1.ทำไมต้องเลือกใช้ระบบ Voice over IP (VoIP)
ตอบ :
1.การติดต่อ สื่อสารระหว่างสาขาภายในประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยจะจ่ายเป็นค่าเช่าโครงข่ายรายเดือน ถูกกว่าการจ่ายต่อนาทีหรือต่อครั้งเหมือนดังที่เป็นอยู่หากองค์กรท่านมีค่าโทรศัพท์ที่มากพอ
2.มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน
3.การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่ส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น
4.ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ ความสามารถ การให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น
5.การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่ม จำนวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร
6.ความต้องการที่จะมีคู่สายเดียวในการติดต่อสื่อสาร ทั้งด้านเสียง, แฟกซ์ และข้อมูล ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายได้อย่างสูงสุด
7.การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการ การติดต่อสื่อสาร ที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้ถือว่า เป็นโอกาสของ VoIP จากอดีตมีการส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายวงจรของชุมสายโทรศัพท์ (Circuit Switching) ทำให้เกิดการใช้งานโครงข่ายได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ มากเท่าที่ควร เพราะแต่ละวงจร หรือเส้นทางถูกกำหนดให้ผู้ใช้เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ว่าวงจร หรือเส้นทางนั้นๆ จะว่างอยู่ก็ตาม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching) มากขึ้น โดยการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเกจย่อยๆ และทำการส่งไปตามเส้นทางต่างๆ กัน อันเป็นการกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจ สวิตชิ่งนี้ได้นำมาใช้เป็น Voice Over Packet เนื่องจากมีการปรับปรุง การทำงาน (Performance) บน Packet Switching ทำให้ Performance per Cost ของ Packet Switching ในอนาคตดีกว่า Circuit Switching ทิศทางของการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียง มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการเจริญ เพิ่มของการ ใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และนับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนามาจนกระทั่งระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP) ได้กลายเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งมีแนวโน้มจะเข้ามา มีส่วนแบ่งของตลาดในอนาคต
2.Internet Protocol (IP) คืออะไร
ตอบ : Internet Protocol หรือ IP เป็นมาตราฐานการสื่อสารข้อมูลแบบหนึ่งที่ใช้ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ โครงข่ายในรูปแพ็คเก็ต (Packet)
3.VoIP คืออะไร
ตอบ : VoIP หรือ Voice over Internet Protocol เป็นการนำเอาเสียงที่อยู่ในรูป สัญญาณดิจิตอลขนาด 64 Kbps มาบีบอัดพร้อมกับการเข้ารหัส ที่มีลักษณะพิเศษใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ (Low-bit-rate Vocoder) เหลือประมาณ 8-10 Kbps แล้วจัดให้อยู่ในรูปแพ็คเก็ตไอพี (IP Packet) ก่อนส่งผ่านเครือข่าย ไปยังปลายทางที่ต้องการ
4.Virtual Private Network (VPN) คืออะไร
ตอบ : Virtual Private Network หรือ VPN คือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย อินทราเน็ตหรือการเข้าถึงข้อมูลของเครือข่ายผ่านทางโครงข่ายสาธารณะ เช่น อินเตอร์เน็ต VPN ช่วยให้คุณสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เหมือนโครงข่ายส่วนตัว เรียกว่า การทำ virtual private network : VPN
5.IP VPN คืออะไร
ตอบ : IP VPN เป็นเครือข่ายประเภทหนึ่งของ VPN ที่มีการ เอ็นแคปซูเลท (encapsulated) ในแบบโปรโตคอล IP packet บนโครงข่ายสาธารณะ โดยมีส่วนสำคัญหลักที่ทำให้เกิดบริการ IP แก่ผู้ใช้ทั่วไป การสร้าง IP VPN สามารถทำได้ บนโครงข่ายสาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น อินเทอร์เน็ต และเฟรมรีเลย์ เป็นต้น
6.ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ทั่วไปมีความจำเป็นต้องใช้ IP VPN ด้วยหรือ
ตอบ : เนื่องจาก IP VPN มีข้อดี ที่ช่วยให้การเข้าถึง เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กร มีความคล่องตัว และเป็นส่วนตัวยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ได้ทำงานอยู่กับที่ ผู้ที่ต้องเดินทางในการทำงาน หรือผู้ที่ทำงาน ในสำนักงานสาขาที่ห่างไกล สามารถเข้าสู่เครือข่ายดังกล่าว ซึ่งรองรับการทำงาน ของแอพพลิเคชั่นหลักสำคัญๆ ที่ทุกคนในบริษัทต้องการ เรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.เทคโนโลยี IP Multicast จะสามารถ ให้ประโยชน์อะไร ได้บ้าง
ตอบ : IP multicasting เป็นเทคโนโลยี การใช้แบนด์วิธ อย่างมีประสิทธิภาพที่ช่วยลด ทราฟฟิก ด้วยการ ส่งผ่านข้อมูล แบบทางเดียว กระจายไปยังผู้รับ หลายรายตาม องค์กรต่างๆ และผู้รับตามบ้าน โดยเทคโนโลยีนี้ สามารถใช้ให้ เกิดประโยชน์ กับแอพพลิเคชันในด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิ การประชุมทางจอภาพ (video conferencing) การสื่อสาร ในองค์กร (corporate communications) การเรียนทางไกล (distance learning) และการ กระจายการใช้งาน ซอฟต์แวร์ (distribution of software) การดูหุ้น แบบออนไลน์ และการส่งข่าวสาร เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น