วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 04, 2550

คำถามที่พบบ่อย VoIP

1.ทำไมต้องเลือกใช้ระบบ Voice over IP (VoIP)
ตอบ :

1.การติดต่อ สื่อสารระหว่างสาขาภายในประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยจะจ่ายเป็นค่าเช่าโครงข่ายรายเดือน ถูกกว่าการจ่ายต่อนาทีหรือต่อครั้งเหมือนดังที่เป็นอยู่หากองค์กรท่านมีค่าโทรศัพท์ที่มากพอ

2.มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน

3.การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่ส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น

4.ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ ความสามารถ การให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น


5.การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่ม จำนวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร


6.ความต้องการที่จะมีคู่สายเดียวในการติดต่อสื่อสาร ทั้งด้านเสียง, แฟกซ์ และข้อมูล ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายได้อย่างสูงสุด


7.การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการ การติดต่อสื่อสาร ที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้ถือว่า เป็นโอกาสของ VoIP จากอดีตมีการส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายวงจรของชุมสายโทรศัพท์ (Circuit Switching) ทำให้เกิดการใช้งานโครงข่ายได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ มากเท่าที่ควร เพราะแต่ละวงจร หรือเส้นทางถูกกำหนดให้ผู้ใช้เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ว่าวงจร หรือเส้นทางนั้นๆ จะว่างอยู่ก็ตาม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching) มากขึ้น โดยการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเกจย่อยๆ และทำการส่งไปตามเส้นทางต่างๆ กัน อันเป็นการกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจ สวิตชิ่งนี้ได้นำมาใช้เป็น Voice Over Packet เนื่องจากมีการปรับปรุง การทำงาน (Performance) บน Packet Switching ทำให้ Performance per Cost ของ Packet Switching ในอนาคตดีกว่า Circuit Switching ทิศทางของการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียง มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการเจริญ เพิ่มของการ ใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และนับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนามาจนกระทั่งระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP) ได้กลายเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งมีแนวโน้มจะเข้ามา มีส่วนแบ่งของตลาดในอนาคต

2.Internet Protocol (IP) คืออะไร
ตอบ : Internet Protocol หรือ IP เป็นมาตราฐานการสื่อสารข้อมูลแบบหนึ่งที่ใช้ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ โครงข่ายในรูปแพ็คเก็ต (Packet)

3.VoIP คืออะไร
ตอบ : VoIP หรือ Voice over Internet Protocol เป็นการนำเอาเสียงที่อยู่ในรูป สัญญาณดิจิตอลขนาด 64 Kbps มาบีบอัดพร้อมกับการเข้ารหัส ที่มีลักษณะพิเศษใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ (Low-bit-rate Vocoder) เหลือประมาณ 8-10 Kbps แล้วจัดให้อยู่ในรูปแพ็คเก็ตไอพี (IP Packet) ก่อนส่งผ่านเครือข่าย ไปยังปลายทางที่ต้องการ

4.Virtual Private Network (VPN) คืออะไร
ตอบ : Virtual Private Network หรือ VPN คือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย อินทราเน็ตหรือการเข้าถึงข้อมูลของเครือข่ายผ่านทางโครงข่ายสาธารณะ เช่น อินเตอร์เน็ต VPN ช่วยให้คุณสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เหมือนโครงข่ายส่วนตัว เรียกว่า การทำ virtual private network : VPN

5.IP VPN คืออะไร
ตอบ : IP VPN เป็นเครือข่ายประเภทหนึ่งของ VPN ที่มีการ เอ็นแคปซูเลท (encapsulated) ในแบบโปรโตคอล IP packet บนโครงข่ายสาธารณะ โดยมีส่วนสำคัญหลักที่ทำให้เกิดบริการ IP แก่ผู้ใช้ทั่วไป การสร้าง IP VPN สามารถทำได้ บนโครงข่ายสาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น อินเทอร์เน็ต และเฟรมรีเลย์ เป็นต้น

6.ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ทั่วไปมีความจำเป็นต้องใช้ IP VPN ด้วยหรือ
ตอบ : เนื่องจาก IP VPN มีข้อดี ที่ช่วยให้การเข้าถึง เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กร มีความคล่องตัว และเป็นส่วนตัวยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ได้ทำงานอยู่กับที่ ผู้ที่ต้องเดินทางในการทำงาน หรือผู้ที่ทำงาน ในสำนักงานสาขาที่ห่างไกล สามารถเข้าสู่เครือข่ายดังกล่าว ซึ่งรองรับการทำงาน ของแอพพลิเคชั่นหลักสำคัญๆ ที่ทุกคนในบริษัทต้องการ เรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.เทคโนโลยี IP Multicast จะสามารถ ให้ประโยชน์อะไร ได้บ้าง
ตอบ : IP multicasting เป็นเทคโนโลยี การใช้แบนด์วิธ อย่างมีประสิทธิภาพที่ช่วยลด ทราฟฟิก ด้วยการ ส่งผ่านข้อมูล แบบทางเดียว กระจายไปยังผู้รับ หลายรายตาม องค์กรต่างๆ และผู้รับตามบ้าน โดยเทคโนโลยีนี้ สามารถใช้ให้ เกิดประโยชน์ กับแอพพลิเคชันในด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิ การประชุมทางจอภาพ (video conferencing) การสื่อสาร ในองค์กร (corporate communications) การเรียนทางไกล (distance learning) และการ กระจายการใช้งาน ซอฟต์แวร์ (distribution of software) การดูหุ้น แบบออนไลน์ และการส่งข่าวสาร เป็นต้น

VoIP Solutions

VoIP Solutions

ลักษณะการเชื่อมต่อโครงข่าย VoIP แบบแรกโดยใช้สื่อเป็นวงจรเช่า (Leased Line) ใช้เราเตอร์ (Router) ที่มีพอร์ต WAN เป็น Serial Port Synch /V.35 เพื่อต่อกับ Modem Leased Line เลือกใช้เราเตอร์ (Router) ที่รองรับการทำ QoS (Quality of Service) เพื่อจัดระเบียบทราฟฟิกในเครือข่ายทำให้สามารถส่งผ่านทราฟฟิกทุกชนิดไปด้วยกันในเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ข้อมูลทั่วไป, ข้อมูลสัญญาณเสียง และสัญญาณภาพ ใช้อุปกรณ์ VoIP เป็น Accel AmiGate แบบ FXO สำหรับต่อกับตู้ PBX ฝั่งสายนอก Co. Line และ แบบ FXS สำหรับต่อกับตู้ PBX ฝั่ง สายใน (Extension) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการวางสาย โดยใช้มาตรฐาน H.323 เป็นมาตรฐานการบีบอัดแพ็กเก็ตแอพพลิเคชั่นของมัลติมิเดี่ย (Multimidia Application)

การเลือกใช้ VoIP Gateway ว่าจะใช้กี่พอร์ต นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้โทรศัพท์ระหว่างสำนักงานว่ามากน้อยขนาด มี 2, 4 และ 8 พอร์ต ให้เลือกใช้ แต่ละ พอร์ต จะต้องการแบนด์วิธ ประมาณ 10 Kbps. การเลือกขนาดแบนด์วิธ ของวงจรเช่า (Leased Line) นั้นต้องพิจารณาในส่วนของการส่งข้อมูลระหว่างสำนักงานร่วมด้วยอย่างน้อยสุดควรเป็น 128 Kbps. สำหรับ VoIP 2 และ 4 พอร์ต ในกรณีที่มีการรับส่งข้อมูลระหว่างสำนักงานไม่มากนัก และควรใช้แบนด์วิธ 256 Kbps. เป็นอย่างต่ำสำหรับ VoIP 8 พอร์ต การเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างสำนักงานนั้นมีความจำเป็นอยู่แล้วเพราะจะทำให้สะดวกรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างสำนักงาน และสามารถเลือกเชื่อมต่อฝั่งใดฝั่งหนึ่งที่สะดวกเข้าสู่อินเตอร์เน็ตก็ทำให้ท่องอินเตอร์เน็ตได้ด้วยกันทั้ง 2 สำนักงาน จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงแทนที่ต้องเชื่อมต่อทั้ง 2 ฝั่งและสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณประหยัดยิ่งกว่านั่นคือ สามารถประหยัดค่าโทรศัพท์ ระหว่างสำนักงานได้มาก


รูปที่ 2. เป็นลักษณะไดอะแกรมของการใช้ VoIP ที่เป็นอินเตอร์เฟสแบบ FXO ทั้งสองด้าน และ ต้องทำ Hot line เพื่อป้องกันปัญหาการวางสายโทรศัพท์


ทิศทาง และ แนวโน้ม ของ วอยซ์ โอเวอร์ไอพี (VoIP)

วอยซ์ โอเวอร์ไอพี (VoIP)ในปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงกับข้อมูล จะถูกส่งผ่านโครงข่ายที่แยกจากกัน แต่แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นลักษณะการรวมบริการหลายๆ อย่างไว้ในโครงข่ายเดียว ซึ่งสามารถให้บริการได้ทั้งสัญญาณเสียง, ข้อมูล, ภาพ ภายใต้โครงข่าย แบบแพ็คเกจ โดยการส่งข้อมูลทั้งสัญญาณภาพ และเสียงเป็นชุดของข้อมูล ที่สัญญาณเสียง จะถูกแปลงเป็นข้อมูล ก่อนที่จะถูกส่ง ในโครงข่าย โดยใช้ไอพีโปรโตคอล (Internetworking Protocol: IP) ซึ่งกำลังเป็นสิ่งทีได้รับ ความสนใจ เป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนขององค์กร ธุรกิจ และผู้ให้บริการโครงข่ายหลายราย

ส่วนสิ่งที่ผลักดันให้ VoIP ภายใต้ ไอพี เทเลโฟนนี่ (IP Telephony) เป็นที่ต้องการทางด้านการตลาด คือ


ประการแรก โอกาสที่จะติดต่อ สื่อสารระหว่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยมีราคาที่ถูกกว่าโครงข่ายโทรศัพท์ทั่วไป

ประการ 2 การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่ส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น

ประการ 3 การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่ม จำนวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร

ประการ 4 มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน


ประการ 5 ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ ความสามารถ การให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น


ประการ 6 ความต้องการที่จะมีหมายเลขเดียวในการติดต่อสื่อสารทั่วโลก ทั้งด้านเสียง, แฟกซ์ และข้อมูล ถึงแม้ว่าบุคคลนั้น จะย้ายไปที่ใด ก็ตามก็ยังคงสามารถใช้หมายเลขเดิมได้ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานและธุรกิจ


ประการ 7 การเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของการทำรายการต่างๆ บน e-Commerce ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างก็ต้องการการ บริการที่มีคุณภาพ และมีการโต้ตอบกันได้ระหว่างที่กำลังใช้ อินเทอร์เน็ตอยู่ ซึ่ง VoIP สามารถเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้


ประการ 8 การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการ การติดต่อสื่อสาร ที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้ถือว่า เป็นโอกาสของ VoIP จากอดีตมีการส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายวงจรของชุมสายโทรศัพท์ (Circuit Switching) ทำให้เกิดการใช้งานโครงข่ายได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ มากเท่าที่ควร เพราะแต่ละวงจร หรือเส้นทางถูกกำหนดให้ผู้ใช้เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ว่าวงจร หรือเส้นทางนั้นๆ จะว่างอยู่ก็ตาม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching) มากขึ้น โดยการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเกจย่อยๆ และทำการส่งไปตามเส้นทางต่างๆ กัน อันเป็นการกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจ สวิตชิ่งนี้ได้นำมาใช้เป็น Voice Over Packet เนื่องจากมีการปรับปรุง การทำงาน (Performance) บน Packet Switching ทำให้ Performance per Cost ของ Packet Switching ในอนาคตดีกว่า Circuit Switching ทิศทางของการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียง มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการเจริญ เพิ่มของการ ใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และนับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนามาจนกระทั่งระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP) ได้กลายเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งมีแนวโน้มจะเข้ามา มีส่วนแบ่งของตลาดในอนาคต โดยจุดแข็งอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ราคาค่าบริการที่จะต่ำกว่า เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับค่าบริการทางไกลต่างประเทศ ซึ่งระบบโทรศัพท์ไอพีจะเก็บค่าบริการ เท่ากับค่า บริการที่ระบบโทรศัพท์ธรรมดาโทรในพื้นที่ที่ต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ รวมกับค่าบริการ รายเดือนที่ต้องจ่าย ให้กับไอเอสพีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ระบบ VoIP ก็ยังมีจุดอ่อนและข้อบกพร่องอยู่หลายประการ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือได้ของ VoIP ยังต้องมีการพิสูจน์และถือว่าเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ด้อยกว่า โครงข่ายชุมสายโทรศัพท์ (PSTN) ในปัจจุบัน ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ซึ่งทำให้มีปัญหาในการพัฒนา ที่แม้ว่าการลงทุนหลักของ VoIP จะรวมอยู่ในโครงสร้าง ของระบบการสื่อสารในปัจจุบันแล้ว แต่ VoIP ก็ยังคงมีราคาที่สูงอยู่ ซึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายใน Port ของ IP ซึ่งควรจะต้องลดลง อย่างน้อยให้ได้ใกล้เคียงกับโครงข่ายโทรศัพท์ โดยโครงสร้างแล้วจะแยกกันในการส่งข้อมูลและเสียง การรวมกันต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ต้องมีการฝึกฝน นอกจากนี้ แม้ว่า VoIP สามารถประหยัดได้มากขึ้น ในด้านของผู้ใช้งานยังไม่ประทับใจในคุณภาพของระบบมากนัก การเติบโตของ VoIP ซึ่งต้องการให้เสนอสู่ระบบ Mass ขณะที่อุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อยังอยู่ในขั้นของการทดลองอยู่

IP Telephony สามารถเติบโตได้ เนื่องจากอัตราของราคาที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับโครงข่ายโทรศัพท์ ดังนั้น หากโครงข่ายโทรศัพท์ ลดราคาลงมาก็ทำให้ VoIP ไม่ได้เปรียบอีกต่อไป ในการที่จะเปลี่ยนระบบจาก PSTN มาเป็น VoIP นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้จำหน่ายอุปกรณ์ที่มีความรู้ ความชำนาญ มากเพียงพอ ที่จะสนับสนุนระบบได้ อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งคือ การขาดมาตรฐานของอุปกรณ์โครงข่าย ทำให้การเจริญเติบโตไม่เร็วเท่าที่ควร เพราะไม่อาจตัดสินใจได้ว่าจะเลือกอุปกรณ์ของค่ายใด ในเร็วๆ นี้ คงจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น

การสื่อสารด้วยระบบ Voice-over-IP (VoIP)

การสื่อสารด้วยระบบ Voice-over-IP (VoIP)

เมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากขึ้นและใช้งานกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นที่จะต้องแชร์ข้อมูลหรือที่จะต้องใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างสำนักงาน ความต้องการประยุกต์แบบใหม่ ๆ บนอินเทอร์เน็ตจึงได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้โทรศัพท์บนเครือข่าย การติดต่อด้วยเสียง ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การกระจายสัญญาณเสียงหรือภาพบนเครือข่าย และสิ่งหนึ่งที่มีการพัฒนาการ คือระบบการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย IP จนสามารถใช้งานได้ดีขึ้นเพื่อได้รับประโยชน์มากที่สุดและมีความสะดวกมากขึ้น
หลักการพื้นฐานของเครือข่ายไอพี
เครือข่ายไอพี (Internet Protocol) มีพัฒนามาจากรากฐานระบบการสื่อสารแบบแพ็กเก็ต โดยระบบมีการกำหนดแอดเดรส ที่เรียกว่า ไอพีแอดเดรส จากไอพีแอดเดรสหนึ่ง ถ้าต้องการส่งข่าวสารไปยังอีกไอพีแอดเดรสหนึ่ง ใช้หลักการบรรจุข้อมูลใส่ใน แพ็กเก็ต แล้วส่งไปในเครือข่าย ระบบการจัดส่งแพ็กเก็ตกระทำด้วยอุปกรณ์สื่อสารจำพวกเราเตอร์ มีหลักพื้นฐานการส่งแบบ ไปรษณีย์สมัยเก่า บางที่เราจึงเรียกการส่งแบบนี้ว่า ดาต้าแกรม
การสื่อสารแบบไอพีแพ็กเก็ต จะเป็นการส่งแพ็กเก็ตเข้าไปในเครือข่าย โดยไม่มีการประกันว่า แพ็กเก็ตนั้นจะถึงปลายทาง เมื่อไร ดังนั้นรูปแบบของเครือข่ายไอพีจึงไม่เหมาะสมกับการสื่อสารแบบต่อเนื่อง เช่น ส่งเสียง หรือวิดีโอ



เมื่อจะส่งสัญญาณเสียง
ครั้งเมื่อมีเครือข่ายไอพีกว้างขวางและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ความต้องการส่งสัญญาณข้อมูลเสียงที่ได้คุณภาพก็เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญ คือระบบประกันคุณภาพการสื่อสาร โดยจัดลำดับความสำคัญ หรือจองช่องสัญญาณไว้ให้ก่อน ระบบการสื่อสารในรูปแบบใหม่นี้ จะต้องกระทำโดยเราเตอร์
การส่งเสียงบนเครือข่ายไอพี หรือเรียกว่า VoIP-Voice Over IP หรือที่เรียกกันว่า “VoIP Gateway”เป็นระบบที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลคือข้อมูลเสียงมาบีบอัดและบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ต ไอพี (IP) แล้วส่งไปโดยที่เราเตอร์ (Router) มีวิธีการปรับตัวเพื่อรับสัญญาณแพ็กเก็ต และยังแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลง การแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหาย หรือได้มาล่าช้า (delay)




ระบบ VoIP เป็นระบบที่นำสัญญาณเสียงที่ผ่านการดิจิไตซ์ โดยหนึ่งช่องเสียงเมื่อแปลงเป็นข้อมูลจะมีขนาด 64 กิโลบิตต่อ วินาที การนำข้อมูลเสียงขนาด 64 Kbps นี้ ต้องนำมาบีบอัด โดยทั่วไปจะเหลือประมาณ 8-10 Kbps ต่อช่องสัญญาณเสียงแล้วจึง บรรจุลงในไอพีแพ็กเก็ต เพื่อส่งผ่านทางเครือข่ายไอพี
การสื่อสารผ่านทางเครือข่ายไอพีต้องมีเราเตอร์ (Router) ที่ทำหน้าที่พิเศษเพื่อประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพีนี้ เพื่อให้ข้อมูลไปถึง ปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อนแพ็กเก็ตไอพีอื่น (Quality of Service : QoS) เพื่อการให้บริการที่ทำให้เสียงมีคุณภาพ
จากระบบดังกล่าวนี้เอง จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างสำนักงาน โดยแต่ละสำนักงานสามารถ ใช้ระบบสื่อสารโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่ายไอพี (VoIP) รวมถึงยังสามารถรับส่งข้อมูล (data) ไปพร้อมๆ กันได้


ด้วยวิธีการสื่อสารแบบ VoIP จึงทำให้ระบบโทรศัพท์ที่เป็นตู้ชุมสายภายในขององค์กร สามารถเชื่อมถึงกันผ่านทางเครือข่าย ไอพี การสื่อสารแบบนี้ทำให้สามารถใช้โทรศัพท์ข้ามถึงกันได้ในลักษณะ PBX กับ PBX และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก