำหรับ primary name server มากกว่าที่จะเป็นsecondary name server
ขั้นแรกให้ดูที่ zone transfer, zone transfer ปกติใช้เพื่อให้ secondary name server ได้อัปเดทข้อมูลให้เหมือนกับ primary name server เท่านั้น นอกจากนี้แล้วมันใช้เพื่อหาข้อมูลของเป้าหมายเท่านั้นสมมติว่า secondary name server มี ip address เป็น 192.168.1.30 และ 10.1.1.4 ดังนั้นเครื่องอื่นก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ zone transfer ต่อมาจึงจำกัดมันดังนี้:
options {
directory "/var/named";
allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };
};
สมมติว่าเน็ตเวิร์คภายในของคุณมีเพียงเครื่องที่มี subnet 192.168.1.x เท่านั้น เครื่องภายนอก subnet นี้ควรที่จะสอบถาม(query)ได้เฉพาะโซนที่คุณรับผิดชอบอยู่เท่านั้น สิ่งนี้สำคัญเพราะการโจมตี DNS serverส่วนใหญ่จำเป็นที่ผู้โจมตีต้องสามารถสอบถาม server อื่นซึ่งมักจะเป็นโดเมนที่ผู้โจมตีควบคุมอยู่ ถ้าเราไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ภายนอกสามารถสอบถามถึงโดเมนที่ไม่ใช่ของเรา เราจะป้องกันจากการโจมตีได้หลายอย่าง
options {directory "/var/named";allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };allow-query { 192.168.1.0/24; };};zone "dumb.target.jay" {type master;file "zone/db.dumb.target.jay";allow-query { any; };};zone "1.168.192.in-addr.arpa" {type master;file "zone/db.192.168.1";allow-query { any; };};
ถึงตอนนี้ใคร ๆ ก็สามารถสอบถามถึงโดเมน dumb.target.jay และ reverse ของมัน มีเพียงโฮสต์ภายในเน็ตเวิร์คเท่านั้นที่สามารถสอบถามอย่างอื่นได้ ท้ายสุดให้อนุญาตให้มีการสอบถามแบบเรียกตัวเอง (recursive)ได้จากโฮสต์ภายในเท่านั้น โดยต้องทำแต่ละโฮสต์ให้มีเฉพาะไลบรารีสำหรับการ resolve ip/hostname(resolver library) ซึ่งจะถาม name server สำหรับ name/ip mapping แต่ละโฮสต์จะสอบถาม nameserver ถึง ip ของ dumb.tarbet.jay name server จะสอบถาม root server เพื่อให้หาว่าโฮสต์ใดที่รับผิดชอบโดเมน .jay root server จะตอบ ip มาซึ่งมันจะติดต่อและถาม server ที่รับผิดชอบโดเมนtarget.jay ควรมีเพียงโฮสต์ภายในเน็ตเวิร์คของคุณเท่านั้นที่สามารถถาม name server เพื่อให้ทำอย่างนี้ได้เพราะโฮสต์ภายนอกมี name server ของตัวเองอยู่แล้ว การอนุญาตให้โฮสต์ภายนอกสอบถาม name serverของคุณให้ตอบแบบเรียกตัวเองสามารถนำไปสู่การโจมตีแบบ cache poisoning ได้ และโดยทั่วไปสิ่งนี้จะให้ข้อมูลที่มากเกินไปสู่ภายนอกเน็ตเวิร์ค
options {directory "/var/named";allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };allow-query { 192.168.1.0/24; };allow-recursion { 192.168.1.0/24; };};
เอาละเราได้ทำให้การรักษาความปลอดภัยของ DNS แน่นหนาขึ้นแล้ว แต่ยังมีอะไรเหลืออีกล่ะ บางคนยังสามารถสอบถาม HINFO และ TXT records ได้ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำการสอบถาม zone transfer ดังต่อไปนี้:
[jay@max jay]$ dig @localhost dumb.target.jay hinfo; <<>> DiG 8.2 <<>> @localhost dumb.target.jay hinfo; (1 server found);; res options: init recurs defnam dnsrch;; got answer:;; ->>HEADER<<- opcode: QUERY, status: NOERROR, id: 6;; flags: qr rd ra; QUERY: 1, ANSWER: 1, AUTHORITY: 0,ADDITIONAL: 0;; QUERY SECTION:;; dumb.target.jay, type = HINFO, class = IN;; ANSWER SECTION:dumb.target.jay. 1D IN HINFO "Pentium 166" "Red Hat 6.1";; Total query time: 1 msec;; FROM: max.fictional.attacker to SERVER: localhost 127.0.0.1;; WHEN: Sun Nov 12 00:17:08 2000;; MSG SIZE sent: 33 rcvd: 69
คุณมีทางเลือกหนึ่งในสองทางดังต่อไปนี้คือ:
* เอา record ของ HINFO และ TXT ออกจากไฟล์ที่เกี่ยวกับ zone หรือ* เซ็ต DNS เป็นแบบ Split Horizon DNS
ทางเลือกหลังหมายถึงการทำ name server สองชุด ชุดแรกอยู่หลังไฟร์วอล อีกชุดหนึ่งอยู่ข้างนอกโดยใช้ Network Address Translation (NAT) ที่อยู่ภายในเน็ตเวิร์ค ชุดที่อยู่ภายในเน็ตเวิร์คใช้เหมือนกับ ชุดที่อยู่ภายนอกเน็ตเวิร์คแต่ชุดที่อยู่ภายในให้ข้อมูลทุกอย่างรวมทั้ง TXT และ HINFO ในขณะที่ชุดที่อยู่ภายนอกจะให้ข้อมูลที่จำกัดมากโดยจะไม่ให้ข้อมูลแทบทุกอย่างที่เกี่ยวกับเครื่องที่อยู่ภายในเน็ตเวิร์ค เนื่องจาก NAT ทำให้ดูเหมือนกับว่าเน็ตเวิร์คภายในมีเพียงเครื่องเดียว
การทำ Split Horizon DNS เป็นงานที่ต้องใช้เวลามาก แต่จะประหยัดเวลาสำหรับการทำโครงการที่เกี่ยวกับ DNS ที่สำคัญโครงการต่อไป ในตอนนี้ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับ record ของ HINFO/TXT ให้มากและใช้หลักการให้ข้อมูลสู่ภายนอกให้น้อยที่สุดและให้ข้อมูลสู่ผู้ใช้ในสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ ไม่ควรตั้งชื่อของผู้ดูแลระบบว่า admin อาจเรียกใหม่ในชื่อ overlord
การ crack name server ของคุณเราได้แก้ไขช่องโหว่ที่เกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่มากเกินไปแล้ว อย่างไรก็ตาม DNS server ที่ใช้ BIND เองยังมีช่องโหว่ทางด้านการรักษาความปลอดภัยอยู่เรื่อย ๆ เช่น BIND เวอร์ชัน 8.2 - 8.22 ที่ยังไม่ได้แก้ไขช่องโหว่มีช่องโหว่ที่สามารถใช้เพื่อให้ได้สิทธิ์ของ root จากเซิร์ฟเวอร์อื่นได้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
script kiddies (ผู้ซึ่งนำสคริปต์ที่ผู้อื่นเขียนขึ้นมาใช้เพื่อการบุกรุกสู่ระบบ) จำนวนมากจะสแกนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ตจำนวนมากเพื่อหา BIND เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ ดังต่อไปนี้:
[jay@max bog]$ dig @dumb.target.jay dumb.target.jaytxt chaos version.bind; <<>> DiG 8.2 <<>> @dumb.target.jay dumb.target.jaytxt chaos version.bind; (1 server found);; res options: init recurs defnam dnsrch;; got answer:;; ->>HEADER<<- opcode: QUERY, status: NOERROR, id: 6;; flags: qr aa rd ra; QUERY: 1, ANSWER: 1,AUTHORITY: 0, ADDITIONAL: 0;; QUERY SECTION:;; version.bind, type = TXT, class = CHAOS;; ANSWER SECTION:VERSION.BIND. 0S CHAOS TXT "8.2.2";; Total query time: 1 msec;; FROM: max.fictional.attacker toSERVER: dumb.target.jay 192.168.1.85;; WHEN: Mon Oct 20 18:30:05 2000;; MSG SIZE sent: 30 rcvd: 63[jay@max bog]$
จะเห็นได้ว่า BIND บอกเวอร์ชันและมันก็มีช่องโหว่เสียด้วย มันมีผลเสียอย่างร้ายแรงที่ script kiddie จงใจสแกนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ตเพื่อหา BIND เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ พวกเขาอาจดาวน์โหลด perl script ที่ยาวเพียงสามบรรทัดเพื่อที่จะสแกนหา name server ที่มีช่องโหว่นี้ พวกเขาสามารถหาเซิร์ฟเวอร์ของเราเจอได้ นอกจากนี้ ถ้า cracker ที่มีความชำนาญกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของเรา เขาต้องการรู้ว่าเรามีname server ที่มีช่องโหว่หรือไม่ เขาสามารถหาข้อมูลนั้นโดยไม่ให้ผู้ดูแลระบบรู้ได้ด้วย ปกปิดเวอร์ชันของ BIND ของ cracker และสคริปต์ของพวกเขา:แก้ไขช่องโหว่ รันโดยยูสเซอร์ที่ไม่ใช่ rootโชคดีที่เราสามารถเปลี่ยนข้อความที่มากับ name server ได้โดยเพิ่มเติมลงไปในไฟล์ /etc/named.confในส่วนของ options ดังต่อไปนี้:
options {directory "/var/named";allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };allow-query { 192.168.1.0/24; };version "Go away!";};
คุณอาจเปลี่ยนเป็นข้อความเป็น "10.0.0" เพื่อให้ดูก้าวร้าวน้อยลง หรือ "4.9.7" เพื่อให้เขาเลิกยุ่งกับเซิร์ฟเวอร์
การใช้มาตรการนี้คุณควรแก้ไขช่องโหว่ของ name server ของคุณอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะทำเช่นนี้แล้วแต่คุณก็อาจมีช่องโหว่อีกคือ DNS server ส่วนมากจะรันโดย root ซึ่งเปิดให้มีการได้สิทธิ์ของ rootจากเซิร์ฟเวอร์อื่นในระหว่างช่วงเวลาที่มีการค้นพบช่องโหว่และการแก้ไขช่องโหว่ ในระหว่างนี้สิ่งเดียวที่ช่วยได้คือทำให้การรักษาความปลอดภัยของ name server เข้มแข็งยิ่งขึ้น อับดับแรกที่ต้องทำซึ่งทำได้ง่ายคือให้BIND รันโดยยูสเซอร์อื่น ถ้าไม่ใช่ root ที่รัน BIND คุณสามารถหาได้โดยพิมพ์ดังต่อไปนี้:
[jay@max jay]$ ps -ef grep namednamed 9179 1 0 12:15 ? 00:00:00 named -u named
คอลัมน์แรกแสดงชื่อยูสเซอร์ที่รัน BIND เครื่องที่ผมใช้ทดสอบคือ Mandrake 7.1 โปรแกรม namedของ BIND รันโดยยูสเซอร์ named ถ้าคุณใช้ระบบปฏิบัติการที่แสดงให้เห็นว่า named รันโดย rootให้หาสคริปต์เริ่มต้น(init script) ที่เริ่มการทำงานของ named แล้วจึงแก้ไขให้ใช้ flag -u และ -g ดังต่อไปนี้:
/usr/sbin/named -u dns_user -g dns_group
คุณจำเป็นต้องสร้างยูสเซอร์ dns_user และกลุ่ม dns_group โดยคุณจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ที่ต้องการMandrakeSoft ใช้ยูสเซอร์ named และกลุ่ม root ส่วนผมเลือกเอายูสเซอร์ bob และกลุ่ม lessเพื่อไม่ให้ยูสเซอร์อื่นและcracker สงสัย ในกรณีใด ๆ ก็ตามให้ใช้ทั้งสอง flag นอกจากนี้ยูสเซอร์ที่สร้างมานี้ควรปิดการใช้งานจาก shell เช่น /bin/false และควรมี home directory เป็น /var/named หรืออะไรก็ตามที่เป็นไดเร็กทอรีของ DNS
ขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้จะป้องกันจากการได้สิทธิ์ของ root จากเซิร์ฟเวอร์อื่น (remote root exploit) ในname server ที่ใช้ BIND 8.2 - 8.22 ซึ่งป้องกันได้เพียงไม่ไห้ script kiddie ใช้ shell ได้ และพวกเขาจำเป็นต้องพยายามเพิ่มเติมเพื่อให้ได้สิทธิ์ของ root วิธีนี้สามารถหยุดการโจมตีจาก script kiddie เท่านั้น ถ้าป้องกันจากการโจมตีขั้นสูงแล้วต้องใช้อีกวิธีหนึ่ง
เทคนิคขั้นสูง: chroot the server
เราสามารถตีวงเซิร์ฟเวอร์ให้รันอยู่ในสภาวะ chroot ได้ซึ่งจะจำกัดให้เซิร์ฟเวอร์สามารถเข้าถึงได้เพียงส่วนย่อยของ filesystem เท่านั้น มักจะเป็น /home/dns หรือ /chroot/dns โมดูล DNS.pm ของBastille Linux สามารถ chroot DNS server จากระบบของ Red Hat 6.0-6.2 ซึ่งรายละเอียดอยู่ในเว็ปไซต์ของผู้เขียน http://www.bastille-linux.org/jay มีรายละเอียดเกี่ยวกับ chroot ที่นั่นด้วย
* แคร็กเกอร์(crackers) ใช้ประโยชน์(exploit) จาก DNS เซิร์ฟเวอร์ของคุณได้อย่างไร ?* คุณสามารถทำให้การรักษาความปลอดภัยของ DNS server แข็งกร่งโดยการกำหนดค่า(configuration)ได้อย่างไร ?* คุณสามารถทำให้การบุกรุก DNS server ของคุณเป็นฝันร้ายสำหรับผู้ที่บุกรุกได้อย่างไร ?
ซึ่งอธิบายในลักษณะของการโจมตีและการป้องกัน การป้องกันดำเนินการใน DNS server ที่ใช้ BIND เวอร์ชัน 8 แต่แนวความคิดใช้ได้กับ DNS server ทุกชนิด บทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ดูแลระบบ
การโจมตี: ผู้โจมตีหาข้อมูลจาก DNS server ของคุณให้ได้มากที่สุดสมมติว่าโดเมนของเป้าหมายคือ dumb.target.jay เราต้องการรู้ว่า name server ของ dumb.tarbet.jay คืออะไรจึงใช้คำสั่ง nslookup ในยูนิกซ์ ดังต่อไปนี้:
[jay@max jay]$ nslookupDefault Server: ns.my.ispAddress: 10.0.0.1> set q=ns> dumb.target.jayServer: ns.my.ispAddress: 10.0.0.1Non-authoritative answer:dumb.target.jay nameserver = dumb.target.jaydumb.target.jay nameserver = ns2.dumb.target.jayAuthoritative answers can be found from:dumb.target.jay internet address = 192.168.1.85>
ต่อมาเมื่อรู้ว่าอะไรเป็น name server เพื่อใช้หาข้อมูล จึงถามเซิร์ฟเวอร์นี้ สำหรับรายการของโซน (zone)ใช้คำสั่ง dig เพื่อถามถึง zone transfer:
[jay@max zone]# dig @192.168.1.85 dumb.target.jay axfr; <<>> DiG 8.2 <<>> @192.168.1.85 dumb.target.jay axfr; (1 server found)$ORIGIN dumb.target.jay.@ 20H IN SOA ns1 hostmaster.dumb.target.jay (2000111001 ; serial5H ; refresh1H ; retry4d4h ; expire1D ) ; minimum1H IN NS dumb.target.jay.20H IN NS ns.dumb.target.jay.20H IN NS ns.dumbs.isp.20H IN A 192.168.1.851D IN HINFO "Pentium 133" "Red Hat 6.1"1D IN MX 10 mailmail 1D IN A 192.168.1.2really 1D IN A 192.168.1.201D IN TXT "Admin's Trusted Workstation"1D IN HINFO "Athlon 850" "Red Hat 6.1"rather 1D IN A 192.168.1.151D IN HINFO "Pentium 266" "Mandrake 7.1"serious 1D IN CNAME extraextra 1D IN A 192.168.1.80ns 1D IN A 192.168.1.30r_g 1D IN A 192.168.1.68roblimo 1D IN MX 10 r_g1D IN A 192.168.1.44tahara 1D IN A 192.168.1.27
ดูจากข้อมูลที่เราได้จากการใช้คำสั่งสองคำสั่ง จะเห็นว่ามีรายชื่อของเครื่องทั้งหมดที่อยู่ในโซนนี้ นอกจากนี้ถ้าคุณดูที่ HINFO คุณสามารถรู้ได้ว่าเครื่องเหล่านี้ใช้ลีนุกซ์อะไร ทำให้เรารู้อะไรบ้าง ถ้ามีรายการของ exploitที่ใช้ได้กับ Red Hat 6.1 ถ้าสามารถรู้ zone transfer และทำอย่างที่ทำข้างต้นและหา "Red Hat" จะพบเครื่องสองเครื่องที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีซึ่งรวมถึงเครื่อง workstation ของ sysadmin ด้วย จากนี้จึงมุ่งความสนใจไปที่สองเครื่องนี้ซึ่งมักจะมีความเชื่อถือกันเองระหว่างสองเครื่องนี้ด้วย เป็นขึ้นตอนแรกสำหรับcracker เมื่อต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเน็ตเวิร์คนั้น
กำหนดค่า DNS server อย่างมีความเข้าใจ
DNS ได้รับการออกแบบในตอนที่อินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่น่าเชื่อใจกว่านี้มาก ไซต์ใหญ่ ๆ มากมายหลายแห่งยังคงกำหนดค่า DNS server ของพวกเขาให้บอกข้อมูลออกไปจำนวนมากต่อใครก็ตามที่ร้องขอ ข้อมูลในส่วนของ HINFO และ TXT เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารไซต์นั้นที่จะต้องดูแลเครื่องจำนวนมากในไซต์ แต่เป็นประโยชน์มากกว่าสำหรับ cracker ผู้ซึ่งพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทคุณ
DNS ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ip/name mapping เท่านั้น เปรียบเทียบได้กับในบริษัทของคุณที่คุณจะให้ให้แผนกต้อนรับลูกค้าบอกถึงหมายเลขโทรศัพท์ภายในของบุคคลที่ต้องการเท่านั้น ไม่รวมถึงตำแหน่ง คุณสมบัติและโครงการของบริษัท คุณไม่ทำอย่างนั้นแน่นอนเพราะหมายถึงการเสี่ยงต่อการปล่อยให้ความลับของบริษัทรั่วใหล และอาจสูญเสียบุคคลากรของบริษัทคุณให้กับบริษัทอื่นคุณสามารถกำหนดค่าของ name server ของคุณได้อย่างง่าย ๆ ให้มันให้ข้อมูลจำเป็นจริง ๆ โดยการแก้ไขไฟล์ /etc/named.conf ไฟล์กำหนดค่าหลักของ BIND
options {directory "/var/named";};zone "dumb.target.jay" {type master;file "zone/db.dumb.target.jay";};zone "1.168.192.in-addr.arpa" {type master;file "zone/db.192.168.1";};
การกำหนดค่านี้แสดงให้เห็นเพียงส่วนของ options ซึ่งแสดงให้เห็น global setting, forward และreverse zone สำหรับโดเมนสมมติ dump.target.jay ตัวอย่างข้างบนได้ละส่วนของ root server และ localhost ไว้เพื่อความกระชับ ตัวอย่างนี้ใช้สำหรับ primary name server มากกว่าที่จะเป็นsecondary name server
ขั้นแรกให้ดูที่ zone transfer, zone transfer ปกติใช้เพื่อให้ secondary name server ได้อัปเดทข้อมูลให้เหมือนกับ primary name server เท่านั้น นอกจากนี้แล้วมันใช้เพื่อหาข้อมูลของเป้าหมายเท่านั้นสมมติว่า secondary name server มี ip address เป็น 192.168.1.30 และ 10.1.1.4 ดังนั้นเครื่องอื่นก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ zone transfer ต่อมาจึงจำกัดมันดังนี้:
options {
directory "/var/named";
allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };
};
สมมติว่าเน็ตเวิร์คภายในของคุณมีเพียงเครื่องที่มี subnet 192.168.1.x เท่านั้น เครื่องภายนอก subnet นี้ควรที่จะสอบถาม(query)ได้เฉพาะโซนที่คุณรับผิดชอบอยู่เท่านั้น สิ่งนี้สำคัญเพราะการโจมตี DNS serverส่วนใหญ่จำเป็นที่ผู้โจมตีต้องสามารถสอบถาม server อื่นซึ่งมักจะเป็นโดเมนที่ผู้โจมตีควบคุมอยู่ ถ้าเราไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ภายนอกสามารถสอบถามถึงโดเมนที่ไม่ใช่ของเรา เราจะป้องกันจากการโจมตีได้หลายอย่าง
options {directory "/var/named";allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };allow-query { 192.168.1.0/24; };};zone "dumb.target.jay" {type master;file "zone/db.dumb.target.jay";allow-query { any; };};zone "1.168.192.in-addr.arpa" {type master;file "zone/db.192.168.1";allow-query { any; };};
ถึงตอนนี้ใคร ๆ ก็สามารถสอบถามถึงโดเมน dumb.target.jay และ reverse ของมัน มีเพียงโฮสต์ภายในเน็ตเวิร์คเท่านั้นที่สามารถสอบถามอย่างอื่นได้ ท้ายสุดให้อนุญาตให้มีการสอบถามแบบเรียกตัวเอง (recursive)ได้จากโฮสต์ภายในเท่านั้น โดยต้องทำแต่ละโฮสต์ให้มีเฉพาะไลบรารีสำหรับการ resolve ip/hostname(resolver library) ซึ่งจะถาม name server สำหรับ name/ip mapping แต่ละโฮสต์จะสอบถาม nameserver ถึง ip ของ dumb.tarbet.jay name server จะสอบถาม root server เพื่อให้หาว่าโฮสต์ใดที่รับผิดชอบโดเมน .jay root server จะตอบ ip มาซึ่งมันจะติดต่อและถาม server ที่รับผิดชอบโดเมนtarget.jay ควรมีเพียงโฮสต์ภายในเน็ตเวิร์คของคุณเท่านั้นที่สามารถถาม name server เพื่อให้ทำอย่างนี้ได้เพราะโฮสต์ภายนอกมี name server ของตัวเองอยู่แล้ว การอนุญาตให้โฮสต์ภายนอกสอบถาม name serverของคุณให้ตอบแบบเรียกตัวเองสามารถนำไปสู่การโจมตีแบบ cache poisoning ได้ และโดยทั่วไปสิ่งนี้จะให้ข้อมูลที่มากเกินไปสู่ภายนอกเน็ตเวิร์ค
options {directory "/var/named";allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };allow-query { 192.168.1.0/24; };allow-recursion { 192.168.1.0/24; };};
เอาละเราได้ทำให้การรักษาความปลอดภัยของ DNS แน่นหนาขึ้นแล้ว แต่ยังมีอะไรเหลืออีกล่ะ บางคนยังสามารถสอบถาม HINFO และ TXT records ได้ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำการสอบถาม zone transfer ดังต่อไปนี้:
[jay@max jay]$ dig @localhost dumb.target.jay hinfo; <<>> DiG 8.2 <<>> @localhost dumb.target.jay hinfo; (1 server found);; res options: init recurs defnam dnsrch;; got answer:;; ->>HEADER<<- opcode: QUERY, status: NOERROR, id: 6;; flags: qr rd ra; QUERY: 1, ANSWER: 1, AUTHORITY: 0,ADDITIONAL: 0;; QUERY SECTION:;; dumb.target.jay, type = HINFO, class = IN;; ANSWER SECTION:dumb.target.jay. 1D IN HINFO "Pentium 166" "Red Hat 6.1";; Total query time: 1 msec;; FROM: max.fictional.attacker to SERVER: localhost 127.0.0.1;; WHEN: Sun Nov 12 00:17:08 2000;; MSG SIZE sent: 33 rcvd: 69
คุณมีทางเลือกหนึ่งในสองทางดังต่อไปนี้คือ:
* เอา record ของ HINFO และ TXT ออกจากไฟล์ที่เกี่ยวกับ zone หรือ* เซ็ต DNS เป็นแบบ Split Horizon DNS
ทางเลือกหลังหมายถึงการทำ name server สองชุด ชุดแรกอยู่หลังไฟร์วอล อีกชุดหนึ่งอยู่ข้างนอกโดยใช้ Network Address Translation (NAT) ที่อยู่ภายในเน็ตเวิร์ค ชุดที่อยู่ภายในเน็ตเวิร์คใช้เหมือนกับ ชุดที่อยู่ภายนอกเน็ตเวิร์คแต่ชุดที่อยู่ภายในให้ข้อมูลทุกอย่างรวมทั้ง TXT และ HINFO ในขณะที่ชุดที่อยู่ภายนอกจะให้ข้อมูลที่จำกัดมากโดยจะไม่ให้ข้อมูลแทบทุกอย่างที่เกี่ยวกับเครื่องที่อยู่ภายในเน็ตเวิร์ค เนื่องจาก NAT ทำให้ดูเหมือนกับว่าเน็ตเวิร์คภายในมีเพียงเครื่องเดียว
การทำ Split Horizon DNS เป็นงานที่ต้องใช้เวลามาก แต่จะประหยัดเวลาสำหรับการทำโครงการที่เกี่ยวกับ DNS ที่สำคัญโครงการต่อไป ในตอนนี้ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับ record ของ HINFO/TXT ให้มากและใช้หลักการให้ข้อมูลสู่ภายนอกให้น้อยที่สุดและให้ข้อมูลสู่ผู้ใช้ในสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ ไม่ควรตั้งชื่อของผู้ดูแลระบบว่า admin อาจเรียกใหม่ในชื่อ overlord
การ crack name server ของคุณเราได้แก้ไขช่องโหว่ที่เกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่มากเกินไปแล้ว อย่างไรก็ตาม DNS server ที่ใช้ BIND เองยังมีช่องโหว่ทางด้านการรักษาความปลอดภัยอยู่เรื่อย ๆ เช่น BIND เวอร์ชัน 8.2 - 8.22 ที่ยังไม่ได้แก้ไขช่องโหว่มีช่องโหว่ที่สามารถใช้เพื่อให้ได้สิทธิ์ของ root จากเซิร์ฟเวอร์อื่นได้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
script kiddies (ผู้ซึ่งนำสคริปต์ที่ผู้อื่นเขียนขึ้นมาใช้เพื่อการบุกรุกสู่ระบบ) จำนวนมากจะสแกนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ตจำนวนมากเพื่อหา BIND เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ ดังต่อไปนี้:
[jay@max bog]$ dig @dumb.target.jay dumb.target.jaytxt chaos version.bind; <<>> DiG 8.2 <<>> @dumb.target.jay dumb.target.jaytxt chaos version.bind; (1 server found);; res options: init recurs defnam dnsrch;; got answer:;; ->>HEADER<<- opcode: QUERY, status: NOERROR, id: 6;; flags: qr aa rd ra; QUERY: 1, ANSWER: 1,AUTHORITY: 0, ADDITIONAL: 0;; QUERY SECTION:;; version.bind, type = TXT, class = CHAOS;; ANSWER SECTION:VERSION.BIND. 0S CHAOS TXT "8.2.2";; Total query time: 1 msec;; FROM: max.fictional.attacker toSERVER: dumb.target.jay 192.168.1.85;; WHEN: Mon Oct 20 18:30:05 2000;; MSG SIZE sent: 30 rcvd: 63[jay@max bog]$
จะเห็นได้ว่า BIND บอกเวอร์ชันและมันก็มีช่องโหว่เสียด้วย มันมีผลเสียอย่างร้ายแรงที่ script kiddie จงใจสแกนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ตเพื่อหา BIND เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ พวกเขาอาจดาวน์โหลด perl script ที่ยาวเพียงสามบรรทัดเพื่อที่จะสแกนหา name server ที่มีช่องโหว่นี้ พวกเขาสามารถหาเซิร์ฟเวอร์ของเราเจอได้ นอกจากนี้ ถ้า cracker ที่มีความชำนาญกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของเรา เขาต้องการรู้ว่าเรามีname server ที่มีช่องโหว่หรือไม่ เขาสามารถหาข้อมูลนั้นโดยไม่ให้ผู้ดูแลระบบรู้ได้ด้วย ปกปิดเวอร์ชันของ BIND ของ cracker และสคริปต์ของพวกเขา:แก้ไขช่องโหว่ รันโดยยูสเซอร์ที่ไม่ใช่ rootโชคดีที่เราสามารถเปลี่ยนข้อความที่มากับ name server ได้โดยเพิ่มเติมลงไปในไฟล์ /etc/named.confในส่วนของ options ดังต่อไปนี้:
options {directory "/var/named";allow-transfer { 192.168.1.30; 10.1.1.4; };allow-query { 192.168.1.0/24; };version "Go away!";};
คุณอาจเปลี่ยนเป็นข้อความเป็น "10.0.0" เพื่อให้ดูก้าวร้าวน้อยลง หรือ "4.9.7" เพื่อให้เขาเลิกยุ่งกับเซิร์ฟเวอร์
การใช้มาตรการนี้คุณควรแก้ไขช่องโหว่ของ name server ของคุณอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะทำเช่นนี้แล้วแต่คุณก็อาจมีช่องโหว่อีกคือ DNS server ส่วนมากจะรันโดย root ซึ่งเปิดให้มีการได้สิทธิ์ของ rootจากเซิร์ฟเวอร์อื่นในระหว่างช่วงเวลาที่มีการค้นพบช่องโหว่และการแก้ไขช่องโหว่ ในระหว่างนี้สิ่งเดียวที่ช่วยได้คือทำให้การรักษาความปลอดภัยของ name server เข้มแข็งยิ่งขึ้น อับดับแรกที่ต้องทำซึ่งทำได้ง่ายคือให้BIND รันโดยยูสเซอร์อื่น ถ้าไม่ใช่ root ที่รัน BIND คุณสามารถหาได้โดยพิมพ์ดังต่อไปนี้:
[jay@max jay]$ ps -ef grep namednamed 9179 1 0 12:15 ? 00:00:00 named -u named
คอลัมน์แรกแสดงชื่อยูสเซอร์ที่รัน BIND เครื่องที่ผมใช้ทดสอบคือ Mandrake 7.1 โปรแกรม namedของ BIND รันโดยยูสเซอร์ named ถ้าคุณใช้ระบบปฏิบัติการที่แสดงให้เห็นว่า named รันโดย rootให้หาสคริปต์เริ่มต้น(init script) ที่เริ่มการทำงานของ named แล้วจึงแก้ไขให้ใช้ flag -u และ -g ดังต่อไปนี้:
/usr/sbin/named -u dns_user -g dns_group
คุณจำเป็นต้องสร้างยูสเซอร์ dns_user และกลุ่ม dns_group โดยคุณจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ที่ต้องการMandrakeSoft ใช้ยูสเซอร์ named และกลุ่ม root ส่วนผมเลือกเอายูสเซอร์ bob และกลุ่ม lessเพื่อไม่ให้ยูสเซอร์อื่นและcracker สงสัย ในกรณีใด ๆ ก็ตามให้ใช้ทั้งสอง flag นอกจากนี้ยูสเซอร์ที่สร้างมานี้ควรปิดการใช้งานจาก shell เช่น /bin/false และควรมี home directory เป็น /var/named หรืออะไรก็ตามที่เป็นไดเร็กทอรีของ DNS
ขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้จะป้องกันจากการได้สิทธิ์ของ root จากเซิร์ฟเวอร์อื่น (remote root exploit) ในname server ที่ใช้ BIND 8.2 - 8.22 ซึ่งป้องกันได้เพียงไม่ไห้ script kiddie ใช้ shell ได้ และพวกเขาจำเป็นต้องพยายามเพิ่มเติมเพื่อให้ได้สิทธิ์ของ root วิธีนี้สามารถหยุดการโจมตีจาก script kiddie เท่านั้น ถ้าป้องกันจากการโจมตีขั้นสูงแล้วต้องใช้อีกวิธีหนึ่ง
เทคนิคขั้นสูง: chroot the server
เราสามารถตีวงเซิร์ฟเวอร์ให้รันอยู่ในสภาวะ chroot ได้ซึ่งจะจำกัดให้เซิร์ฟเวอร์สามารถเข้าถึงได้เพียงส่วนย่อยของ filesystem เท่านั้น มักจะเป็น /home/dns หรือ /chroot/dns โมดูล DNS.pm ของBastille Linux สามารถ chroot DNS server จากระบบของ Red Hat 6.0-6.2 ซึ่งรายละเอียดอยู่ในเว็ปไซต์ของผู้เขียน http://www.bastille-linux.org/jay มีรายละเอียดเกี่ยวกับ chroot ที่นั่นด้วย
วันพุธ, สิงหาคม 30, 2549
"ทำอย่างไร....ห่างไกลสมองเสื่อม"
สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญยิ่งของเรา ว่ากันว่าการทำงานของสมองนั้นมีความสลับซับซ้อนและสมบูรณ์แบบยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์เสียอีก และหน้าที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือการบันทึกความจำ ความจำ เริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจากสิ่งเร้าทั้งหลาย และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อเก็บบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องและสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งความทรงจำแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ความจำทันที(immediate memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที
2. ความจำระยะสั้น(short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน
3. ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้
เมื่ออายุมากขึ้นสมองก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น เช่น อาการหลงลืมเป็นครั้งคราว ซึ่งเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ากระบวนการความจำในร่างกายมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง อย่างไรก็ตาม "ความเครียด" ถือได้ว่าเป็นศัตรูร้ายของอาการหลงลืมเช่นกัน เพราะยิ่งเครียดมากเท่าไหร่อาการหลงลืมก็จะทวีคูณขึ้นเท่านั้น ส่วนภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักมีอาการหลงลืม นึกคำพูดไม่ออก หลงทาง และบุคลิกภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเดิม ซี่งสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมก็คือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการคล้ายสมองเสื่อม
1. รับประทานยาหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน และยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อสมอง
2. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
3. ได้รับอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ
4. มีอาการเครียดเป็นประจำ และมีอาการซึมเศร้า
5. มีอาการของโรคต่อมไธรอยด์
6. เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลีกเลี่ยงอาการสมองเสื่อมทำได้ดังนี้
1. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด
2. ระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาสุ่มสี่สุ่มห้า ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้งและควรนำยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน
3. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ
4. สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะอาจเกิดการหกล้มในห้องน้ำได้
5. เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง
6. หมั่นไปตรวจความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้
7. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุจะต้องระมัดระวังไม่ให้หักโหมจนเกินไป แต่เพราะแทนที่จะเกิดประโยชน์อาจทำให้เกิดโทษได้
8. หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร
9. เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที เทคนิคและวิธีพัฒนาความจำ
1. พยายามตั้งสมาธิเมื่อปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
2. พยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งหนึ่งสิ่งใด และถ้าภาพประทับใจก็ยิ่งทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น
3. เลือกจำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
4. ควรมีสมุดบันทึกพกติดตัวตลอดเวลา เพื่อใช้จดข้อมูลต่าง ๆ กันลืม
5. พยายามจัดหมวดหมู่สิ่งของไว้เป็นพวก ๆ เก็บเป็นที่เป็นทางเพื่อความสะดวกในการใช้งานและไม่สับสน
6. ทำทุกเรื่องด้วยสติ และรอบคอบ ถ้าไม่แน่ใจก็ตรวจทานอีกครั้งเพื่อป้องกันความผิดพลาด
7. พยายามลดความตึงเครียด เช่น หางานอดิเรกทำในยามว่าง, ออกกำลังกาย, นั่งสมาธิ เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมเป็นประจำก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะอาการหลงลืมเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุและท่านอาจไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมก็ได้ ส่วนผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อม หรือสงสัยว่ากำลังจะมีอาการก็ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนที่สุดเพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที
1. ความจำทันที(immediate memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที
2. ความจำระยะสั้น(short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน
3. ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้
เมื่ออายุมากขึ้นสมองก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น เช่น อาการหลงลืมเป็นครั้งคราว ซึ่งเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ากระบวนการความจำในร่างกายมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง อย่างไรก็ตาม "ความเครียด" ถือได้ว่าเป็นศัตรูร้ายของอาการหลงลืมเช่นกัน เพราะยิ่งเครียดมากเท่าไหร่อาการหลงลืมก็จะทวีคูณขึ้นเท่านั้น ส่วนภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักมีอาการหลงลืม นึกคำพูดไม่ออก หลงทาง และบุคลิกภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเดิม ซี่งสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมก็คือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการคล้ายสมองเสื่อม
1. รับประทานยาหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน และยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อสมอง
2. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
3. ได้รับอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ
4. มีอาการเครียดเป็นประจำ และมีอาการซึมเศร้า
5. มีอาการของโรคต่อมไธรอยด์
6. เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลีกเลี่ยงอาการสมองเสื่อมทำได้ดังนี้
1. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด
2. ระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาสุ่มสี่สุ่มห้า ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้งและควรนำยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน
3. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ
4. สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะอาจเกิดการหกล้มในห้องน้ำได้
5. เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง
6. หมั่นไปตรวจความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้
7. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุจะต้องระมัดระวังไม่ให้หักโหมจนเกินไป แต่เพราะแทนที่จะเกิดประโยชน์อาจทำให้เกิดโทษได้
8. หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร
9. เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที เทคนิคและวิธีพัฒนาความจำ
1. พยายามตั้งสมาธิเมื่อปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
2. พยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งหนึ่งสิ่งใด และถ้าภาพประทับใจก็ยิ่งทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น
3. เลือกจำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
4. ควรมีสมุดบันทึกพกติดตัวตลอดเวลา เพื่อใช้จดข้อมูลต่าง ๆ กันลืม
5. พยายามจัดหมวดหมู่สิ่งของไว้เป็นพวก ๆ เก็บเป็นที่เป็นทางเพื่อความสะดวกในการใช้งานและไม่สับสน
6. ทำทุกเรื่องด้วยสติ และรอบคอบ ถ้าไม่แน่ใจก็ตรวจทานอีกครั้งเพื่อป้องกันความผิดพลาด
7. พยายามลดความตึงเครียด เช่น หางานอดิเรกทำในยามว่าง, ออกกำลังกาย, นั่งสมาธิ เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมเป็นประจำก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะอาการหลงลืมเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุและท่านอาจไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมก็ได้ ส่วนผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อม หรือสงสัยว่ากำลังจะมีอาการก็ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนที่สุดเพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที
"ชอบ...ไม่ชอบ"
ชอบ
ทั้งที่ฉันไม่ชอบฟังเพลงร็อก
แต่ได้ยินทีไรก็หยุดฟังทุกที คง
เพราะเป็นเพลงทีเธอชอบ และ
เพลงร็อกก็เพราะไปอีกแบบ
ทั้งที่ไม่ชอบกินข้าวผัด แต่
เห็นทีไรก็รู้สึกว่ามันอร่อยทุกที คง
เพราะเป็นข้าวผัดที่เธอชอบ....คราว
หน้าจะลองกินบ้าง
ทั้งที่ไม่ชอบดูหนังสงคราม
แต่ก็ดูมาแล้วหลายเรื่อง คงเพราะ
เป็นหนังที่เธอชอบ.....ก็สนุกดีเหมือนกัน”
….ไม่ชอบ”
....ทั้งที่ผมชอบฟังเพลงร็อก
แต่เธอเคยบอกว่าหนวกหู....ไม่เป็นไร
เอาไว้ฟังที่บ้านก็ได้
ทั้งที่ชอบกินข้าวผัด...แต่ก็
จะสั่งอาหารอยางอื่น.....เดี๋ยวเธอจะ
แย่งกินไม่ได้
ทั้งที่ชอบดูหนังสงคราม แต่
ก็จะชวเธอดูหนังรักโรแมนติก....
เดี๋ยวเธอจะหาว่าชอบความรุนแรง.....
“ความรักไม่ได้ต้องการความเหมือน หากแต่เป็นความต่างที่ปรับเข้าหากันได้
ทั้งที่ฉันไม่ชอบฟังเพลงร็อก
แต่ได้ยินทีไรก็หยุดฟังทุกที คง
เพราะเป็นเพลงทีเธอชอบ และ
เพลงร็อกก็เพราะไปอีกแบบ
ทั้งที่ไม่ชอบกินข้าวผัด แต่
เห็นทีไรก็รู้สึกว่ามันอร่อยทุกที คง
เพราะเป็นข้าวผัดที่เธอชอบ....คราว
หน้าจะลองกินบ้าง
ทั้งที่ไม่ชอบดูหนังสงคราม
แต่ก็ดูมาแล้วหลายเรื่อง คงเพราะ
เป็นหนังที่เธอชอบ.....ก็สนุกดีเหมือนกัน”
….ไม่ชอบ”
....ทั้งที่ผมชอบฟังเพลงร็อก
แต่เธอเคยบอกว่าหนวกหู....ไม่เป็นไร
เอาไว้ฟังที่บ้านก็ได้
ทั้งที่ชอบกินข้าวผัด...แต่ก็
จะสั่งอาหารอยางอื่น.....เดี๋ยวเธอจะ
แย่งกินไม่ได้
ทั้งที่ชอบดูหนังสงคราม แต่
ก็จะชวเธอดูหนังรักโรแมนติก....
เดี๋ยวเธอจะหาว่าชอบความรุนแรง.....
“ความรักไม่ได้ต้องการความเหมือน หากแต่เป็นความต่างที่ปรับเข้าหากันได้
"ขอโทษนะ ไม่เป็นไร"
ขอโทษนะ ไม่เป็นไร
ขอโทษนะ .. ที่ใจร้อนเกินไป
ไม่เป็นไร...ผมเองก็ใจเย็นเกินไป
ขอโทษนะ....ที่เอาแต่ใจตัวเอง
ไม่เป็นไร.....ผมจะได้หัดเอาใจคนอื่นบ้าง
ขอโทษนะ.....ที่ไม่ค่อยเอาใจคุณ
ไม่เป็นไร......นั่นมันหน้าที่ของผม
ขอโทษนะ......ที่ไม่ค่อยแคร์ความรู้สึกของคุณ
ไม่เป็นไร.......ผมไม่ใช่คนขี้น้อยอยู่แล้ว
ขอโทษนะ......ที่ขี้งอนเกินไป
ไม่เป็นไร...ผมจะรู้ว่าตัวเองมีค่าให้คุณโกรธ
ขอโทษนะ....ที่ไมใช่คนอ่อนหวาน
ไม่เป็นไร......ผมหวานเองได้
ขอโทษนะ.....ที่ชอบวุ่นวายกับชีวิตคุณ
ไม่เป็นไร.....ชีวิตผมก็เหมือนคุณนั่นแหละ
ขอโทษนะ......ที่ชอบห้ามคุณทำนั่นทำนี่
ไม่เป็นไร.......ผมรู้ว่าคุณเป็นห่วง
ขอโทษนะ......ที่ไม่รู้จักโตซะที
ไม่เป็นไร.....ผมจะได้ดูแลคุณได้เต็มที่
ขอโทษนะ....ที่ไม่ค่อยเชื่อฟังคุณ
ไม่เป็นไร......ผมชอบคนดื้อ
ขอโทษนะ....
ไม่เป็นไร….
ขอโทษนะ…
ไม่เป้นไร.....
.........ขอบคุณ ที่ให้อภัยและยอมรับกันเสมอ
.......ขอบคุณ ที่รักผม
ขอโทษนะ .. ที่ใจร้อนเกินไป
ไม่เป็นไร...ผมเองก็ใจเย็นเกินไป
ขอโทษนะ....ที่เอาแต่ใจตัวเอง
ไม่เป็นไร.....ผมจะได้หัดเอาใจคนอื่นบ้าง
ขอโทษนะ.....ที่ไม่ค่อยเอาใจคุณ
ไม่เป็นไร......นั่นมันหน้าที่ของผม
ขอโทษนะ......ที่ไม่ค่อยแคร์ความรู้สึกของคุณ
ไม่เป็นไร.......ผมไม่ใช่คนขี้น้อยอยู่แล้ว
ขอโทษนะ......ที่ขี้งอนเกินไป
ไม่เป็นไร...ผมจะรู้ว่าตัวเองมีค่าให้คุณโกรธ
ขอโทษนะ....ที่ไมใช่คนอ่อนหวาน
ไม่เป็นไร......ผมหวานเองได้
ขอโทษนะ.....ที่ชอบวุ่นวายกับชีวิตคุณ
ไม่เป็นไร.....ชีวิตผมก็เหมือนคุณนั่นแหละ
ขอโทษนะ......ที่ชอบห้ามคุณทำนั่นทำนี่
ไม่เป็นไร.......ผมรู้ว่าคุณเป็นห่วง
ขอโทษนะ......ที่ไม่รู้จักโตซะที
ไม่เป็นไร.....ผมจะได้ดูแลคุณได้เต็มที่
ขอโทษนะ....ที่ไม่ค่อยเชื่อฟังคุณ
ไม่เป็นไร......ผมชอบคนดื้อ
ขอโทษนะ....
ไม่เป็นไร….
ขอโทษนะ…
ไม่เป้นไร.....
.........ขอบคุณ ที่ให้อภัยและยอมรับกันเสมอ
.......ขอบคุณ ที่รักผม
Temporary Internet Files
Temporary Internet Filesคุณทราบหรือไม่ว่า ทุกครั้งที่มีการใช้งาน Internet โดยเข้าไปยัง web site ต่างๆ คอมพิวเตอร์ของคุณจะมีการเก็บข้อมูลต่างๆ ทุกอย่างใน web page นั้นๆ มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูล รูปภาพที่เห็นบนหน้าจอ และอื่นๆ อีก รวมทั้งอาจนำมาซึ่ง virus ต่างๆ ก็เป็นไปได้ (สำหรับ virus อาจแก้ไขได้โดยการติดตั้งโปรแกรม anti-virus ที่สามารถตรวจสอบ virus ก่อนการเข้า web) ไฟล์ต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บในโฟลเดอร์ที่ชื่อว่า Temporary Internet Files ซึ่งคุณสามารถเข้าไปลบไฟล์เหล่านี้ได้ โดยผ่านคำสั่งในเมนูของโปรแกรม Internet Explorer ให้คลิกที่เมนู Tools คลิกเลือก Intenet Options
จากนั้นคลิกที่ปุม Delete Files
ข้อดีของการลบไฟล์
เพิ่มพื้นที่ใน Harddisk
ลดปัญหาไฟล์ของ Virus Worm
ลดปัญหาไฟล์ของ Worm, Trojan
ส่วนข้อเสียอย่างหนึ่ง คือ ทำให้เสียเวลาในการ load ข้อมูลใหม่ทุกขึ้นที่มีการเข้า web เดิมๆ
จากนั้นคลิกที่ปุม Delete Files
ข้อดีของการลบไฟล์
เพิ่มพื้นที่ใน Harddisk
ลดปัญหาไฟล์ของ Virus Worm
ลดปัญหาไฟล์ของ Worm, Trojan
ส่วนข้อเสียอย่างหนึ่ง คือ ทำให้เสียเวลาในการ load ข้อมูลใหม่ทุกขึ้นที่มีการเข้า web เดิมๆ
"a ธรรม"
วุ่นจัง เมื่อตอนนั่งรถเมล์..... อยากสึก
น้องเณรเพิ่งกลับจากเชียงใหม่ครับ ก่อนหน้าที่จะไป ช่วงนั้นยังอยู่ในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ได้สามสี่วัน ไม่ต้องนึกเลยว่าผู้คนจากต่างจังหวัดที่พากันกันทยอยกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ จะเยอะขนาดไหน และกว่าที่น้องเณรจะไปยืนเบียดญาติโยมบนรถได้ ก็เล่นเอาเหงื่อตกไปหลายตุ่มมังกร
เหตุการณ์คราวนี้ทำให้คิดถึงเหตุการณ์ครั้งที่ขึ้นไปกรุงเทพฯกับเพื่อน หลังจากลงที่หมอชิต ก็ต้องนั่งรถเมล์ต่ออีกทอดหนึ่ง อีตอนรอรถตรงป้ายรถเมลืขอบอกว่า คนเยอะมากๆครับ เยอะจนวาดภาพไม่ออกว่าที่ยืนๆกันอยู่นี่ จะขึ้นไปยัดบนรถความยาวไม่กี่เมตรได้ยังไง
พอรถจอดเทียบไหล่ถนนเท่านั้นแหละ ผู้คนก็พากันกรูขึ้นไปยืนยัดอัดกันเป็นปลากระป่อง น้องเณรขึ้นเป็นคนสุดท้าย เหลียวซ้ายแลขวาไม่มีที่ว่างเอาก็เอา ยืนก็ยืน พยายามทำหน้าตาให้ดูน่าสงสาร บีบน้ำตาก็แล้ว ไม่เห็นใครจะนิมนต์ให้นั่ง ทำอะไรไม่ถูกก็เลยถอนหายใจแบบปลงๆ ในชะตากรรมวันนั้น ถ้าใครสังเกตอยู่บ้างก็จะเห็นเณรน้อยรูปหนึ่งแบกบาตรและกลดยืนห้อยโหนรถเมล์ไปตลอดทาง รู้สึกแย่เอามากๆ ครับ ความอายปนหงุดหงิดผุดขึ้นมาราวกับตึกในเมืองกรุง ใจร่ำร้องอยากจะสึกท่าเดียว แต่คิดไปคิดมา ถ้าจะสึกเพราะไม่อยากโหนรถเมล์ก็ใช่ที่ ก็เลยระงับไอ้ความรู้สึกแย่ๆ เอาไว้ไปตลอดทาง
แน่ล่ะ ปัญหาระหว่างพระกับสังคมเทคโนโลยีที่ซับซ้อน มันมีมากกว่าเรื่องขึ้นรถเมล์แล้วแย่งที่ไม่ทัน เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง พระก็ต้องปรับตัวเพื่อที่จะทำให้ตัวเองอยู่ใต้ในสังคมนั้นๆ การปรับตัวไม่ได้หมายถึงการวิ่งตามเพื่อที่จะทำให้ตัวเองทันสมัยขึ้นหรือ มี และ เป็น อะไรเหมือนสังคมฆราวาส แต่การปรับตัวอาจทำให้วิถีชีวิตข้อวัตรปฏิบัติเปลี่ยนไปอีกรูปแบบหนึ่ง
ไม่เพียงบุคคลเท่านั้นที่ต้องปรับตัว คำสอนก็ต้องมีการตีความให้เข้ากับสังคมที่ซับซ้อนนี้ด้วย อย่างกรณีเรื่องศีลนั้น การที่ก๊อบปี้ไรเตอรืคิดคำพูดให้สวยหรู หรือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวมาประกอบกับสินค้านั้น ถือว่าผิดศีลข้อมุสาฯหรือไม่ อีกทั้งยังเรื่องการให้ทานในสังคมใหม่นี่ล่ะ เช่น ถวายกุฏิที่พัก จะได้อานิสงส์คือ ที่อยู่อาศัย ถวายความสะดวกสบาย ก็เข้าใจได้ว่าจะได้รถรายานพาหนะ แล้วถ้าถวายโทรศัพท์ล่ะจะได้อานิสงส์อะไรพยายามนั่งคิดกับพระอาจารย์ก็แล้ว เปิดดูหนังสืออานิสงส์ร้อยแปดก็แล้ว ไม่เห็นมีบอกไว้ สุดท้ายเห็นตรงกันว่า น่าจะได้หูทิพย์ล่ะมั้ง คิดเล่นๆ ดอกครับ
เมื่อไม่นานมานี้น้องเณรคุยกับพี่โยมพี่ อุดมคติ ถึงเรื่องพระกับท่าทีในการใช้สอยเทคโนโลยี โยมพี่เขาพูดว่า ไม่ชอบพระมีมือถือ มันยังไงไม่รู้มันดูไม่ค่อยดี และในขณะนั้นเอง เสียงโทรศัพท์ของน้องเณรก็ดังขึ้นมาพอดี ตายล่ะหว่า........ยกมือปาดเหงื่อที่หน้าผาก โทรมาอะไรตอนนี้ว้า โยมพี่เขาเกลียดขี้หน้าหน้าแน่ๆ เลย น้องเณรจะทำอะไรได้ครับ นอกจากส่งยิ้มแฮ่ๆ ให้โยมพี่เขาเท่านั้นเอง น้องเณรพูดคุยต่ออีกสองสามเรื่อง จึงเอ่ยปากลากลับด้วยความกระดากอาย
การที่โยมพี่อุดมคติไม่เห็นด้วย จนกระทั่งพานหาเรื่องหย่าขาดจากการเป็นชาวพุทธ เพียงเพราะเห็นภาพพระโทรศัพท์ เดินเลือกซื้อของในห้างหรือนั่งหน้าจอคอมฯ ก็เข้าใจได้ว่า เพราะภาพเหล่านี้อาจยังไม่ชินตาของโยมพี่เขานั่นเอง แล้วภาพที่ชินตาเกี่ยวกับพระในความทรงจำเก่าๆของโยมพี่ อุดมคติและคนทั่วไปเป็นแบบไหนล่ะ ก็ประมาณว่าเป็นพระนักปฏิบัติ แบกบาตรและกลดเดินธุดงค์ในป่าเขาลำเนาไพร เผชิญกับสัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจพระธุดงค์รูปนี้ก็ทำให้เหล่าผีปีศาจสยบด้วยคาถาอาคม.......เอาเข้าไป ถามว่าภาพเหล่านี้มาจากไหน ตอบทันทีเลยว่า ก็มาจากนิยาย และละครหลังข่าวนั่นไง
ภาพความทรงจำเกี่ยวกับพระที่ว่ามาล้วนเป็นภาพใน อุดมคติ ที่หาดูไม่ได้ง่ายๆ เลยในปัจจุบัน (นอกจากละครหลังข่าวสองทุ่มภาพเหล่านี้เกาะติดแน่นในตวามทรงจำของชาวพุทธมานานกว่าหลายปี ยากที่จะแกะออกให้เห็นความเป็นจริง น้องเณรอยากให้ทุกคนมองมาตรงนี้ครับมองมาดูบริบทางสังคมให้เห็นถึงโครงสร้างและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ แล้วจะรู้ว่า ทำไมน้องเณรต้องมีมือถือ ทำไมน้องเณรต้องโหนรถเมล์ ทำไมน้องเณรอยากสึก............
น้องเณรเพิ่งกลับจากเชียงใหม่ครับ ก่อนหน้าที่จะไป ช่วงนั้นยังอยู่ในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ได้สามสี่วัน ไม่ต้องนึกเลยว่าผู้คนจากต่างจังหวัดที่พากันกันทยอยกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ จะเยอะขนาดไหน และกว่าที่น้องเณรจะไปยืนเบียดญาติโยมบนรถได้ ก็เล่นเอาเหงื่อตกไปหลายตุ่มมังกร
เหตุการณ์คราวนี้ทำให้คิดถึงเหตุการณ์ครั้งที่ขึ้นไปกรุงเทพฯกับเพื่อน หลังจากลงที่หมอชิต ก็ต้องนั่งรถเมล์ต่ออีกทอดหนึ่ง อีตอนรอรถตรงป้ายรถเมลืขอบอกว่า คนเยอะมากๆครับ เยอะจนวาดภาพไม่ออกว่าที่ยืนๆกันอยู่นี่ จะขึ้นไปยัดบนรถความยาวไม่กี่เมตรได้ยังไง
พอรถจอดเทียบไหล่ถนนเท่านั้นแหละ ผู้คนก็พากันกรูขึ้นไปยืนยัดอัดกันเป็นปลากระป่อง น้องเณรขึ้นเป็นคนสุดท้าย เหลียวซ้ายแลขวาไม่มีที่ว่างเอาก็เอา ยืนก็ยืน พยายามทำหน้าตาให้ดูน่าสงสาร บีบน้ำตาก็แล้ว ไม่เห็นใครจะนิมนต์ให้นั่ง ทำอะไรไม่ถูกก็เลยถอนหายใจแบบปลงๆ ในชะตากรรมวันนั้น ถ้าใครสังเกตอยู่บ้างก็จะเห็นเณรน้อยรูปหนึ่งแบกบาตรและกลดยืนห้อยโหนรถเมล์ไปตลอดทาง รู้สึกแย่เอามากๆ ครับ ความอายปนหงุดหงิดผุดขึ้นมาราวกับตึกในเมืองกรุง ใจร่ำร้องอยากจะสึกท่าเดียว แต่คิดไปคิดมา ถ้าจะสึกเพราะไม่อยากโหนรถเมล์ก็ใช่ที่ ก็เลยระงับไอ้ความรู้สึกแย่ๆ เอาไว้ไปตลอดทาง
แน่ล่ะ ปัญหาระหว่างพระกับสังคมเทคโนโลยีที่ซับซ้อน มันมีมากกว่าเรื่องขึ้นรถเมล์แล้วแย่งที่ไม่ทัน เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง พระก็ต้องปรับตัวเพื่อที่จะทำให้ตัวเองอยู่ใต้ในสังคมนั้นๆ การปรับตัวไม่ได้หมายถึงการวิ่งตามเพื่อที่จะทำให้ตัวเองทันสมัยขึ้นหรือ มี และ เป็น อะไรเหมือนสังคมฆราวาส แต่การปรับตัวอาจทำให้วิถีชีวิตข้อวัตรปฏิบัติเปลี่ยนไปอีกรูปแบบหนึ่ง
ไม่เพียงบุคคลเท่านั้นที่ต้องปรับตัว คำสอนก็ต้องมีการตีความให้เข้ากับสังคมที่ซับซ้อนนี้ด้วย อย่างกรณีเรื่องศีลนั้น การที่ก๊อบปี้ไรเตอรืคิดคำพูดให้สวยหรู หรือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวมาประกอบกับสินค้านั้น ถือว่าผิดศีลข้อมุสาฯหรือไม่ อีกทั้งยังเรื่องการให้ทานในสังคมใหม่นี่ล่ะ เช่น ถวายกุฏิที่พัก จะได้อานิสงส์คือ ที่อยู่อาศัย ถวายความสะดวกสบาย ก็เข้าใจได้ว่าจะได้รถรายานพาหนะ แล้วถ้าถวายโทรศัพท์ล่ะจะได้อานิสงส์อะไรพยายามนั่งคิดกับพระอาจารย์ก็แล้ว เปิดดูหนังสืออานิสงส์ร้อยแปดก็แล้ว ไม่เห็นมีบอกไว้ สุดท้ายเห็นตรงกันว่า น่าจะได้หูทิพย์ล่ะมั้ง คิดเล่นๆ ดอกครับ
เมื่อไม่นานมานี้น้องเณรคุยกับพี่โยมพี่ อุดมคติ ถึงเรื่องพระกับท่าทีในการใช้สอยเทคโนโลยี โยมพี่เขาพูดว่า ไม่ชอบพระมีมือถือ มันยังไงไม่รู้มันดูไม่ค่อยดี และในขณะนั้นเอง เสียงโทรศัพท์ของน้องเณรก็ดังขึ้นมาพอดี ตายล่ะหว่า........ยกมือปาดเหงื่อที่หน้าผาก โทรมาอะไรตอนนี้ว้า โยมพี่เขาเกลียดขี้หน้าหน้าแน่ๆ เลย น้องเณรจะทำอะไรได้ครับ นอกจากส่งยิ้มแฮ่ๆ ให้โยมพี่เขาเท่านั้นเอง น้องเณรพูดคุยต่ออีกสองสามเรื่อง จึงเอ่ยปากลากลับด้วยความกระดากอาย
การที่โยมพี่อุดมคติไม่เห็นด้วย จนกระทั่งพานหาเรื่องหย่าขาดจากการเป็นชาวพุทธ เพียงเพราะเห็นภาพพระโทรศัพท์ เดินเลือกซื้อของในห้างหรือนั่งหน้าจอคอมฯ ก็เข้าใจได้ว่า เพราะภาพเหล่านี้อาจยังไม่ชินตาของโยมพี่เขานั่นเอง แล้วภาพที่ชินตาเกี่ยวกับพระในความทรงจำเก่าๆของโยมพี่ อุดมคติและคนทั่วไปเป็นแบบไหนล่ะ ก็ประมาณว่าเป็นพระนักปฏิบัติ แบกบาตรและกลดเดินธุดงค์ในป่าเขาลำเนาไพร เผชิญกับสัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจพระธุดงค์รูปนี้ก็ทำให้เหล่าผีปีศาจสยบด้วยคาถาอาคม.......เอาเข้าไป ถามว่าภาพเหล่านี้มาจากไหน ตอบทันทีเลยว่า ก็มาจากนิยาย และละครหลังข่าวนั่นไง
ภาพความทรงจำเกี่ยวกับพระที่ว่ามาล้วนเป็นภาพใน อุดมคติ ที่หาดูไม่ได้ง่ายๆ เลยในปัจจุบัน (นอกจากละครหลังข่าวสองทุ่มภาพเหล่านี้เกาะติดแน่นในตวามทรงจำของชาวพุทธมานานกว่าหลายปี ยากที่จะแกะออกให้เห็นความเป็นจริง น้องเณรอยากให้ทุกคนมองมาตรงนี้ครับมองมาดูบริบทางสังคมให้เห็นถึงโครงสร้างและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ แล้วจะรู้ว่า ทำไมน้องเณรต้องมีมือถือ ทำไมน้องเณรต้องโหนรถเมล์ ทำไมน้องเณรอยากสึก............
สูตรสำเร็จคอนเสิร์ต
หนทางเดียวที่สามารถเห็นศิลปินที่ชื่นชอบแบบตัวเป็นๆ ในขณะที่ศิลปินจะได้เห็นลูกค้าผู้มีอุปการคุณกันแบบจะๆ....ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง คอนเสิร์ต สิ่งโยงใยสำคัญในการให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้พบกันอย่างเป็นธรรมแต่น่าแปลก สิ่งที่หลายๆ คอนเสิร์ตชอบทำ มันดูซ้ำๆกันเหมือนทีมงานเป็นลูกพี่ลูกน้อง หรือนี่อาจเป็นแผนแม่บท ที่บรรดาคนจัดคอนเสิร์ตต้องยึดถือปฏิบัติ ในทางกลับ....คอนเสิร์ตประเทศเราก็มักจะมีประเพณีนิยมคล้ายๆกันทุกงาน
มาเลย ยุคนี้ควรบันเทิงอย่างรู้เท่าทัน ดูสิว่าสูตรสำเร็จคอนเสิร์ตในประเทศเรามีอะไรบ้าง คิดซะว่าเป็นคู่มือป้องกันการเงองะ
บัตรคอนเสิร์ต
ก่อนตัดสินใจจับจองบัตรควรใช้วิจารณญาณค่อนข้างมาก ในกรณีเป็นศิลปินระดับซูปเปอร์สตาร์ ก่อนเดินทางไปจองบัตรควรเตรียมอุปกรณ์ยังชีพให้พร้อม คิดซะว่าไปเที่ยวภูกระดึง ไม่น่าเชื่อ บางคอนเสิร์ตเปิดให้จองบัตรวันที่ 3 จะพบเห็นแฟนๆไปตั้งค่ายพักแรมยังสถานที่ขายบัตรตั้งแต่คืนที่2นั่งนอนกันอีเหละเขละขละ ออกแนวเหมือนรอรับบริจาคสิ่งของตอนน้ำท่วม กรณีนี้ใครที่มีโคตรเหง้าในหน่วยงานที่จัดคอนเสิร์ตมักได้เปรียบ เพราะก่อนนเปิดจำหน่วยให้บุคคลทั่วไป ส่วนใหญ่มักมีการเปิดให้จองบัตรภายใน แต่บางงานกว่าจะเหลือถึงมือบุคคลทั่วไปทำมาทำไปกลายเป็นงานเลี้ยงบริษัท ซื้อดูกันเองซะอย่างงั้น
ราคาบัตรก็สำคัญ เพราะมูลค่าของบัตรเป็นดัชนีบ่งบอกถึงอะไรได้หลายอย่าง เช่น...
ต่ำกว่า 100 บาท : หากเป็นคอนเสิร์ตร็อก เตรียมพบความบันเทิงในรูปแบบเสียงเพลงบวกบรรยากาศสงครามกลางเมือง สลับการสาธิตวิธีสลายม็อบโดย สห. ในกรณีบุตรหลานและครอบครัวต้องรับผิดชอบควรทำพินัยกรรมให้เรียบร้อยก่อนเข้าชม
200-300-500 : ราคาแรกมีไว้สำหรับแฟนเพลงสายตายาวเพราะจะได้ที่นั่ง (บางครั้งก็เป็นที่ยืน) ไกลสุดกู่ เห็นหลายคนเตรียมกล้องทางไกลมาจากบ้านทำท่าเหมือนจะมาดูนกป่าห้วยกระแจะบางรายออกแนวโชว์พาวฯแบกกล้องดูดาวมาซะอย่างงั้น เดือนร้อนทีมงานต้องคอยเตือนว่าคอนเสิร์ตไมใช่ดาวหางฮัลเลย์ ราคาถัดมาได้สิทธิ์อยู่ในแดนกลาง พอได้มีโอกาสทางสังคมบ้าง เหมาะมากๆ สำหรับคนที่มีบุคลิกไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เดินทางสายกลาง พ่อค้าคนกลาง ลูกคนกลาง ชายกลาง......โอ๊ย......พอแล้ว ส่วนบัตรราคาแพงที่สุดก็ใช่ว่าสบาย บางครั้งตลอดโชวาจได้เห็นแต่ตูดช่างภาพ อุตส่าห์ได้นั่งหน้า กลับต้องผจญกับตากล้องที่พร้อมจะยืนบังตลอดการแสดง หากทนรำคาญไม่ไหว แนะนำให้อาศัยช่วงชุลมุน แอบเบิ๊ดกะโหลกสัก 2-3 ครั้งหรือมากน้อยตามจำนวนความพอใจ
800-1000-1500 บาท:หาได้ยากยิ่งสำหรับคอนเสิร์ตไทยใครอยากใหเงินรั่วไหลไปต่างประเทศบ้างเชิญทางนี้......แต่แหม หากคิดในทางกลับกัน นี่อาจเป็นโอกาสเดียวที่จะได้เห็นนักร้องต่างประเทศตัวเป็นๆสักครั้งในชีวิตอาน่า....ราคาขนาดนี้ถือว่าไม่แพง แต่ไม่ต้องห่วงแฟนเพลงชาวไทยใช้เงินคุ้มค่าอยู่แล้ว เสียตังค์ขนาดนี้แล้วจะให้ชั้นดูแค่คอนเสิร์ตได้ยังไง ใช่แล้ว....ในกรณีคอนเสิร์ตต่างประเทศ ผู้จองบัตรจะได้รับสิทธิ์ในการไปรุมทึ้งศิลปินถึงสนามบิน จริงๆ แล้วหากยืนรอต้อนรับอย่างสงบก็จะสามารถพบเห็นตัวเป็นๆ ศิลปินคนโปรดได้ไม่ยากเผลอๆได้จับมือถือไม้อีกต่างหาก แต่น่าแปลกต้องเข้าไปทึ้งเหมือนอยากจะเข้าไปตบกระบาล คล้ายๆรุมประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาฆ่าขืมขืน ดูไม่ออกว่าชอบหรือเกลียดกันแน่ สังเกตจากสีหน้ากลัวตายของศิลปินตอนพยายามแหวกฝูงชน...... ปลื้มมากๆครับ ที่แฟนเพลงชาวไทยให้การต้อนรับขนาดนี้ แต่ในใจพูดว่า เกือบตายแล้วกู
2000-3000-5000 : ไฮโซครับท่าน บอกได้คำเดียวว่าไฮโซ บรรยากาศในงานอาจคล้ายๆ งานชุมนุมสโมสรโรตารี่ เปิดโอกาสให้ผู้ชมทุกท่านได้ประกวดนามสกุลตนเองอย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่บัตรราคาขนาดนี้ ด้านหน้างานมักมีค็อกเทลปาร์ตี้ให้จิ้มเคี้ยวก่อน (ค็อกเทลอาหารชนิดหนึ่งขนาดเท่าหยิบมือ ทุกชิ้นต้องมีไม้จิ้มฟันปักเอาไว้กินให้ตายยังไงก็ไม่อิ่ม และที่สำคัญมักดูไม่ออกว่ามีส่วนผสมของอะไร หากมาในรูปเครื่องดื่มมักมีสีประหลาดๆ ดื่มลำบากเพราะขอบแก้วมักมีดอกไม้ใบหญ้ามาเกาะห้อยรุงรังจนไม่รุ้จะเอาปากทาบไปตรงไหน และที่สำคัญชื่อต้องแปลกๆ บี52 ,มาร์กาเร็ตต้า,กามิกาเซ่,สิงคืโปร์สลิงค์,สกูรว์ไดร์ฟเวอร์ อันหลังสุดคาดว่าคงได้รับการผสมครั้งแรกในอู่ซ่อมรถ)น่าแปลก...... บัตรแพงโคตรๆ แต่ไม่ค่อยคุ้ม เพราะว่าไม่มีมนุษย์คนไหนยังชีพได้ด้วยการกินค็อกเทล มันอิ่มซะที่ไหน บัตรราคาขนาดนี้สมควรเลี้ยงโต๊ะจีน พอคอนเสิร์ตเริ่มแทนที่จะได้ปล่อยเนื้อปล่อยตัวมันสุดเหวี่ยงให้คุ้มค่าบัตร ทำไม่ได้อีก เดี๋ยวเสียลุค คอนเสิร์ตเกรดนี้บุคคลสำคัญของชาติมักมากันโดยมิได้นัดหมายอยู่แล้ว ครั้นจะเต้นแร้งเต้นกาเดี๋ยวจะเสื่อมเสียไปถึงอากง
ชั้นบอกแล้วไงยุคนี้มันต้องบันเทิงอย่างรู้เท่าทัน นี่แค่ขั้นตอนการจองบัตรเท่านั้น ยังมีเรื่อวที่คอคอมเสิร์ตต้องทำความเข้าใจอีกมากช่วงนี้หลายๆ คนทักว่าน้าเน็กทำไมไม่ยอมเขียนให้มันจบในตอนไปเลยจบคาๆ แบบนี้น่าอึดอัด นี่ยังทักแบบปรานี บางคนอาจด่าว่า ไอ้หนวด....แกพยายามจะเขียนมหากาพย์ ชาดา พงศาวดารหรือไง เอาให้จบแบบไม่ต้องรออ่านตอนนหน้าได้มั้ย.....ขี้เกียจรอ..... ชั้นก็เลยขอตอบไปอย่างสุภาพว่า ไปตายซะ จะได้ไม่ต้องรอ.....^-^
มาเลย ยุคนี้ควรบันเทิงอย่างรู้เท่าทัน ดูสิว่าสูตรสำเร็จคอนเสิร์ตในประเทศเรามีอะไรบ้าง คิดซะว่าเป็นคู่มือป้องกันการเงองะ
บัตรคอนเสิร์ต
ก่อนตัดสินใจจับจองบัตรควรใช้วิจารณญาณค่อนข้างมาก ในกรณีเป็นศิลปินระดับซูปเปอร์สตาร์ ก่อนเดินทางไปจองบัตรควรเตรียมอุปกรณ์ยังชีพให้พร้อม คิดซะว่าไปเที่ยวภูกระดึง ไม่น่าเชื่อ บางคอนเสิร์ตเปิดให้จองบัตรวันที่ 3 จะพบเห็นแฟนๆไปตั้งค่ายพักแรมยังสถานที่ขายบัตรตั้งแต่คืนที่2นั่งนอนกันอีเหละเขละขละ ออกแนวเหมือนรอรับบริจาคสิ่งของตอนน้ำท่วม กรณีนี้ใครที่มีโคตรเหง้าในหน่วยงานที่จัดคอนเสิร์ตมักได้เปรียบ เพราะก่อนนเปิดจำหน่วยให้บุคคลทั่วไป ส่วนใหญ่มักมีการเปิดให้จองบัตรภายใน แต่บางงานกว่าจะเหลือถึงมือบุคคลทั่วไปทำมาทำไปกลายเป็นงานเลี้ยงบริษัท ซื้อดูกันเองซะอย่างงั้น
ราคาบัตรก็สำคัญ เพราะมูลค่าของบัตรเป็นดัชนีบ่งบอกถึงอะไรได้หลายอย่าง เช่น...
ต่ำกว่า 100 บาท : หากเป็นคอนเสิร์ตร็อก เตรียมพบความบันเทิงในรูปแบบเสียงเพลงบวกบรรยากาศสงครามกลางเมือง สลับการสาธิตวิธีสลายม็อบโดย สห. ในกรณีบุตรหลานและครอบครัวต้องรับผิดชอบควรทำพินัยกรรมให้เรียบร้อยก่อนเข้าชม
200-300-500 : ราคาแรกมีไว้สำหรับแฟนเพลงสายตายาวเพราะจะได้ที่นั่ง (บางครั้งก็เป็นที่ยืน) ไกลสุดกู่ เห็นหลายคนเตรียมกล้องทางไกลมาจากบ้านทำท่าเหมือนจะมาดูนกป่าห้วยกระแจะบางรายออกแนวโชว์พาวฯแบกกล้องดูดาวมาซะอย่างงั้น เดือนร้อนทีมงานต้องคอยเตือนว่าคอนเสิร์ตไมใช่ดาวหางฮัลเลย์ ราคาถัดมาได้สิทธิ์อยู่ในแดนกลาง พอได้มีโอกาสทางสังคมบ้าง เหมาะมากๆ สำหรับคนที่มีบุคลิกไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เดินทางสายกลาง พ่อค้าคนกลาง ลูกคนกลาง ชายกลาง......โอ๊ย......พอแล้ว ส่วนบัตรราคาแพงที่สุดก็ใช่ว่าสบาย บางครั้งตลอดโชวาจได้เห็นแต่ตูดช่างภาพ อุตส่าห์ได้นั่งหน้า กลับต้องผจญกับตากล้องที่พร้อมจะยืนบังตลอดการแสดง หากทนรำคาญไม่ไหว แนะนำให้อาศัยช่วงชุลมุน แอบเบิ๊ดกะโหลกสัก 2-3 ครั้งหรือมากน้อยตามจำนวนความพอใจ
800-1000-1500 บาท:หาได้ยากยิ่งสำหรับคอนเสิร์ตไทยใครอยากใหเงินรั่วไหลไปต่างประเทศบ้างเชิญทางนี้......แต่แหม หากคิดในทางกลับกัน นี่อาจเป็นโอกาสเดียวที่จะได้เห็นนักร้องต่างประเทศตัวเป็นๆสักครั้งในชีวิตอาน่า....ราคาขนาดนี้ถือว่าไม่แพง แต่ไม่ต้องห่วงแฟนเพลงชาวไทยใช้เงินคุ้มค่าอยู่แล้ว เสียตังค์ขนาดนี้แล้วจะให้ชั้นดูแค่คอนเสิร์ตได้ยังไง ใช่แล้ว....ในกรณีคอนเสิร์ตต่างประเทศ ผู้จองบัตรจะได้รับสิทธิ์ในการไปรุมทึ้งศิลปินถึงสนามบิน จริงๆ แล้วหากยืนรอต้อนรับอย่างสงบก็จะสามารถพบเห็นตัวเป็นๆ ศิลปินคนโปรดได้ไม่ยากเผลอๆได้จับมือถือไม้อีกต่างหาก แต่น่าแปลกต้องเข้าไปทึ้งเหมือนอยากจะเข้าไปตบกระบาล คล้ายๆรุมประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาฆ่าขืมขืน ดูไม่ออกว่าชอบหรือเกลียดกันแน่ สังเกตจากสีหน้ากลัวตายของศิลปินตอนพยายามแหวกฝูงชน...... ปลื้มมากๆครับ ที่แฟนเพลงชาวไทยให้การต้อนรับขนาดนี้ แต่ในใจพูดว่า เกือบตายแล้วกู
2000-3000-5000 : ไฮโซครับท่าน บอกได้คำเดียวว่าไฮโซ บรรยากาศในงานอาจคล้ายๆ งานชุมนุมสโมสรโรตารี่ เปิดโอกาสให้ผู้ชมทุกท่านได้ประกวดนามสกุลตนเองอย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่บัตรราคาขนาดนี้ ด้านหน้างานมักมีค็อกเทลปาร์ตี้ให้จิ้มเคี้ยวก่อน (ค็อกเทลอาหารชนิดหนึ่งขนาดเท่าหยิบมือ ทุกชิ้นต้องมีไม้จิ้มฟันปักเอาไว้กินให้ตายยังไงก็ไม่อิ่ม และที่สำคัญมักดูไม่ออกว่ามีส่วนผสมของอะไร หากมาในรูปเครื่องดื่มมักมีสีประหลาดๆ ดื่มลำบากเพราะขอบแก้วมักมีดอกไม้ใบหญ้ามาเกาะห้อยรุงรังจนไม่รุ้จะเอาปากทาบไปตรงไหน และที่สำคัญชื่อต้องแปลกๆ บี52 ,มาร์กาเร็ตต้า,กามิกาเซ่,สิงคืโปร์สลิงค์,สกูรว์ไดร์ฟเวอร์ อันหลังสุดคาดว่าคงได้รับการผสมครั้งแรกในอู่ซ่อมรถ)น่าแปลก...... บัตรแพงโคตรๆ แต่ไม่ค่อยคุ้ม เพราะว่าไม่มีมนุษย์คนไหนยังชีพได้ด้วยการกินค็อกเทล มันอิ่มซะที่ไหน บัตรราคาขนาดนี้สมควรเลี้ยงโต๊ะจีน พอคอนเสิร์ตเริ่มแทนที่จะได้ปล่อยเนื้อปล่อยตัวมันสุดเหวี่ยงให้คุ้มค่าบัตร ทำไม่ได้อีก เดี๋ยวเสียลุค คอนเสิร์ตเกรดนี้บุคคลสำคัญของชาติมักมากันโดยมิได้นัดหมายอยู่แล้ว ครั้นจะเต้นแร้งเต้นกาเดี๋ยวจะเสื่อมเสียไปถึงอากง
ชั้นบอกแล้วไงยุคนี้มันต้องบันเทิงอย่างรู้เท่าทัน นี่แค่ขั้นตอนการจองบัตรเท่านั้น ยังมีเรื่อวที่คอคอมเสิร์ตต้องทำความเข้าใจอีกมากช่วงนี้หลายๆ คนทักว่าน้าเน็กทำไมไม่ยอมเขียนให้มันจบในตอนไปเลยจบคาๆ แบบนี้น่าอึดอัด นี่ยังทักแบบปรานี บางคนอาจด่าว่า ไอ้หนวด....แกพยายามจะเขียนมหากาพย์ ชาดา พงศาวดารหรือไง เอาให้จบแบบไม่ต้องรออ่านตอนนหน้าได้มั้ย.....ขี้เกียจรอ..... ชั้นก็เลยขอตอบไปอย่างสุภาพว่า ไปตายซะ จะได้ไม่ต้องรอ.....^-^
รู้จักกับ BIOS (Basic Input/Output System) กันไว้ก่อน
อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่เป็น ฮาร์ดแวร์ จะสามารถทำงานได้โดยต้องมี ซอฟท์แวร์ ประกอบด้วย สำหรับ BIOS (Basic Input/Out System) นี้จะเป็นที่เก็บ ซอฟท์แวร์ ขนาดเล็ก ๆ ไว้ในชิป ROM (เป็นแบบ EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) เพื่อใช้สำหรับทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผ่น floppy disks (FDD) หรือจาก hard disks (HDD) โดยที่ BIOS จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการ POST (Power-On Self Test) ก่อนที่จะเรียกใช้ ซอฟท์แวร์ ที่เป็น Operating System เช่น DOS หรือ Windows จาก FDD หรือ HDD เพื่อทำการเริ่มต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้ต่อไป
นอกจากนี้ BIOS ยังเป็นตัวกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะควบคุมการทำงานของ Keyboard, ควบคุมการทำงานของ Serial Port, Parallel Port, Video Card, Sound Card, HDD Controller และอื่น ๆ ในบางครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาหาก BIOS ไม่สามารถรู้จักและใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุใน BIOS ให้รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ นั้นด้วยที่เรียกกันว่า Flash BIOS นั่นเอง
สำหรับปัจจุบันนี้ BIOS จะเก็บไว้ใน EPROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ปกติจะใช้สำหรับอ่านได้อย่างเดียว (ส่วนใหญ่จะเป็นไอซีตัวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่บนเมนบอร์ด) โดยที่เราสามารถทำการ ลบข้อมูลและโปรแกรมข้อมูล ลงไปใหม่ได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการ Flash BIOS นั้น ๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของ BIOS EPROM และเมนบอร์ดด้วยนะครับว่าสามารถ Flash ได้หรือเปล่าโดยวิธีการง่าย ๆ คือตรวจสอบจากเวปไซต์ของผู้ผลิดเมนบอร์ดนั้น ๆ (โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดสำหรับ Pentium ขึ้นไปส่วนใหญ่จะทำการ Flash ได้แล้ว)
โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการตั้งค่า Configuration ที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งค่าเหล่านี้จะถูก BIOS เก็บไว้ในส่วนของ CMOS RAM ประมาณ 64 Bytes ซึ่ง CMOS นี้จะต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจาก แบตเตอรี่ เพื่อให้ค่าที่ตั้งไว้ไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของ CMOS นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้งานได้นานโดยไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆ
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องทำการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้เหมาะสมเช่น ค่าความเร็วของการอ่านข้อมูลจาก Memory การตั้ง Enabled หรือ Disabled อุปกรณ์ต่าง ๆ, ความเร็วของ PCI BUS, ชนิดของ Floppy Disk หรือ Hard Disk ที่ใช้งาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น SCSI และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วย
สรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
นอกจากนี้ BIOS ยังเป็นตัวกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะควบคุมการทำงานของ Keyboard, ควบคุมการทำงานของ Serial Port, Parallel Port, Video Card, Sound Card, HDD Controller และอื่น ๆ ในบางครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาหาก BIOS ไม่สามารถรู้จักและใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุใน BIOS ให้รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ นั้นด้วยที่เรียกกันว่า Flash BIOS นั่นเอง
สำหรับปัจจุบันนี้ BIOS จะเก็บไว้ใน EPROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ปกติจะใช้สำหรับอ่านได้อย่างเดียว (ส่วนใหญ่จะเป็นไอซีตัวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่บนเมนบอร์ด) โดยที่เราสามารถทำการ ลบข้อมูลและโปรแกรมข้อมูล ลงไปใหม่ได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการ Flash BIOS นั้น ๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของ BIOS EPROM และเมนบอร์ดด้วยนะครับว่าสามารถ Flash ได้หรือเปล่าโดยวิธีการง่าย ๆ คือตรวจสอบจากเวปไซต์ของผู้ผลิดเมนบอร์ดนั้น ๆ (โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดสำหรับ Pentium ขึ้นไปส่วนใหญ่จะทำการ Flash ได้แล้ว)
โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการตั้งค่า Configuration ที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งค่าเหล่านี้จะถูก BIOS เก็บไว้ในส่วนของ CMOS RAM ประมาณ 64 Bytes ซึ่ง CMOS นี้จะต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจาก แบตเตอรี่ เพื่อให้ค่าที่ตั้งไว้ไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของ CMOS นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้งานได้นานโดยไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆ
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องทำการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้เหมาะสมเช่น ค่าความเร็วของการอ่านข้อมูลจาก Memory การตั้ง Enabled หรือ Disabled อุปกรณ์ต่าง ๆ, ความเร็วของ PCI BUS, ชนิดของ Floppy Disk หรือ Hard Disk ที่ใช้งาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น SCSI และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วย
สรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
"ฝนตกวันอาทิตย์"
เดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมปีนี้อากาศร้อนและอบอ้าวมาก ผมพยายามไม่ขี่จักรยานไปไหนมาไหนหลัง 10 โมงเช้า เพราะแสงแดดที่สว่างเกินไป และร้อนเกินไป แทบทุกวันแสงแดดกำลังย่างต้นไม้ ย่างหลังคาบ้าน ย่างทุกคนให้สุกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังเที่ยงไม่ค่อยมีผู้คนตามท้องถนน เมืองเล็กๆ คล้ายว่าจะเป็นเมืองร้าง มันร้างเพราะแสงแดดและความร้อน คนเราอยู่บ้านเพราะรักบ้านและอยู่บ้านเพราะแดดร้อนด้วยเช่นกัน
คงมีผู้คนจำนวนมากภาวนาให้ฝนตก เพราะฝนตกแล้วแดดก็ไม่ค่อยออก และฝนจะทำให้โลกตรงที่ผม (หรือคุณ) อยู่เย็นขึ้น ไมใช่ต้นข้าวเท่านั้นที่คอยฝน แต่คุณก็คอยฝนอยู่เหมือนกัน บางวันมีแต่ลมแรงๆและฝุ่น แล้วก็มีฝนแค่นิดหน่อยซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของคน พืชและสัตว์ คนเรากับสายฝนมักเป็นเช่นนี้ ถ้าไม่รู้สึกว่าตกมากเกินไป ก็รู้สึกว่าตกน้อยเกินไป
เดือนเมษายนและต้นพฤษภาคม ผมกลายเป็นนักดูท้องฟ้า ดูว่าเมฆมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าเมฆมาก โอกาสที่จะมีฝนก็มากตาม หลายต่อหลายวันทีเดียวที่ท้องฟ้าว่างเมฆ ผมรู้สึกว่าในบางขณะ-เมฆและฝนสัมพันธ์กับความหวังของคนเรา อย่างน้อยเราก็หวังฝนจะนำความเย็นฉ่ำมาให้แต่ฝนและเมฆชนิดที่ชวนให้สิ้นหวังก็สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆ
ฝนตกหนักระหว่างที่กำลังเดินทางไปทำงานหรือเขียนหนังสือ ฝนเวอร์ชันพายุระหว่างอยู่บนเกาะและต้องการกลับฝั่ง ฝนพร่ำๆยืดเยื้อในวันอาทิตย์ ระหว่างที่ใครสักคนเพิ่งเดินออกไปจากชีวิต และเรายังทำใจไม่ได้
อากาศร้อนทำให้จินตนาการและความฝันลดน้อยลง ทั้งสองสิ่ง (ฝันและจินตนาการ) ต้องการอุณหภูมิที่พอเหมาะในการงอกงาม อุณหภูมิ 38-40 องศาเซลเซียสนั้น ยากที่จะทำให้ความฝันแตกดอกออกผล อากาศร้อนและความอบอ้าวทำให้จินตนาการไม่มีที่พักอาศัย แสงแดดกลางฤดูร้อนไม่ชวนฝันเหมือนแดดหน้าหนาว ที่บ้านผมนั้นไม่ทันจะ 9 โมงเช้า แดดก็ส่องมาถึงประตูห้องนอนแล้ว ขณะที่บางเดือนแสงแดดอยู่แค่ประตูหลังบ้านด้วยซ้ำ ผมว่าแดดนั้นมีอิทธิพลต่อความฝันและความจริงในชีวิตคนเราไม่น้อยเลย
แต่เรามักให้อภัยแดดที่ชายทะเลก็มีร่มเงาให้หลบแดด อย่างที่บางแสนนั้นจะมีร่มคันโตๆและเก้าอี้ผ้าใบตั้งอยู่เป็นระเบียบเต็มไปหมด มองแล้วดูเหมือนชุมชนแออัดที่แดดส่องไม่ถึง เนื่องจากร่มจำนวนมากคือหลังคาขนาดใหญ่
30บาทต่อคน สำหรับร่มและเก้าอี้ผ้าใบ จะนั่งหรือนอนนานแค่ไหนก็ได้ 20 บาท ถ้าไปหลายคนและพ่อค้าเมตตา พ่อค้าว่าไม่มีใครนั่งทั้งวันหรอก พวกเขาย่ำคำพูดนี้บ่อยๆอย่างสบายใจ
ผมไปบางแสนมาแล้วทุกฤดู และน่าจะเคยอยู่ที่บางแสนครบทั้ง 7 วัน บางครั้งไปแบบค้างคืน บางครั้งอยู่แบบเช้าไป-ดึกๆ กลับเคยนั่งเขียนงานที่ชายหาดในวันอาทิตย์เพราะจำเป็นต้องส่งให้ได้ในวันจันทร์ เคยไม่หลับไม่นอนในคืนวันเสาร์ เคยอยู่แค่ 2-3 ชั่วโมงในวันอังคาร เคยไป ช่วยเขาถ่ายแฟชั่นในวันพุธหรือพฤหัสก็ไม่แน่ใจ ช่วงหนึ่งของชีวิตเป็นช่วงที่เอะอะก็บางแสน....บางแสน ครั้งแล้วครั้งเล่า คนเรานั้นจะมีการไปสัมผัสกับสถานที่ต่างๆ (บ่อยๆ) ระยะหนึ่งแล้วก็เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ....... แล้วแต่สถานการณ์ของชีวิตจะกำหนด
ทะเลเป็นพื้นที่สำหรับหลบร้อนชั้นดี ทุกฤดูร้อนจะมีผู้คนจำนวนมากอพยพมาทะเล ทั้งความจริงร้อนๆไว้ที่บ้านและมุ่งหน้าสู่ทะเลบ้าง
มา จากภาคอีสาน และภาคเหนือ อยู่ไกลแค่ไหนทะเลก็ส่งแรงดึงดูดไปถึง ผมเคยนึกเล่นๆว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีชายหาดจะเป็นอย่างไรบ้าง? ครั้งหนึ่งตอนต้นพฤษภาคม ผมเคยอยู่ที่ทะเลเสม็ด เราไปกันตั้งแต่วันศุกร์ และคิดว่าจะกลับวันอาทิตย์ แต่เกิดอาการติดลมทะเลก็เลยเลื่อนไปกลับจันทร์ ฝนตกหยุด.....ตกหยุด ตั้งแต่มาถึง และตกหนักในวันอาทิตย์
ผมกับเพื่อนๆนั่งพูดคุยและดื่มกินกันที่ร้านอาหารริมหาด รู้สึกดีที่ไม่ต้องแยกย้ายกันในวันอาทิตย์ รู้สึกดีกับลมและฝนรู้สึกดีกับวันอาทิตย์ผมพยายามเดินออกไปให้เปียกฝนบ่อยๆชวนเพื่อนคนหนึ่งออกไปดื่มเบียร์กลางฝน แปลกดีเหมือนกันที่บางครั้งเรากลัวฝนจะเปียกตัว แต่บางครั้งเราก็อยากเปียกฝน
ใครสักคนบอกว่า น่าจะมีออฟฟิศอยู่ที่ทะเลนะ ทำหนังสือกันที่ทะเลนี่แหละ อีกคนบอกว่า อย่าฝัน อย่าฝัน เคยมีคนพยายามแล้วแต่ล้มเหลว เพราะกอง บ.ก. เอาแต่ออกทะเลกันหมด แล้วพวกเราก็หัวเราะกัน อะไรนิดอะไรหน่อยก็หัวเราะ บางคำพูดไม่ขำเลยก็กลายเป็นขำที่ขำเล็กน้อยก็เปลี่ยนเป็นขำมาก ผมเรียกเหตุการณ์ทำนองนี้ว่าความสุข และมันได้กลายเป็นความทรงจำไปเรียบร้อยแล้ว
จำได้ไม่หมดหรอกครับ บางทีก็ไม่ได้นึกด้วยซ้ำ และเราไม่นึกล่วงหน้าว่าจะนึกถึงเรื่องนี้หรือเรื่องอื่นๆเมื่อไร มีหลายเรื่องในชีวิตด้วยซ้ำที่เราลืมไปเลยอย่างถาวร
เดือนเมษายนและต้นพฤษภาคมปีนี้อากาศร้อนอบอ้าวมาก ผมกลายเป็นนักดูท้องฟ้าที่อยู่ไกลจากทะเลเหลือเกิน
จบบริบูรณ์
คงมีผู้คนจำนวนมากภาวนาให้ฝนตก เพราะฝนตกแล้วแดดก็ไม่ค่อยออก และฝนจะทำให้โลกตรงที่ผม (หรือคุณ) อยู่เย็นขึ้น ไมใช่ต้นข้าวเท่านั้นที่คอยฝน แต่คุณก็คอยฝนอยู่เหมือนกัน บางวันมีแต่ลมแรงๆและฝุ่น แล้วก็มีฝนแค่นิดหน่อยซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของคน พืชและสัตว์ คนเรากับสายฝนมักเป็นเช่นนี้ ถ้าไม่รู้สึกว่าตกมากเกินไป ก็รู้สึกว่าตกน้อยเกินไป
เดือนเมษายนและต้นพฤษภาคม ผมกลายเป็นนักดูท้องฟ้า ดูว่าเมฆมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าเมฆมาก โอกาสที่จะมีฝนก็มากตาม หลายต่อหลายวันทีเดียวที่ท้องฟ้าว่างเมฆ ผมรู้สึกว่าในบางขณะ-เมฆและฝนสัมพันธ์กับความหวังของคนเรา อย่างน้อยเราก็หวังฝนจะนำความเย็นฉ่ำมาให้แต่ฝนและเมฆชนิดที่ชวนให้สิ้นหวังก็สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆ
ฝนตกหนักระหว่างที่กำลังเดินทางไปทำงานหรือเขียนหนังสือ ฝนเวอร์ชันพายุระหว่างอยู่บนเกาะและต้องการกลับฝั่ง ฝนพร่ำๆยืดเยื้อในวันอาทิตย์ ระหว่างที่ใครสักคนเพิ่งเดินออกไปจากชีวิต และเรายังทำใจไม่ได้
อากาศร้อนทำให้จินตนาการและความฝันลดน้อยลง ทั้งสองสิ่ง (ฝันและจินตนาการ) ต้องการอุณหภูมิที่พอเหมาะในการงอกงาม อุณหภูมิ 38-40 องศาเซลเซียสนั้น ยากที่จะทำให้ความฝันแตกดอกออกผล อากาศร้อนและความอบอ้าวทำให้จินตนาการไม่มีที่พักอาศัย แสงแดดกลางฤดูร้อนไม่ชวนฝันเหมือนแดดหน้าหนาว ที่บ้านผมนั้นไม่ทันจะ 9 โมงเช้า แดดก็ส่องมาถึงประตูห้องนอนแล้ว ขณะที่บางเดือนแสงแดดอยู่แค่ประตูหลังบ้านด้วยซ้ำ ผมว่าแดดนั้นมีอิทธิพลต่อความฝันและความจริงในชีวิตคนเราไม่น้อยเลย
แต่เรามักให้อภัยแดดที่ชายทะเลก็มีร่มเงาให้หลบแดด อย่างที่บางแสนนั้นจะมีร่มคันโตๆและเก้าอี้ผ้าใบตั้งอยู่เป็นระเบียบเต็มไปหมด มองแล้วดูเหมือนชุมชนแออัดที่แดดส่องไม่ถึง เนื่องจากร่มจำนวนมากคือหลังคาขนาดใหญ่
30บาทต่อคน สำหรับร่มและเก้าอี้ผ้าใบ จะนั่งหรือนอนนานแค่ไหนก็ได้ 20 บาท ถ้าไปหลายคนและพ่อค้าเมตตา พ่อค้าว่าไม่มีใครนั่งทั้งวันหรอก พวกเขาย่ำคำพูดนี้บ่อยๆอย่างสบายใจ
ผมไปบางแสนมาแล้วทุกฤดู และน่าจะเคยอยู่ที่บางแสนครบทั้ง 7 วัน บางครั้งไปแบบค้างคืน บางครั้งอยู่แบบเช้าไป-ดึกๆ กลับเคยนั่งเขียนงานที่ชายหาดในวันอาทิตย์เพราะจำเป็นต้องส่งให้ได้ในวันจันทร์ เคยไม่หลับไม่นอนในคืนวันเสาร์ เคยอยู่แค่ 2-3 ชั่วโมงในวันอังคาร เคยไป ช่วยเขาถ่ายแฟชั่นในวันพุธหรือพฤหัสก็ไม่แน่ใจ ช่วงหนึ่งของชีวิตเป็นช่วงที่เอะอะก็บางแสน....บางแสน ครั้งแล้วครั้งเล่า คนเรานั้นจะมีการไปสัมผัสกับสถานที่ต่างๆ (บ่อยๆ) ระยะหนึ่งแล้วก็เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ....... แล้วแต่สถานการณ์ของชีวิตจะกำหนด
ทะเลเป็นพื้นที่สำหรับหลบร้อนชั้นดี ทุกฤดูร้อนจะมีผู้คนจำนวนมากอพยพมาทะเล ทั้งความจริงร้อนๆไว้ที่บ้านและมุ่งหน้าสู่ทะเลบ้าง
มา จากภาคอีสาน และภาคเหนือ อยู่ไกลแค่ไหนทะเลก็ส่งแรงดึงดูดไปถึง ผมเคยนึกเล่นๆว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีชายหาดจะเป็นอย่างไรบ้าง? ครั้งหนึ่งตอนต้นพฤษภาคม ผมเคยอยู่ที่ทะเลเสม็ด เราไปกันตั้งแต่วันศุกร์ และคิดว่าจะกลับวันอาทิตย์ แต่เกิดอาการติดลมทะเลก็เลยเลื่อนไปกลับจันทร์ ฝนตกหยุด.....ตกหยุด ตั้งแต่มาถึง และตกหนักในวันอาทิตย์
ผมกับเพื่อนๆนั่งพูดคุยและดื่มกินกันที่ร้านอาหารริมหาด รู้สึกดีที่ไม่ต้องแยกย้ายกันในวันอาทิตย์ รู้สึกดีกับลมและฝนรู้สึกดีกับวันอาทิตย์ผมพยายามเดินออกไปให้เปียกฝนบ่อยๆชวนเพื่อนคนหนึ่งออกไปดื่มเบียร์กลางฝน แปลกดีเหมือนกันที่บางครั้งเรากลัวฝนจะเปียกตัว แต่บางครั้งเราก็อยากเปียกฝน
ใครสักคนบอกว่า น่าจะมีออฟฟิศอยู่ที่ทะเลนะ ทำหนังสือกันที่ทะเลนี่แหละ อีกคนบอกว่า อย่าฝัน อย่าฝัน เคยมีคนพยายามแล้วแต่ล้มเหลว เพราะกอง บ.ก. เอาแต่ออกทะเลกันหมด แล้วพวกเราก็หัวเราะกัน อะไรนิดอะไรหน่อยก็หัวเราะ บางคำพูดไม่ขำเลยก็กลายเป็นขำที่ขำเล็กน้อยก็เปลี่ยนเป็นขำมาก ผมเรียกเหตุการณ์ทำนองนี้ว่าความสุข และมันได้กลายเป็นความทรงจำไปเรียบร้อยแล้ว
จำได้ไม่หมดหรอกครับ บางทีก็ไม่ได้นึกด้วยซ้ำ และเราไม่นึกล่วงหน้าว่าจะนึกถึงเรื่องนี้หรือเรื่องอื่นๆเมื่อไร มีหลายเรื่องในชีวิตด้วยซ้ำที่เราลืมไปเลยอย่างถาวร
เดือนเมษายนและต้นพฤษภาคมปีนี้อากาศร้อนอบอ้าวมาก ผมกลายเป็นนักดูท้องฟ้าที่อยู่ไกลจากทะเลเหลือเกิน
จบบริบูรณ์
"ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)"
ระบบประสาทอัตโนมัติ เรียกว่า autonomic nervous system เป็นระบบประสาทที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกาย ดังนั้นความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติจะทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมาก ระบบประสาทชนิดนี้ศูนย์กลางอยู่ภายในไขสันหลัง แกนสมอง และสมองส่วนฮัยโปธาลามัส โดยจะทำงานเป็นอิสระอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจจิตใจ ระบบประสาทอัตโนมัติทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ ระบบประสาทอัตโนมัตินี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบบประสาทซิมพาเตติก และระบบประสาทพาราซิมพาเตติก
ระบบประสาทซิมพาเตติก (sympathetic nervous system) จะเริ่มต้นจากไขสันหลังส่วนอกที่ 1 จนถึงไขสันหลังส่วนเอวที่ 2 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในไขสันหลัง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์อยู่ในบริเวณด้านข้างของเนื้อสีเทาของไขสัน หลังจากศูนย์กลางจะมีเส้นใยประสาทไปสู่ปมประสาท ซึ่งจะอยู่ห่างจากอวัยวะที่ไปสู่ แต่จะมีเส้นทางประสาทแยกออกไปควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ดังกล่าว การเร้าประสาทซิมพาเตติกจะทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน
ระบบประสาทพาราซิมพาเตติก (parasympathetic nervous system) จะออกจากระบบประสาทส่วนกลาง โดยผ่านร่วมไปกับเส้นประสาทสมองบางเส้น และประสาทไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ใยประสาทพาราซิมพาเตติกมากกว่าร้อยละ 80 อยู่ในเส้นประสาทเวกัส ซึ่งไปเลี้ยงบริเวณช่องอกและช่องท้อง เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของอวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้
ผลของระบบประสาทซิมพาเตติกและพาราซิมพาเตติกต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้แก่
1.ผลต่อหัวใจ ประสาทซิมพาเตติกทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง ในขณะที่ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้หัวใจเต้นช้าและเบา
2.ผลต่อม่านตา ประสาทซิมพาเตติกทำให้ม่านตาขยาย ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้ม่านตาหดเล็ก
3.ผลต่อหลอดลม ประสาทซิมพาเตติกทำให้หลอดลมขยายตัว ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว
4.ผลต่อหลอดเลือด ประสาทซิมพาเตติกทำให้หลอดเลือดหดตัวเล็กน้อย ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้หลอดเลือดขยายเล็กน้อย
5.ผลต่อความดันโลหิต ประสาทซิมพาเตติกทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในขณะที่ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
6.ผลต่อระบบทางเดินอาหาร ประสาทซิมพาเตติกทำให้ทางเดินอาหารเคลื่อนไหวช้าและทำงานลดลง ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้ทางเดินอาหารเคลื่อนไหวเร็วขึ้นและทำงานดีขึ้น
7.ผลต่อต่อมเหงื่อ ประสาทซิมพาเตติกทำให้เหงื่อออกมาก ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้เหงื่อออกน้อยลง
8.ผลต่ออุณหภูมิร่างกาย ประสาทซิมพาเตติกทำให้อุณหภูมิกายเพิ่มขึ้น ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้อุณหภูมิกายลดลง
9.ผลต่อกระเพาะปัสสาวะ ประสาทซิมพาเตติกทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายยืดออก ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้กระเพาะปัสสาวะหดตัว
10.ผลต่อมดลูก ประสาทซิมพาเตติกทำให้มดลูกบีบตัวลดลง ในขณะที่ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้มดลูกบีบตัวเพิ่มขึ้น
ระบบประสาทซิมพาเตติก (sympathetic nervous system) จะเริ่มต้นจากไขสันหลังส่วนอกที่ 1 จนถึงไขสันหลังส่วนเอวที่ 2 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในไขสันหลัง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์อยู่ในบริเวณด้านข้างของเนื้อสีเทาของไขสัน หลังจากศูนย์กลางจะมีเส้นใยประสาทไปสู่ปมประสาท ซึ่งจะอยู่ห่างจากอวัยวะที่ไปสู่ แต่จะมีเส้นทางประสาทแยกออกไปควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ดังกล่าว การเร้าประสาทซิมพาเตติกจะทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน
ระบบประสาทพาราซิมพาเตติก (parasympathetic nervous system) จะออกจากระบบประสาทส่วนกลาง โดยผ่านร่วมไปกับเส้นประสาทสมองบางเส้น และประสาทไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ใยประสาทพาราซิมพาเตติกมากกว่าร้อยละ 80 อยู่ในเส้นประสาทเวกัส ซึ่งไปเลี้ยงบริเวณช่องอกและช่องท้อง เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของอวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้
ผลของระบบประสาทซิมพาเตติกและพาราซิมพาเตติกต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้แก่
1.ผลต่อหัวใจ ประสาทซิมพาเตติกทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง ในขณะที่ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้หัวใจเต้นช้าและเบา
2.ผลต่อม่านตา ประสาทซิมพาเตติกทำให้ม่านตาขยาย ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้ม่านตาหดเล็ก
3.ผลต่อหลอดลม ประสาทซิมพาเตติกทำให้หลอดลมขยายตัว ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว
4.ผลต่อหลอดเลือด ประสาทซิมพาเตติกทำให้หลอดเลือดหดตัวเล็กน้อย ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้หลอดเลือดขยายเล็กน้อย
5.ผลต่อความดันโลหิต ประสาทซิมพาเตติกทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในขณะที่ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
6.ผลต่อระบบทางเดินอาหาร ประสาทซิมพาเตติกทำให้ทางเดินอาหารเคลื่อนไหวช้าและทำงานลดลง ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้ทางเดินอาหารเคลื่อนไหวเร็วขึ้นและทำงานดีขึ้น
7.ผลต่อต่อมเหงื่อ ประสาทซิมพาเตติกทำให้เหงื่อออกมาก ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้เหงื่อออกน้อยลง
8.ผลต่ออุณหภูมิร่างกาย ประสาทซิมพาเตติกทำให้อุณหภูมิกายเพิ่มขึ้น ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้อุณหภูมิกายลดลง
9.ผลต่อกระเพาะปัสสาวะ ประสาทซิมพาเตติกทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายยืดออก ส่วนประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้กระเพาะปัสสาวะหดตัว
10.ผลต่อมดลูก ประสาทซิมพาเตติกทำให้มดลูกบีบตัวลดลง ในขณะที่ประสาทพาราซิมพาเตติกทำให้มดลูกบีบตัวเพิ่มขึ้น
"ระบบประสาท"
ส่วนประกอบของสมอง มีดังนี้
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด แบ่งออกเป็น
- Cerebrum (ซีรีบรัม) เป็นสมองส่วนหน้าสุดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา กบ
มีหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น มีส่วนพองออก เรียกว่า olfactory bulb ส่วนในสัตว์ชั้นสูง สมองส่วนนี้จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรวมทั้งเชาวน์ ปัญญา ความจำ มีส่วนเนื้อสีเทาชั้นนอก(Cerebral-cortex) ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์รับความรู้สึก (ภาพ รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน เย็น ) ควบคุมให้กล้ามเนื้อทำงานและบอกตำแหน่งมีส่วน Corpus callosum ซึ่งถือกันว่ามีหน้าที่ …. ควบคุมพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนที่เกิดจากการเรียนรู้
- Diencephalon ( ไดเอนเซฟาลอน ) เป็นส่วนท้ายสุดของสมองส่วนหน้า อยู่ทางด้านล่าง ปกติจะมองไม่เห็น เพราะ Cerebrum คลุมอยู่ มีหน้าที่ … เป็นสถานีถ่ายทอด หรือศูนย์กลางส่งความรู้สึก ( เปรียบกับชุมสายโทรศัพท์ ) ยกเว้นการดมกลิ่น โดยที่กระแสความรู้สึกจะผ่านเข้ามาใน diencephalon แล้วจึงส่งไปยังซีรีบรัม ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระแสความรู้สึกนั้น ๆ
ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า ( Diencephalon ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- ทาลามัส ( thalamus ) มีตำแหน่งอยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง อันที่ 3 ถือว่าเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่สำคัญที่เข้าสู่สมอง และไขสันหลัง ( เนื่องจากมีบริเวณที่รับความรู้สึกมาจากบริเวณหนึ่งของซีรีบรับและส่งกลับไปที่บริเวณอื่น ๆ ของซีรีบรัมด้วยและรับข้อมูลจากซีรีบรัมส่งต่อไปที่ซี่รีเบลรัมและเมดุลลาถือว่ามีหน้าที่แตกต่างกันมากมาย ) สำหรับธาลามัสในสัตว์มีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำจะทำหน้าที่รับ แปรและประสานงาน สัญญาณความรู้สึกด้วยตัวเอง แต่ใสสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ซีรีบรัมเจริญขึ้นมากจึงทำหน้าที่แปรสัญญาณความรู้สึกและทำหน้าที่ประสานงานแทนธาลามัส - ไฮโปธาลามัส เป็นส่วนพื้นของโพรงสมองอันที่สามที่มีขนาดเล็อยู่ใด้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง ภายในกลุ่มีมีเซลล์ประสาทอยู่น้อยถือว่าเป็นศูนย์ควบุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ความดันโลหิต ความรู้สึกทางเพศ อารมณ์ ความต้องการน้ำและอาหาร ความกลัว การนอนหลับ การต่อสู้ การหนีภัย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ ควบคุม เมตาบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน นอกจานนี้ยังเป็นแหล่งที่มีเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายนิดมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง เป็นบริเวณที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ประสานงานกัน ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
2 สมองส่วนกลาง อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้ามีเส้นประสาทรับความรู้สึคกจากตามายังสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการมองเห็นในสัตว์ มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่นปลา และกบตอนบนจะพองออกเป็นกระเปาะเรียกว่า optic lobe แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังขั้นสูงจะมีขนาดลดลงและจะทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณ หรือกระแสความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น
3 สมองส่วนหลัง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซีรีเบลลัม ซึ่งอยู่ทางด้านบนและเมดุลลาออบลองกาตา อยู่ด้านข้างและด้านล่าง
ชนิดของเซลล์ประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งตามรูปร่างมี 3 ชนิด
1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว
2. เซลล์ประสาทสองขั้ว
3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด แบ่งออกเป็น
- Cerebrum (ซีรีบรัม) เป็นสมองส่วนหน้าสุดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา กบ
มีหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น มีส่วนพองออก เรียกว่า olfactory bulb ส่วนในสัตว์ชั้นสูง สมองส่วนนี้จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรวมทั้งเชาวน์ ปัญญา ความจำ มีส่วนเนื้อสีเทาชั้นนอก(Cerebral-cortex) ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์รับความรู้สึก (ภาพ รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน เย็น ) ควบคุมให้กล้ามเนื้อทำงานและบอกตำแหน่งมีส่วน Corpus callosum ซึ่งถือกันว่ามีหน้าที่ …. ควบคุมพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนที่เกิดจากการเรียนรู้
- Diencephalon ( ไดเอนเซฟาลอน ) เป็นส่วนท้ายสุดของสมองส่วนหน้า อยู่ทางด้านล่าง ปกติจะมองไม่เห็น เพราะ Cerebrum คลุมอยู่ มีหน้าที่ … เป็นสถานีถ่ายทอด หรือศูนย์กลางส่งความรู้สึก ( เปรียบกับชุมสายโทรศัพท์ ) ยกเว้นการดมกลิ่น โดยที่กระแสความรู้สึกจะผ่านเข้ามาใน diencephalon แล้วจึงส่งไปยังซีรีบรัม ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระแสความรู้สึกนั้น ๆ
ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า ( Diencephalon ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- ทาลามัส ( thalamus ) มีตำแหน่งอยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง อันที่ 3 ถือว่าเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่สำคัญที่เข้าสู่สมอง และไขสันหลัง ( เนื่องจากมีบริเวณที่รับความรู้สึกมาจากบริเวณหนึ่งของซีรีบรับและส่งกลับไปที่บริเวณอื่น ๆ ของซีรีบรัมด้วยและรับข้อมูลจากซีรีบรัมส่งต่อไปที่ซี่รีเบลรัมและเมดุลลาถือว่ามีหน้าที่แตกต่างกันมากมาย ) สำหรับธาลามัสในสัตว์มีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำจะทำหน้าที่รับ แปรและประสานงาน สัญญาณความรู้สึกด้วยตัวเอง แต่ใสสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ซีรีบรัมเจริญขึ้นมากจึงทำหน้าที่แปรสัญญาณความรู้สึกและทำหน้าที่ประสานงานแทนธาลามัส - ไฮโปธาลามัส เป็นส่วนพื้นของโพรงสมองอันที่สามที่มีขนาดเล็อยู่ใด้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง ภายในกลุ่มีมีเซลล์ประสาทอยู่น้อยถือว่าเป็นศูนย์ควบุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ความดันโลหิต ความรู้สึกทางเพศ อารมณ์ ความต้องการน้ำและอาหาร ความกลัว การนอนหลับ การต่อสู้ การหนีภัย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ ควบคุม เมตาบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน นอกจานนี้ยังเป็นแหล่งที่มีเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายนิดมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง เป็นบริเวณที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ประสานงานกัน ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
2 สมองส่วนกลาง อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้ามีเส้นประสาทรับความรู้สึคกจากตามายังสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการมองเห็นในสัตว์ มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่นปลา และกบตอนบนจะพองออกเป็นกระเปาะเรียกว่า optic lobe แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังขั้นสูงจะมีขนาดลดลงและจะทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณ หรือกระแสความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น
3 สมองส่วนหลัง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซีรีเบลลัม ซึ่งอยู่ทางด้านบนและเมดุลลาออบลองกาตา อยู่ด้านข้างและด้านล่าง
ชนิดของเซลล์ประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งตามรูปร่างมี 3 ชนิด
1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว
2. เซลล์ประสาทสองขั้ว
3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว