Requirements elicitation process ประกอบไปด้วยกิจกรรมสำคัญ 4 อย่างได้แก่
1. การต้องจุดมุ่งหมาย (Objective setting)
วัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย เป้าหมายหลักของธุรกิจ และการบรรยายถึงปัญหาที่ต้องการนำมาแก้ไข และข้อจำกัดของระบบเช่น งบประมาณ เวลา ควรจะถูกกำหนดออกมาในขั้นตอนนี้
2. การรู้ข้อมูลเบื้องหลังของระบบ (Background knowledge acquisition)
นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ Requirements engineering จะใช้รวบรวมและเข้าใจในข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของระบบ และส่วนนี่ยังใช้บอกด้วยว่า ส่วนในขององค์กรที่ระบบของเราจะถูกนำไปใช้, ข้อมูล application domain ของระบบ และ ระบบที่มีอยู่แล้วในองค์กรซึ่งกำลังใช้อยู่และระบบที่จะเอาระบบที่เราพัฒนาเข้าไปแทนที่
3. การมีความรู้เกี่ยวกับภาพรวมขององค์กร (Knowledge organization)
ข้อมูลและองค์ความรู้ทั้งหมดที่ถูกเก็บมาใน 2 ส่วนที่แล้วจะถูกทำให้เป็นระบบและจัดเรียง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบ และบทบาทของบุคคลเหล่านั้น เรียงลำดับความสำคัญเป้าหมายขององค์กร และตัดdomain knowledge ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการของระบบ
4. การรวบรวมความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับระบบ (Stakeholder requirements collection)
นี่เป็นส่วนที่เรียกว่าการดึงข้อมูลออกมาจริงๆ ซึ่งรวมไปทั้งการปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นต้องการและการได้มาซึ่งความต้องการต่างๆ ที่มาจาก application domain และจากองค์กรที่ต้องการระบบของเราไปใช้งาน
ผลลัพธ์ของ requirements elicitation process
ควรจะออกมาในรูปแบบของเอกสารความต้องการต้นแบบ (draft requirements document) ที่บรรยายถึงความต้องการของระบบ ซึ่งต่อไปเอกสารนี้จะถูกนำไปวิเคราะห์ เพื่อที่จะค้นหาปัญหาและข้อขัดแย้งของความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้ ปัญหาการขัดแย้งของความต้องการ กับปัญหาการทับซ้อนกันของความต้องการเป็นปัญหาที่ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ดังนั้นจึงต้องมีขัดต้องการต่อรอง เพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น