วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 21, 2553

Requirement Engineering

1.การจัดการโครงการ

  • เลือกวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
  • แผนงานโครงการของข้อกำหนดแบบพื้นฐาน
  • การต่อรองใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด
  • ทำเอกสารและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนด
  • ติดตามความพยายามที่นำมาใช้ในการทำข้อกำหนด

2.วิธีปฏิบัติในการจัดการข้อกำหนด

  • กำหนดกระบวนการควบคุมการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด
  • ตั้งคณะกรรมการควบคุมการเปลี่ยนแปลง
  • วิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่อผลิตภัณฑ์ที่กระทบทั้งหมด
  • สร้างเกณฑ์พื้นฐานและเวอร์ชันการควบคุมเอกสารข้อกำหนด
  • รักษาประวัติการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด
  • สืบค้นสถานะของข้อกำหนดแต่ละข้อ วัดความคงที่ของข้อกำหนด
  • ใช้เครื่องมือจัดการข้อกำหนด

3.การตรวจสอบข้อกำหนด

  • ตรวจสอบเอกสารข้อกำหนด
  • เขียนกรณีทดสอบจากข้อกำหนด
  • เขียนคู่มือผู้ใช้
  • กำหนดเกณฑ์การยอมรับ

4.การกำหนดรายละเอียดของข้อกำหนด

  • นำต้นแบบ SRS มาใช้
  • ระบุที่มาของข้อกำหนด
  • ใส่ชื่อให้ข้อกำหนดแต่ละข้อ
  • บันทึกกฎทางธุรกิจ
  • สร้าง Matrix ที่ติดตามข้อกำหนดได้


     

5.การหาข้อกำหนด

  • ระบุกระบวนการพัฒนาข้อกำหนด
  • เขียนวิสัยทัศน์และขอบเขตของโครงการ
  • ระบุระดับของผู้ใช้และลักษณะเฉพาะ
  • เลือกแชมป์ผลิตภัณฑ์ ของผู้ใช้แต่ละระดับ
  • สร้างกลุ่มของผู้ใช้ประเภทต่าง ๆ
  • ให้ตัวแทนของผู้ใช้ระบุ USE Case
  • คงระยะ JAD (Joint Application Development)
  • วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานของผู้ใช้
  • กำหนดคุณลักษณะทางกายภาพและข้อกำหนดที่ไม่มีหน้าที่เฉพาะต่าง ๆ
  • ตรวจสอบรายงานปัญหาอันเกิดจากระบบต่าง ๆ
  • การนำข้อกำหนดจากโครงการอื่นกลับมาใช้ใหม่

6.การจัดการข้อกำหนด

  • กำหนดพื้นฐานของข้อกำหนด
  • ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดที่เสนอ และประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงที่เสนอแต่ละข้อก่อนตัดสินใจอนุมัติ
  • รวบรวมการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่อนุมัติแล้วเข้าไว้ในโครงการในวิธีที่ควบคุมไว้
  • ทำแผนงานของโครงการให้ทันกับข้อกำหนด
  • ทำการตกลงใหม่ ๆ โดยใช้หลักการจากผลกระทบของข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงที่ประเมินไว้แล้ว
  • ทำให้ข้อกำหนดแต่ละข้อเป็นไปตามการออกแบบ ซอร์สโค้ด และกรณีทดสอบที่สัมพันธ์กัน
  • สืบค้นสถานะของข้อกำหนดและการเปลี่ยนแปลงตลอดโครงการ

7.การพัฒนาข้อกำหนด

  • ระบุระดับของผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่คาดไว้
  • สอบถามความต้องการจากแต่ละคนซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ใช้แต่ละระดับ
  • เข้าใจงานที่แท้จริงและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ รวมทั้งความต้องการทางธุรกิจของงานเหล่านั้น
  • วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใช้
  • แบ่งข้อกำหนดตามระดับของระบบเป็นระบบย่อยหลัก และจัดสรรส่วนของข้อกำหนดต่าง ๆเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์
  • เข้าใจความสำคัญของคุณลักษณะด้านคุณภาพที่เกี่ยวข้อง
  • จัดลำดับความสำคัญของงานแต่ละงานให้สำเร็จ
  • แปลความต้องการของผู้ใช้ที่รวบรวมได้ เป็นรายละเอียดและรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร
  • ตรวจสอบรายละเอียดของข้อกำหนดเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเข้าใจตรงกัน และเพื่อแก้ปัญหาก่อนที่กลุ่มพัฒนาต้องรับปัญหาไปแก้ไข

8.ลักษณะเฉพาะของข้อความของข้อกำหนด

  • ความสมบูรณ์
  • ความถูกต้อง
  • ความเป็นไปได้
  • ความจำเป็น
  • ลำดับความสำคัญ
  • ความชัดเจน
  • สามารถตรวจสอบได้

9.ความเสี่ยงจากกระบวนการของข้อกำหนดที่ไม่ดีพอ

  • ผู้ใช้ไม่ได้มีส่วนร่วมเพียงพอจึงนำไปสู่การไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์
  • ข้อกำหนดของผู้ใช้ที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้คุณภาพของซอฟต์แวร์ลดลง
  • ข้อกำหนดที่คลุมเครือ
  • คุณลักษณะที่ไม่จำเป็น
  • รายละเอียดที่น้อยจะทำให้ขาดข้อกำหนดที่สำคัญ
  • การมองข้ามความจำเป็นในระดับผู้ใช้จะทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
  • ข้อกำหนดที่อธิบายไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถวางแผนโครงการที่ถูกต้องและสืบค้นได้


 

10.ระดับของข้อกำหนด

มี 3 ระดับคือ

1. ข้อกำหนดทางธุรกิจ หมายถึง วัตถุประสงค์ระดับสูงของหน่วยงานหรือลูกค้าที่ขอให้มีอยู่ในระบบหรือซอฟต์แวร์ ซึ่งปรากฎในเอกสารที่อธิบายภาพรวมและขอบเขตของโครงการ

2. ข้อกำหนดของผู้ใช้ หมายถึง งานที่ผู้ใช้สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งกล่าวถึงในกรณีที่ต้องนำมาใช้งาน หรือการอธิบายถึงสถานการณ์สมมติ (scenario)

3. ข้อกำหนดด้านฟังก์ชัน หมายถึง การทำงานของซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาสร้างไว้ในซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้ทำงานได้สำเร็จ


 


 

0 ความคิดเห็น: